ตรัง เป็นอีกหนึ่งจังหวัดในภาคใต้ที่มีเกาะแก่งมากมาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวฝั่งทะเลอันดามันที่งดงาม เที่ยวท่องล่องใต้สัปดาห์นี้ จะพาไปเที่ยวเกาะที่ใหญ่ที่สุดใน จ.ตรัง และเป็นแหล่งของสัตว์โลกชนิดหนึ่งที่หน้าเหมือนหมู ตัวเหมือนปลา กินหญ้าเป็นอาหาร และเลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งหาดูได้ที่นี่ที่เดียว “เกาะลิบง” ทริปนี้จึงอยากเชิญชวน “ไปดูดุหยง ที่เกาะลิบง” กัน
“ถิ่นดุหยง ดงเป่าอื้อ ลือเรื่องนกทะเล เสน่ห์หาดเจ้าไหม จิตใจคนงดงาม ปะการังสีสวยสด งามงดเกาะกระดาน อลังการถ้ำมรกต รวมทั้งหมด คือ เกาะลิบง”
เกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอกันตัง มีเนื้อที่ประมาณ 28,295 ไร่ 8 หมู่บ้าน มีคุณค่าความสำคัญหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านประวัติศาสตร์ รวมถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน เกาะลิบงมีความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลิบงเป็นเพียงเมืองท่าของหัวเมืองมลายูที่ขึ้นกับไทย จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 1 ดาโต๊ะ ปังกาหวา ชาวลิบง ขึ้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเมืองตรัง ทำให้การว่าราชการต่างๆ ถูกย้ายไปดำเนินบนเกาะ เกาะลิบงจึงเป็นที่ตั้งเมืองตรังในอดีต
ในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะสภาพโดยทั่วไปของเกาะเป็นที่ราบริมชายฝั่งสลับกับเขากลางเกาะ ตลอดแนวชายฝั่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน ป่าชายหาดมีแนวหญ้าทะเลที่มีความหนาแน่น และอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแหลางอาหาร และที่อยู่อาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ที่สุดของไทย ทั้งยังมีแนวปะการังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ ก่อให้เกิดความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศอันสมบูรณ์ทำให้พื้นที่บางส่วนของเกาะอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง และมีสถานภาพเป็นแรมซาไซท์ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ และสมบูรณ์ในระดับนานาชาติ หากพิจารณาทางด้านวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชน ถือได้ว่าเป็นชุมชนมุสลิมที่รักสงบ ยังคงวิถีชีวิตชาวประมงและชาวสวนยางที่เรียบง่ายซึ่งอิงอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก “ดุหยง” กันก่อน ดุหยง (Duyong) คือ พะยูน นั่นเอง มาจากภาษามลายู แปลว่า “หญิงสาว หรือผู้หญิงแห่งท้องทะเล” พะยูนเป็นสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนม รูปร่างของพะยูนเป็นทรงกรวยคล้ายโลมา บ้างก็ว่าคล้ายวัวมากที่สุด เพราะมันกินหญ้าทะเลเป็นอาหาร รูปร่างหน้าตาของพะยูนนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะส่วนหัวมีลักษณะคล้ายวัว คนส่วนใหญ่จึงเรียกมันว่า วัวทะเล แต่ส่วนลำตัวนั้น