ปัตตานี - องค์กรสิทธิมนุษยชนร้องเรียนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ตรวจสอบการเสนอภาพข่าวสถานการณ์ชายแดนใต้ที่บิดเบือน กระทบต่อสิทธิของบุคคลในชื่อเสียง และเกียรติยศ ฉะภาพไม่ตรงกับข่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดแล้วบ่อยครั้ง
น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผยว่า มูลนิธิผสานวัฒนธรรม มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม กลุ่มด้วยใจ เครือข่ายจำเลยคดีความมั่นคง และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ส่งจดหมายเปิดผนึกร้องเรียนเรื่องการนำเสนอภาพข่าวบิดเบือนของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถึงคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพื่อเรียกร้องให้ทางหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรับผิดชอบต่อการเสนอข่าว และภาพข่าวที่บิดเบือนไม่ตรงกับเนื้อหาอันเป็นการกระทบต่อสิทธิของบุคคลในชื่อเสียง และเกียรติยศของกลุ่มบุคคลในภาพดังกล่าว และยังขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ หมวด 2 จริยธรรมของหนังสือพิมพ์ ข้อ 4 ซึ่งระบุว่า “หนังสือพิมพ์ต้องยึดถือข้อเท็จจริง ความถูกต้องแม่นยำ ความครบถ้วน เพื่อดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชน”
ในจดหมายเปิดผนึกระบุด้วยว่า ขอให้มีการตรวจสอบการนำเสนอข่าวดังกล่าวและพฤติกรรมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งถ้าพบว่ามีการกระทำความผิดกฎหมาย หรือการกระทำที่ขัดต่อจริยธรรมแห่งวิชาชีพทางหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องดำเนินการเพื่อลงโทษ ขอโทษ และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ เพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม การเสนอข่าว และข้อมูลข่าวสารของทั้งขององค์กรทั้งภาครัฐ และเอกช รวมทั้งสื่อมวลชนในการสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ร่วมกัน
ตามที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ http://www.thairath.co.th/content/pol/291653 ประจำวันที่ 17 กันยายน 2555 ได้เผยแพร่ข่าวด้วยการพาดหัวข่าวว่า “93 โจรใต้มอบตัว มีเพียง 3 ราย โดนดำเนินคดีอาญา” พร้อมทั้งลงภาพถ่ายประกอบเนื้อข่าว โดยมีเนื้อหาที่อ้างคำสัมภาษณ์ของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ว่า “กลุ่มแนวร่วมที่ออกมาแสดงตนเพื่อกลับใจ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 93 คน พบว่ามีเพียง 3 คน ที่จะถูกดำเนินการตามกฎหมาย ป.วิอาญา...” ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ภาพที่ปรากฏก็เป็นภาพกิจกรรมในวันที่ 15 กันยายน 2555 ที่ตัวแทนเครือข่ายจำเลยคดีความมั่นคง และประชาชนที่ได้รับผลกระทบเดินทางไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม ภาพกลุ่มบุคคลที่ปรากฏในภาพข่าวฉบับนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับข่าวการมอบตัว และไม่ใช่กลุ่ม 93 คนเข้ามอบตัวอย่างที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์นำเสนอแต่อย่างใด โดยนักข่าว Deep South Watch ซึ่งได้เข้าร่วมทำข่าวด้วยนั้น ได้นำเสนอเนื้อหาข่าวที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับข้อเท็จจริง
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรเครือข่ายฯ ขอให้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ รับผิดชอบต่อการนำเสนอข่าวที่ขัดต่อจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ โดยการแก้ไขภาพข่าวซึ่งนำเสนอไม่ตรงกับความจริงโดยทันที และขอให้ทางสภาการหนังสือพิมพ์สร้างมาตรการ และการสร้างความเข้าใจต่อสื่อมวลชนว่าการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรม เนื่องจากผู้ที่ถูกจับกุม ผู้ต้องหา หรือจำเลยนั้น เมื่อยังไม่ได้ผ่านกระบวนการขั้นตอนพิสูจน์ว่าเป็นผู้กระทำความผิด ทุกคนยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด การนำเสนอข่าวจึงต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบสิทธิของบุคคลในชื่อเสียง และเกียรติยศ
ทั้งนี้ การละเมิดสิทธิในชื่อเสียง และเกียรติยศของประชาชนโดยการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เกิดขึ้นมาแล้วบ่อยครั้ง รวมทั้งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2555 ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับเผยแพร่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ได้ลงภาพบุคคล และพาดหัวข่าวว่า “ติดภาพสเกตช์ทุกด่าน ล่าโจรใต้มือบึ้มดับ 5 ตำรวจ” และที่เผยแพร่ในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปรากฏใน http://www.thairath.co.th/content/region/280232 ต่อมา ตรวจสอบแล้วพบว่า ภาพบุคคลดังกล่าวในภาพไม่ได้ตกเป็นผู้ต้องสงสัย หรือเป็นผู้ที่มีหมายจับของทางราชการแต่อย่างใด เป็นการละเมิดสิทธิ และสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์
