สุราษฎร์ธานี - รัฐบาลไฟเขียว ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานีสร้าง “ศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยว” ทุ่ม 20 ล้าน วางตัวเกาะสมุยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอาเซียน แท็กทีม ม.วลัยลักษณ์ รายงานสภาพอากาศสด พร้อมจับมือ ททท.อบรมภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์ แม่บ้าน แท็กซี่ ฯลฯ
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดี มรส. และ ผศ.ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา เสนอโครงการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อนางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำเสนอ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยว โครงการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชนตามรอยท่านพุทธทาสภิกขุ และโครงการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนมุสลิมเพื่อดับไฟใต้
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน กล่าวว่า โครงการศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยวจะตั้งอยู่ที่อำเภอเกาะสมุย เพื่อเป็นศูนย์บริการด้านสารสนเทศให้แก่นักท่องเที่ยว ภาคธุรกิจ และภาคเอกชนบนเกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน เกาะนางยวน และหมู่เกาะอ่างทอง เป็นศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาอาชีพด้านการท่องเที่ยวและภาษาอังกฤษให้แก่ประชาชน ผู้ประกอบการ มัคคุเทศก์ แท็กซี่ ฯลฯ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน โดยทั้งหมดนี้จะใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท
“ศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยว มิใช่รองรับแค่คนในท้องถิ่น แต่ยังรองรับในระดับอาเซียน เพราะถ้าเอาเกาะสมุยเป็นตัวตั้งแล้วลากเส้นผ่าน จะพบว่าเกาะสมุยเป็นจุดศูนย์กลางของประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ขณะนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีนักศึกษาที่มาจากอาเซียน ทั้งพม่า ลาว บรูไน กัมพูชา และอินโดนีเซีย ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนศูนย์แห่งนี้สู่อนาคต”อธิการบดี มรส.กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล กล่าวว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อรายงานสภาพอากาศ และคลื่นลมในทะเลได้อย่างทันท่วงที ผ่านสื่อทั้งวิทยุ เคเบิลทีวีท้องถิ่น และจอแอลซีดีขนาดยักษ์ นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพในด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นมัคคุเทศก์ คนขับรถโดยสาร และรถแท็กซี่ แม่บ้าน พนักงานโรงแรม เป็นต้น
ในขณะที่นางนลินี ทวีสิน กล่าวว่า ศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยวเป็นโครงการที่มีแนวคิดดีมาก มั่นใจว่าจะเป็นประโยชน์ในหลายมิติ ทั้งการศึกษา การท่องเที่ยว การพัฒนาท้องถิ่น และการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ดีใจที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีคิดสร้างสรรค์โครงการนี้ขึ้นมา รัฐบาลยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ในการประชุม ครม.สัญจรในครั้งนี้ได้อนุมัติงบประมาณ 20 ล้านบาท ในการดำเนินโครงการศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยว แล้ว
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดี มรส. และ ผศ.ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา เสนอโครงการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อนางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำเสนอ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยว โครงการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชนตามรอยท่านพุทธทาสภิกขุ และโครงการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนมุสลิมเพื่อดับไฟใต้
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน กล่าวว่า โครงการศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยวจะตั้งอยู่ที่อำเภอเกาะสมุย เพื่อเป็นศูนย์บริการด้านสารสนเทศให้แก่นักท่องเที่ยว ภาคธุรกิจ และภาคเอกชนบนเกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน เกาะนางยวน และหมู่เกาะอ่างทอง เป็นศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาอาชีพด้านการท่องเที่ยวและภาษาอังกฤษให้แก่ประชาชน ผู้ประกอบการ มัคคุเทศก์ แท็กซี่ ฯลฯ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน โดยทั้งหมดนี้จะใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท
“ศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยว มิใช่รองรับแค่คนในท้องถิ่น แต่ยังรองรับในระดับอาเซียน เพราะถ้าเอาเกาะสมุยเป็นตัวตั้งแล้วลากเส้นผ่าน จะพบว่าเกาะสมุยเป็นจุดศูนย์กลางของประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ขณะนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีนักศึกษาที่มาจากอาเซียน ทั้งพม่า ลาว บรูไน กัมพูชา และอินโดนีเซีย ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนศูนย์แห่งนี้สู่อนาคต”อธิการบดี มรส.กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล กล่าวว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อรายงานสภาพอากาศ และคลื่นลมในทะเลได้อย่างทันท่วงที ผ่านสื่อทั้งวิทยุ เคเบิลทีวีท้องถิ่น และจอแอลซีดีขนาดยักษ์ นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพในด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นมัคคุเทศก์ คนขับรถโดยสาร และรถแท็กซี่ แม่บ้าน พนักงานโรงแรม เป็นต้น
ในขณะที่นางนลินี ทวีสิน กล่าวว่า ศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยวเป็นโครงการที่มีแนวคิดดีมาก มั่นใจว่าจะเป็นประโยชน์ในหลายมิติ ทั้งการศึกษา การท่องเที่ยว การพัฒนาท้องถิ่น และการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ดีใจที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีคิดสร้างสรรค์โครงการนี้ขึ้นมา รัฐบาลยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ในการประชุม ครม.สัญจรในครั้งนี้ได้อนุมัติงบประมาณ 20 ล้านบาท ในการดำเนินโครงการศูนย์บริหารจัดการสารสนเทศสำหรับนักท่องเที่ยว แล้ว