กลับมีความคล้ายคลึงกับปลา มีตาและหูเล็กๆ อย่างละคู่ ไม่มีใบหู มีครีบด้านหน้าหนึ่งคู่คล้ายแมวนํ้า มีติ่งนมเล็กอยู่ใต้ลำตัวตรงแนวใต้ครีบทั้งสองข้าง ตรงส่วนหางนั้นมีหางเป็นแฉกคล้ายปลาวาฬ มันว่ายนํ้าด้วยความเร็วที่ 1.8-2.2 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วที่ช้ามากหากเปรียบเทียบกับสัตว์ทะเลประเภทอื่นๆ ปัจจุบัน บนเกาะลิบง มีประชากรพะยูนอยู่ ประมาณ 120 ตัว
มีเรื่องเล่าที่คนเฒ่าคนแก่เล่าต่อกันมาเกี่ยวกับดุหยง หรือพะยูนว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง ที่อาศัยอยู่บนเกาะลิบง ประกอบอาชีพประมง ในขณะที่ภรรยาตั้งครรภ์อยู่นั้น สามีก็ออกทะเลไปหาปลา ซึ่งไปครั้งละหลายๆ วัน ฝ่ายภรรยาอยู่บ้าน ตามประสาคนท้องที่อยากทานอะไรแปลกๆ เมื่อน้ำทะเลลง นางได้เดินลงไปหาผลไม้กิน ซึ่งเป็นผลไม้ทะเลที่กินแล้วอร่อยมาก นางกินอย่างเพลิดเพลิน จนลืมกลับบ้าน กระทั่งน้ำทะเลขึ้น นางก็ได้หายไป พอสามีกลับมาก็ไม่เจอภรรยาที่บ้าน ซักถามจากเพื่อนบ้านพบว่ามีคนเห็นนางเดินลงไปในทะเลตอนน้ำลง จนคืนนั้นเอง สามีหลับไป และฝันว่า หากอยากเจอนางให้ออกไปหานางที่เสาที่ปักไว้กลางทะเล เมื่อตื่นขึ้นมาสามีจึงรีบเอาเรือออกแล้วไปยังที่นัดหมายตามในฝัน ปรากฏว่าเมื่อไปถึงก็ไม่ได้เจอภรรยาตนเองแต่อย่างใด แต่พบพะยูนตัวหนึ่งแหวกว่ายอยู่บริเวณนั้น จึงเป็นตำนานเล่ากันมาว่า พะยูนตัวนั้นคือภรรยาของชาวประมงที่จมน้ำไปนั่นเอง
ไปถึงเกาะลิบง สำหรับนักเที่ยวก็จะมีที่พัก เป็นทั้งบังกะโล รีสอร์ต ไว้รองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งบรรยากาศโดยทั่วไปบนเกาะลิบงยังคงความเป็นวิถีชุมชนอยู่อย่างเรียบง่าย สงบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนจริงๆ “ลิบงแคมป์” เป็นหนึ่งในรีสอร์ตบนเกาะลิบง มีห้องพักเพียง 6 หลัง อยู่ริมทะเล บรรยากาศเงียบสงบ เบื้องหน้าในทะเลยามน้ำลงที่ลิบงแคมป์ เป็นแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของพะยูน และเมื่อยามน้ำลงชาวบ้านก็จะเดินลงไปหาห้อยชักตีน หอยหลอด และปลิงทะเล
ที่สุดของเกาะลิบงคือ ได้เห็นดุหยงมาแหวกว่ายดุยหญ้าทะเล ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายไปเที่ยวนี้ไม่ได้มีโอกาสได้ยลโฉม หญิงสาวแห่งท้องทะเล เพราะเป็นช่วงน้ำทะเลขุ่น เพราะฉะนั้น หากใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวต้องไปให้ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ ถึงจะมีโอกาสได้เจอ “ดุหยง” บนยอดเขาบาดูปูเต๊ะ ต้องมีรองเท้า และชุดพร้อมสำหรับปีนเขา และร่างกายต้องแข็งแรงพอสมควร โดยจะมีไกด์ คือคนในพื้นที่นำทางไป มิเช่นนั้นหลงทางแน่นอน ปีนขึ้นไปบนเขาบาดูปูเต๊ะ เป็นเส้นทางมหาโหด ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้แบบดั้งเดิม ไม่มีการปรับเส้นทางใหม่ ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีโขดหินแหลมๆ และสูงชัน นอกจากจะเป็นจุดดูดุหยงแล้ว ยังเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเกาะลิบงได้ทั้งเกาะอีกด้วย