น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผยว่า มูลนิธิผสานวัฒนธรรม มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม กลุ่มด้วยใจ เครือข่ายจำเลยคดีความมั่นคง และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ส่งจดหมายเปิดผนึกร้องเรียนเรื่องการนำเสนอภาพข่าวบิดเบือนของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถึงคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพื่อเรียกร้องให้ทางหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรับผิดชอบต่อการเสนอข่าว และภาพข่าวที่บิดเบือนไม่ตรงกับเนื้อหาอันเป็นการกระทบต่อสิทธิของบุคคลในชื่อเสียง และเกียรติยศของกลุ่มบุคคลในภาพดังกล่าว และยังขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ หมวด 2 จริยธรรมของหนังสือพิมพ์ ข้อ 4 ซึ่งระบุว่า “หนังสือพิมพ์ต้องยึดถือข้อเท็จจริง ความถูกต้องแม่นยำ ความครบถ้วน เพื่อดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชน”
ในจดหมายเปิดผนึกระบุด้วยว่า ขอให้มีการตรวจสอบการนำเสนอข่าวดังกล่าวและพฤติกรรมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งถ้าพบว่ามีการกระทำความผิดกฎหมาย หรือการกระทำที่ขัดต่อจริยธรรมแห่งวิชาชีพทางหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องดำเนินการเพื่อลงโทษ ขอโทษ และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ เพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม การเสนอข่าว และข้อมูลข่าวสารของทั้งขององค์กรทั้งภาครัฐ และเอกช รวมทั้งสื่อมวลชนในการสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ร่วมกัน
ตามที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ http://www.thairath.co.th/content/pol/291653 ประจำวันที่ 17 กันยายน 2555 ได้เผยแพร่ข่าวด้วยการพาดหัวข่าวว่า “93 โจรใต้มอบตัว มีเพียง 3 ราย โดนดำเนินคดีอาญา” พร้อมทั้งลงภาพถ่ายประกอบเนื้อข่าว โดยมีเนื้อหาที่อ้างคำสัมภาษณ์ของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ว่า “กลุ่มแนวร่วมที่ออกมาแสดงตนเพื่อกลับใจ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 93 คน พบว่ามีเพียง 3 คน ที่จะถูกดำเนินการตามกฎหมาย ป.วิอาญา...” ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ภาพที่ปรากฏก็เป็นภาพกิจกรรมในวันที่ 15 กันยายน 2555 ที่ตัวแทนเครือข่ายจำเลยคดีความมั่นคง และประชาชนที่ได้รับผลกระทบเดินทางไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม ภาพกลุ่มบุคคลที่ปรากฏในภาพข่าวฉบับนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับข่าวการมอบตัว และไม่ใช่กลุ่ม 93 คนเข้ามอบตัวอย่างที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์นำเสนอแต่อย่างใด โดยนักข่าว Deep South Watch ซึ่งได้เข้าร่วมทำข่าวด้วยนั้น ได้นำเสนอเนื้อหาข่าวที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับข้อเท็จจริง
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรเครือข่ายฯ ขอให้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ รับผิดชอบต่อการนำเสนอข่าวที่ขัดต่อจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ โดยการแก้ไขภาพข่าวซึ่งนำเสนอไม่ตรงกับความจริงโดยทันที และขอให้ทางสภาการหนังสือพิมพ์สร้างมาตรการ และการสร้างความเข้าใจต่อสื่อมวลชนว่าการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรม เนื่องจากผู้ที่ถูกจับกุม ผู้ต้องหา หรือจำเลยนั้น เมื่อยังไม่ได้ผ่านกระบวนการขั้นตอนพิสูจน์ว่าเป็นผู้กระทำความผิด ทุกคนยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด การนำเสนอข่าวจึงต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบสิทธิของบุคคลในชื่อเสียง และเกียรติยศ
ทั้งนี้ การละเมิดสิทธิในชื่อเสียง และเกียรติยศของประชาชนโดยการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เกิดขึ้นมาแล้วบ่อยครั้ง รวมทั้งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2555 ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับเผยแพร่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ได้ลงภาพบุคคล และพาดหัวข่าวว่า “ติดภาพสเกตช์ทุกด่าน ล่าโจรใต้มือบึ้มดับ 5 ตำรวจ” และที่เผยแพร่ในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปรากฏใน http://www.thairath.co.th/content/region/280232 ต่อมา ตรวจสอบแล้วพบว่า ภาพบุคคลดังกล่าวในภาพไม่ได้ตกเป็นผู้ต้องสงสัย หรือเป็นผู้ที่มีหมายจับของทางราชการแต่อย่างใด เป็นการละเมิดสิทธิ และสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์