นราธิวาส - “สุรเชษฐ์ แวอาแซ” ส.ส.นราธิวาส จากพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันไม่เข้าร่วมประชุมตามหนังสือเชิญของ “เฉลิม” ยกเว้น “ปู” เข้าร่วมประชุมด้วย เตรียมดันยกเลิก พ.ร.ก.ฉุนเฉิน บางพื้นที่ให้กลับเข้าสู่การใช้กฎหมายปกติเพื่อการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ
จากกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญหน่วยงานด้านความมั่นคงร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และบูรณาการด้านการข่าว พร้อมทั้งได้เชิญตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันที่ 7 ก.ย.นี้นั้น นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เขต 2 จากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนจะไม่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ซึ่งเป็นไปตามมติของพรรค ยืนยันไม่ได้เป็นการเล่นเกมทางการเมืองจากพรรคฝ่ายค้าน เพราะหากในการประชุมครั้งนี้มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจโดยตรงในการตัดสินใจมาเข้าร่วมประชุมด้วยก็พร้อมตอบรับทันที แต่กรณีที่เกิดขึ้นเหมือนจงใจทำให้เกิดนัยทางการเมือง เพื่อให้เห็นว่าฝ่ายค้านไม่ได้ต้องการให้เกิดการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง ทั้งที่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใหญ่ที่นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องเข้ามาบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
พร้อมกันนี้ นายสุรเชษฐ์กล่าวว่า ตนอยากเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความจริงใจในการแก้ปัญหา โดยการรับฟังข้อคิดเห็นรวมถึงข้อเสนอแนะจากพรรคฝ่ายค้าน รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ก็พร้อมนำเสนอในส่วนที่เชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์ความไม่สงบดีขึ้น
โดยในส่วนของตนเอง ต้องการนำเสนอให้องค์กรของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีอำนาจเต็มในการดำเนินการแก้ปัญหา และพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นเอกภาพ เพราะตั้งแต่มีการฟื้น ศอ.บต.ขึ้นมาใหม่ก็ส่งผลให้ประชาชนเกิดการยอมรับเจ้าหน้าที่รัฐมากขึ้น ซึ่งต่างจากการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศปก.จชต.ที่อาจจะเข้ามาทำงานซ้ำซ้อนจนทำให้ทั้งข้าราชการ และประชาชนในพื้นที่เกิดความสับสนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น จนกลายเป็นการสร้างเงื่อนไขในพื้นที่ได้
ขณะเดียวกัน เรื่องของการใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องแยกพื้นที่ที่ไม่มีสถานการณ์ความไม่สงบให้กลับเข้าสู่การใช้กฎหมายปกติ เช่น อ.แว้ง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส และ อ.ธารโต อ.เบตง จ.ยะลา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับพื้นที่ซึ่งได้มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปก่อนหน้านี้ โดยจนถึงขณะนี้ ก็ยังพบว่าไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ ส่วนพื้นที่ใดที่ยังคงมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น ก็ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไว้เช่นเดิมจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
จากกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญหน่วยงานด้านความมั่นคงร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และบูรณาการด้านการข่าว พร้อมทั้งได้เชิญตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันที่ 7 ก.ย.นี้นั้น นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เขต 2 จากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนจะไม่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ซึ่งเป็นไปตามมติของพรรค ยืนยันไม่ได้เป็นการเล่นเกมทางการเมืองจากพรรคฝ่ายค้าน เพราะหากในการประชุมครั้งนี้มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจโดยตรงในการตัดสินใจมาเข้าร่วมประชุมด้วยก็พร้อมตอบรับทันที แต่กรณีที่เกิดขึ้นเหมือนจงใจทำให้เกิดนัยทางการเมือง เพื่อให้เห็นว่าฝ่ายค้านไม่ได้ต้องการให้เกิดการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง ทั้งที่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใหญ่ที่นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องเข้ามาบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
พร้อมกันนี้ นายสุรเชษฐ์กล่าวว่า ตนอยากเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความจริงใจในการแก้ปัญหา โดยการรับฟังข้อคิดเห็นรวมถึงข้อเสนอแนะจากพรรคฝ่ายค้าน รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ก็พร้อมนำเสนอในส่วนที่เชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์ความไม่สงบดีขึ้น
โดยในส่วนของตนเอง ต้องการนำเสนอให้องค์กรของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีอำนาจเต็มในการดำเนินการแก้ปัญหา และพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นเอกภาพ เพราะตั้งแต่มีการฟื้น ศอ.บต.ขึ้นมาใหม่ก็ส่งผลให้ประชาชนเกิดการยอมรับเจ้าหน้าที่รัฐมากขึ้น ซึ่งต่างจากการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศปก.จชต.ที่อาจจะเข้ามาทำงานซ้ำซ้อนจนทำให้ทั้งข้าราชการ และประชาชนในพื้นที่เกิดความสับสนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น จนกลายเป็นการสร้างเงื่อนไขในพื้นที่ได้
ขณะเดียวกัน เรื่องของการใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องแยกพื้นที่ที่ไม่มีสถานการณ์ความไม่สงบให้กลับเข้าสู่การใช้กฎหมายปกติ เช่น อ.แว้ง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส และ อ.ธารโต อ.เบตง จ.ยะลา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับพื้นที่ซึ่งได้มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปก่อนหน้านี้ โดยจนถึงขณะนี้ ก็ยังพบว่าไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ ส่วนพื้นที่ใดที่ยังคงมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น ก็ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไว้เช่นเดิมจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