ในเมื่อปีนขึ้นไปไม่เจอดุหยง กลับมาที่ลิบงแคมป์น้ำลงพอดี จึงเดินลงไปดูร่องรอยต้นหญ้าทะเลที่ดุหยงเข้ามากิน ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าที่ใหญ่และอุดมสมบูรณ์สำหรับเลี้ยงชีพพะยูนฝูงใหญ่กว่า 120 ตัว บนเกาะแห่งนี้ เดินลงไปไกลลิบในทุ่งหญ้าทะเล ก็จะเจอกับเจ้าถิ่น อย่างปลาดาว ปลิงทะเล ปู และหอยชนิดต่างๆ โดยเฉพาะหอยชักตีน และหอยหลอด ที่ชาวบ้านลงไปหากันในยามน้ำลง
นอกจากนี้ เรายังสามารถเดินชมวิถีชีวิตของคนบนเกาะได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นวิถีประมง เช่น การทำไซดักปลา การซ่อมเรือ เป็นต้น ซึ่งชาวลิบงคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวคนต่างถิ่น ด้วยความเต็มใจพร้อมใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งบนเกาะลิบงเท่านั้น โอกาสหน้าจะพาท่านผู้อ่านล่องเรือไปตามเกาะต่างๆ อีกหลายเกาะ เช่น ไปดำน้ำดูปลาสวยงาม และปะการังที่เกาะเหลาเหลียง และเกาะตะเกียง ถ้ำมรกต โดยจะมีเรือให้เช่าไปเที่ยวรอบเกาะในราคาเหมาลำๆ ละ ประมาณ 3,500 บาท
การเดินทางไปเกาะลิบง ไปลงเรือที่ท่าเรือหาดยาว อ.กันตัง ไปตามเส้นทางหลวง 4046-4162 ถึงหาดปากเมงเลี้ยวซ้ายเลียบชายหาด ประมาณ 10 กก.และเลี้ยวขวาตรงสามแยก จะมีโรงเรียนบ้านน้ำราบอยู่ตรงสามแยกพอดี ขับเข้าถนนบ้านน้ำราบ-หาดเจ้าไหม ประมาณ 6 กก.จะผ่านหาดหยงหลิน ผ่านทางเข้าหาดยาว แล้วขับไปสุดถนนจะพบท่าเรือ
ท่าเรือหาดยาว - ท่าเรือบ้านพร้าว ระยะทาง ประมาณ 3 กก. มีเรือโดยสารข้ามไปสู่เกาะลิบง อัตราค่าโดยสารท่านละ 30 บาท หรือจ้างเหมาลำๆ ละ 450 บาท โดยมีบริการตลอดทั้งวัน
ติดต่อ : ลิบงแคมป์
“ถิ่นดุหยง ดงเป่าอื้อ ลือเรื่องนกทะเล เสน่ห์หาดเจ้าไหม จิตใจคนงดงาม ปะการังสีสวยสด งามงดเกาะกระดาน อลังการถ้ำมรกต รวมทั้งหมด คือ เกาะลิบง”
เกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอกันตัง มีเนื้อที่ประมาณ 28,295 ไร่ 8 หมู่บ้าน มีคุณค่าความสำคัญหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านประวัติศาสตร์ รวมถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน เกาะลิบงมีความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลิบงเป็นเพียงเมืองท่าของหัวเมืองมลายูที่ขึ้นกับไทย จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 1 ดาโต๊ะ ปังกาหวา ชาวลิบง ขึ้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเมืองตรัง ทำให้การว่าราชการต่างๆ ถูกย้ายไปดำเนินบนเกาะ เกาะลิบงจึงเป็นที่ตั้งเมืองตรังในอดีต
ในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะสภาพโดยทั่วไปของเกาะเป็นที่ราบริมชายฝั่งสลับกับเขากลางเกาะ ตลอดแนวชายฝั่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน ป่าชายหาดมีแนวหญ้าทะเลที่มีความหนาแน่น และอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแหลางอาหาร และที่อยู่อาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ที่สุดของไทย ทั้งยังมีแนวปะการังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ ก่อให้เกิดความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศอันสมบูรณ์ทำให้พื้นที่บางส่วนของเกาะอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง และมีสถานภาพเป็นแรมซาไซท์ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ และสมบูรณ์ในระดับนานาชาติ หากพิจารณาทางด้านวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชน ถือได้ว่าเป็นชุมชนมุสลิมที่รักสงบ ยังคงวิถีชีวิตชาวประมงและชาวสวนยางที่เรียบง่ายซึ่งอิงอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก “ดุหยง” กันก่อน ดุหยง (Duyong) คือ พะยูน นั่นเอง มาจากภาษามลายู แปลว่า “หญิงสาว หรือผู้หญิงแห่งท้องทะเล” พะยูนเป็นสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนม รูปร่างของพะยูนเป็นทรงกรวยคล้ายโลมา บ้างก็ว่าคล้ายวัวมากที่สุด เพราะมันกินหญ้าทะเลเป็นอาหาร รูปร่างหน้าตาของพะยูนนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะส่วนหัวมีลักษณะคล้ายวัว คนส่วนใหญ่จึงเรียกมันว่า วัวทะเล แต่ส่วนลำตัวนั้น กลับมีความคล้ายคลึงกับปลา มีตาและหูเล็กๆ อย่างละคู่ ไม่มีใบหู มีครีบด้านหน้าหนึ่งคู่คล้ายแมวนํ้า มีติ่งนมเล็กอยู่ใต้ลำตัวตรงแนวใต้ครีบทั้งสองข้าง ตรงส่วนหางนั้นมีหางเป็นแฉกคล้ายปลาวาฬ มันว่ายนํ้าด้วยความเร็วที่ 1.8-2.2 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วที่ช้ามากหากเปรียบเทียบกับสัตว์ทะเลประเภทอื่นๆ ปัจจุบัน บนเกาะลิบง มีประชากรพะยูนอยู่ ประมาณ 120 ตัว
มีเรื่องเล่าที่คนเฒ่าคนแก่เล่าต่อกันมาเกี่ยวกับดุหยง หรือพะยูนว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง ที่อาศัยอยู่บนเกาะลิบง ประกอบอาชีพประมง ในขณะที่ภรรยาตั้งครรภ์อยู่นั้น สามีก็ออกทะเลไปหาปลา ซึ่งไปครั้งละหลายๆ วัน ฝ่ายภรรยาอยู่บ้าน ตามประสาคนท้องที่อยากทานอะไรแปลกๆ เมื่อน้ำทะเลลง นางได้เดินลงไปหาผลไม้กิน ซึ่งเป็นผลไม้ทะเลที่กินแล้วอร่อยมาก นางกินอย่างเพลิดเพลิน จนลืมกลับบ้าน กระทั่งน้ำทะเลขึ้น นางก็ได้หายไป พอสามีกลับมาก็ไม่เจอภรรยาที่บ้าน ซักถามจากเพื่อนบ้านพบว่ามีคนเห็นนางเดินลงไปในทะเลตอนน้ำลง จนคืนนั้นเอง สามีหลับไป และฝันว่า หากอยากเจอนางให้ออกไปหานางที่เสาที่ปักไว้กลางทะเล เมื่อตื่นขึ้นมาสามีจึงรีบเอาเรือออกแล้วไปยังที่นัดหมายตามในฝัน ปรากฏว่าเมื่อไปถึงก็ไม่ได้เจอภรรยาตนเองแต่อย่างใด แต่พบพะยูนตัวหนึ่งแหวกว่ายอยู่บริเวณนั้น จึงเป็นตำนานเล่ากันมาว่า พะยูนตัวนั้นคือภรรยาของชาวประมงที่จมน้ำไปนั่นเอง
