ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทวภูเก็ต ได้รับยกย่องเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ รุ่นที่ 2 จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เหตุมีความหลากหลายทางธรรมชาติ สัตว์ป่า พร้อมโชว์จัดนิทรรศการธรรมชาติ

เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ (13 พ.ย.) ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และคณะร่วมปลูกปาล์มหลังขาว และเยี่ยมชมศึกษาเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ บริเวณสำนักงานสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทวภูเก็ต ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ระยะทาง 600 เมตร โดยสถานีฯ เขาพระแทวแห่งนี้ได้รับการยกย่องจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2555 โดยมีนายพงศ์ชาติ เชื้อหอม หัวหน้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องนำชม และบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานีฯ เขาพระแทว

นายพงศ์ชาติ กล่าวว่า สำหรับสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว เดิมใช้ชื่อว่าอุทยานสัตว์ป่าเขาพระแทว มีภารกิจในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและป่าไม้ ตลอดจนเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้น และปลุกจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและป่าไม้ ให้แก่เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป ภายใต้วิสัยทัศน์ “โลกแห่งธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้คุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ปัจจุบัน สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำหรับสถานีฯ เขาพระแทว มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีไม้ตระกูลยาง และตะเคียน เป็นไม้ที่มีลักษณะโดดเด่น และมีค่าทางเศรษฐกิจ ส่วนไม้ที่มีค่ารองลงไป และมีเรือนยอดสูงเด่น จัดเป็นไม้ชั้นบน ได้แก่ หลุมพอ ตีนเป็ด สะตอ ไม้พื้นล่างที่สำคัญ ประกอบด้วย หวาย ไผ่ และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2472 ได้มีการค้นพบปาล์มสกุลใหม่ของโลก คือปาล์มหลังขาว ทังหลังขาว หรือปาล์มเจ้าเมืองถลาง บริเวณป่าเทือกเขาพระแทว ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติดั้งเดิมเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และในโลกที่ยังมีการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติของปาล์มชนิดนี้เป็นกลุ่ม ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต และยังมีการค้นพบพันธุ์ไม้หายากที่สำคัญอีกหลายชนิด เช่น ตอกถลาง เจใบลาย

ขณะที่ทรัพยากรสัตว์ป่า มีนกมากกว่า 100 ชนิด ทั้งนกท้องถิ่น และนกอพยพ โดยมีสัตว์ป่าที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ ปูน้ำตก ซึ่งเป็นปูหายากประจำถิ่นของจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา นอกจากนั้น ยังมีน้ำตกโตนไทร เป็นจุดเด่นทางธรรมชาติสำหรับใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติของนักท่องเที่ยว และชาวต่างประเทศ

นายพงศ์ชาติ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ สถานีฯ เขาพระแทว ได้จัดนิทรรศการธรรมชาติ แสดงองค์ความรู้ เพื่อสร้างทัศนคติให้เกิดความรัก และความหวงแหนในธรรมชาติ มีการจัดบริการทางเดินศึกษาธรรมชาติ เพื่อการเรียนรู้ 3 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบริเวณสำนักงาน ระยะทาง 600 เมตร สำหรับศึกษาระบบนิเวศ สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย ทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกโตนไทร ระยะทาง 2 กิโลเมตร สำหรับเรียนรู้สภาพภูมิประเทศพันธุ์ไม้ และสัตว์ป่า และทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกโตนไทร-น้ำตกบางแป ระยะทาง 4 กิโลเมตร สำหรับเรียนรู้สภาพภูมิประเทศ พันธุ์ไม้ สัตว์ป่า และแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร

อย่างไรก็ตาม จากการบริหารจัดการด้วยแนวทางดังกล่าว ทำให้สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทวได้รับการยกย่องจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2555 ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของหน่วยงาน ของประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต และทุกภาคส่วนที่ได้ให้การสนับสนุน และความร่วมมือด้วยดีเสมอมา

เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ (13 พ.ย.) ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และคณะร่วมปลูกปาล์มหลังขาว และเยี่ยมชมศึกษาเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ บริเวณสำนักงานสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทวภูเก็ต ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ระยะทาง 600 เมตร โดยสถานีฯ เขาพระแทวแห่งนี้ได้รับการยกย่องจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2555 โดยมีนายพงศ์ชาติ เชื้อหอม หัวหน้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องนำชม และบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานีฯ เขาพระแทว
นายพงศ์ชาติ กล่าวว่า สำหรับสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว เดิมใช้ชื่อว่าอุทยานสัตว์ป่าเขาพระแทว มีภารกิจในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและป่าไม้ ตลอดจนเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้น และปลุกจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและป่าไม้ ให้แก่เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป ภายใต้วิสัยทัศน์ “โลกแห่งธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้คุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ปัจจุบัน สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำหรับสถานีฯ เขาพระแทว มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีไม้ตระกูลยาง และตะเคียน เป็นไม้ที่มีลักษณะโดดเด่น และมีค่าทางเศรษฐกิจ ส่วนไม้ที่มีค่ารองลงไป และมีเรือนยอดสูงเด่น จัดเป็นไม้ชั้นบน ได้แก่ หลุมพอ ตีนเป็ด สะตอ ไม้พื้นล่างที่สำคัญ ประกอบด้วย หวาย ไผ่ และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2472 ได้มีการค้นพบปาล์มสกุลใหม่ของโลก คือปาล์มหลังขาว ทังหลังขาว หรือปาล์มเจ้าเมืองถลาง บริเวณป่าเทือกเขาพระแทว ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติดั้งเดิมเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และในโลกที่ยังมีการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติของปาล์มชนิดนี้เป็นกลุ่ม ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต และยังมีการค้นพบพันธุ์ไม้หายากที่สำคัญอีกหลายชนิด เช่น ตอกถลาง เจใบลาย
ขณะที่ทรัพยากรสัตว์ป่า มีนกมากกว่า 100 ชนิด ทั้งนกท้องถิ่น และนกอพยพ โดยมีสัตว์ป่าที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ ปูน้ำตก ซึ่งเป็นปูหายากประจำถิ่นของจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา นอกจากนั้น ยังมีน้ำตกโตนไทร เป็นจุดเด่นทางธรรมชาติสำหรับใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติของนักท่องเที่ยว และชาวต่างประเทศ
นายพงศ์ชาติ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ สถานีฯ เขาพระแทว ได้จัดนิทรรศการธรรมชาติ แสดงองค์ความรู้ เพื่อสร้างทัศนคติให้เกิดความรัก และความหวงแหนในธรรมชาติ มีการจัดบริการทางเดินศึกษาธรรมชาติ เพื่อการเรียนรู้ 3 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบริเวณสำนักงาน ระยะทาง 600 เมตร สำหรับศึกษาระบบนิเวศ สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย ทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกโตนไทร ระยะทาง 2 กิโลเมตร สำหรับเรียนรู้สภาพภูมิประเทศพันธุ์ไม้ และสัตว์ป่า และทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกโตนไทร-น้ำตกบางแป ระยะทาง 4 กิโลเมตร สำหรับเรียนรู้สภาพภูมิประเทศ พันธุ์ไม้ สัตว์ป่า และแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร
อย่างไรก็ตาม จากการบริหารจัดการด้วยแนวทางดังกล่าว ทำให้สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทวได้รับการยกย่องจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2555 ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของหน่วยงาน ของประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต และทุกภาคส่วนที่ได้ให้การสนับสนุน และความร่วมมือด้วยดีเสมอมา