ไปถึงเกาะลิบง สำหรับนักเที่ยวก็จะมีที่พัก เป็นทั้งบังกะโล รีสอร์ต ไว้รองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งบรรยากาศโดยทั่วไปบนเกาะลิบงยังคงความเป็นวิถีชุมชนอยู่อย่างเรียบง่าย สงบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนจริงๆ “ลิบงแคมป์” เป็นหนึ่งในรีสอร์ตบนเกาะลิบง มีห้องพักเพียง 6 หลัง อยู่ริมทะเล บรรยากาศเงียบสงบ เบื้องหน้าในทะเลยามน้ำลงที่ลิบงแคมป์ เป็นแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของพะยูน และเมื่อยามน้ำลงชาวบ้านก็จะเดินลงไปหาห้อยชักตีน หอยหลอด และปลิงทะเล
ที่สุดของเกาะลิบงคือ ได้เห็นดุหยงมาแหวกว่ายดุยหญ้าทะเล ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายไปเที่ยวนี้ไม่ได้มีโอกาสได้ยลโฉม หญิงสาวแห่งท้องทะเล เพราะเป็นช่วงน้ำทะเลขุ่น เพราะฉะนั้น หากใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวต้องไปให้ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ ถึงจะมีโอกาสได้เจอ “ดุหยง” บนยอดเขาบาดูปูเต๊ะ ต้องมีรองเท้า และชุดพร้อมสำหรับปีนเขา และร่างกายต้องแข็งแรงพอสมควร โดยจะมีไกด์ คือคนในพื้นที่นำทางไป มิเช่นนั้นหลงทางแน่นอน ปีนขึ้นไปบนเขาบาดูปูเต๊ะ เป็นเส้นทางมหาโหด ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้แบบดั้งเดิม ไม่มีการปรับเส้นทางใหม่ ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีโขดหินแหลมๆ และสูงชัน นอกจากจะเป็นจุดดูดุหยงแล้ว ยังเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเกาะลิบงได้ทั้งเกาะอีกด้วย
ในเมื่อปีนขึ้นไปไม่เจอดุหยง กลับมาที่ลิบงแคมป์น้ำลงพอดี จึงเดินลงไปดูร่องรอยต้นหญ้าทะเลที่ดุหยงเข้ามากิน ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าที่ใหญ่และอุดมสมบูรณ์สำหรับเลี้ยงชีพพะยูนฝูงใหญ่กว่า 120 ตัว บนเกาะแห่งนี้ เดินลงไปไกลลิบในทุ่งหญ้าทะเล ก็จะเจอกับเจ้าถิ่น อย่างปลาดาว ปลิงทะเล ปู และหอยชนิดต่างๆ โดยเฉพาะหอยชักตีน และหอยหลอด ที่ชาวบ้านลงไปหากันในยามน้ำลง
นอกจากนี้ เรายังสามารถเดินชมวิถีชีวิตของคนบนเกาะได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นวิถีประมง เช่น การทำไซดักปลา การซ่อมเรือ เป็นต้น ซึ่งชาวลิบงคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวคนต่างถิ่น ด้วยความเต็มใจพร้อมใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งบนเกาะลิบงเท่านั้น โอกาสหน้าจะพาท่านผู้อ่านล่องเรือไปตามเกาะต่างๆ อีกหลายเกาะ เช่น ไปดำน้ำดูปลาสวยงาม และปะการังที่เกาะเหลาเหลียง และเกาะตะเกียง ถ้ำมรกต โดยจะมีเรือให้เช่าไปเที่ยวรอบเกาะในราคาเหมาลำๆ ละ ประมาณ 3,500 บาท
การเดินทางไปเกาะลิบง ไปลงเรือที่ท่าเรือหาดยาว อ.กันตัง ไปตามเส้นทางหลวง 4046-4162 ถึงหาดปากเมงเลี้ยวซ้ายเลียบชายหาด ประมาณ 10 กก.และเลี้ยวขวาตรงสามแยก จะมีโรงเรียนบ้านน้ำราบอยู่ตรงสามแยกพอดี ขับเข้าถนนบ้านน้ำราบ-หาดเจ้าไหม ประมาณ 6 กก.จะผ่านหาดหยงหลิน ผ่านทางเข้าหาดยาว แล้วขับไปสุดถนนจะพบท่าเรือ
ท่าเรือหาดยาว - ท่าเรือบ้านพร้าว ระยะทาง ประมาณ 3 กก. มีเรือโดยสารข้ามไปสู่เกาะลิบง อัตราค่าโดยสารท่านละ 30 บาท หรือจ้างเหมาลำๆ ละ 450 บาท โดยมีบริการตลอดทั้งวัน
ติดต่อ : ลิบงแคมป์