สุราษฎร์ธานี - บีโอไอนำนักลงทุนจากส่วนกลาง และภาคตะวันออกบุกใต้ หวังเชื่อมโยงธุรกิจกับนักลงทุนภาคใต้ สร้างเครือข่ายการลงทุนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสงขลา ตั้งเป้าต่อยอดให้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ผลิตอาหารแปรรูป
น.ส.มาลัย พงศ์ถาวรภิญโญ ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 6 รับผิดชอบพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 7-10 สิงหาคม 2555 บีโอไอได้จัดกิจกรรมพาคณะนักลงทุนไทยจากส่วนกลาง และจากภาคตะวันออก เดินทางมาสร้างเครือข่ายการลงทุนกับนักลงทุนในภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสให้นักลงทุนไทยได้เชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกันมากยิ่งขึ้น
โดยผู้ประกอบการจากส่วนกลาง และภาคตะวันออกที่ร่วมเดินทางมากับคณะ จะได้ร่วมกิจกรรมสร้างเครือข่ายการลงทุนกับผู้ประกอบการจากหลายอุตสาหกรรมของภาคใต้ ได้แก่ อุตสาหกรรมยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ อาหารทะเลแปรรูป อาหารกระป๋อง เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการจากภาคกกลาง และภาคตะวันออกที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วัตถุดิบจากยางธรรมชาติ จะสามารถขยายเครือข่ายในการลงทุนได้ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เพราะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีประมาณ 730 โรงงาน ขณะที่ผู้ประกอบการในกลุ่มอาหารแปรรูป ก็จะมีโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกิจกับกลุ่มผู้ประกอบการประมง และอาหารทะเลของภาคใต้จำนวนมากด้วย
โดยบีโอไอจะพาคณะนักลงทุนไปเยี่ยมชม และพบปะหารือทางธุรกิจกับบริษัท ท่าฉางรับเบอร์ จำกัด บริษัท ท่าฉางสวนปาล์มน้ำมันอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำยางข้น น้ำมันปาล์มดิบ และไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล รวมทั้งบริษัท สยามเซมเพอร์เมด จำกัด ผู้ผลิตถุงมือยาง บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด บริษัท สงขลาแคนนิ่ง จำกัด และร่วมประชุมหารือกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา และหอการค้าจังหวัดสงขลาด้วย
น.ส.มาลัย พงศ์ถาวรภิญโญ ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 6 รับผิดชอบพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 7-10 สิงหาคม 2555 บีโอไอได้จัดกิจกรรมพาคณะนักลงทุนไทยจากส่วนกลาง และจากภาคตะวันออก เดินทางมาสร้างเครือข่ายการลงทุนกับนักลงทุนในภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสให้นักลงทุนไทยได้เชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกันมากยิ่งขึ้น
โดยผู้ประกอบการจากส่วนกลาง และภาคตะวันออกที่ร่วมเดินทางมากับคณะ จะได้ร่วมกิจกรรมสร้างเครือข่ายการลงทุนกับผู้ประกอบการจากหลายอุตสาหกรรมของภาคใต้ ได้แก่ อุตสาหกรรมยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ อาหารทะเลแปรรูป อาหารกระป๋อง เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการจากภาคกกลาง และภาคตะวันออกที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วัตถุดิบจากยางธรรมชาติ จะสามารถขยายเครือข่ายในการลงทุนได้ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เพราะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีประมาณ 730 โรงงาน ขณะที่ผู้ประกอบการในกลุ่มอาหารแปรรูป ก็จะมีโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกิจกับกลุ่มผู้ประกอบการประมง และอาหารทะเลของภาคใต้จำนวนมากด้วย
โดยบีโอไอจะพาคณะนักลงทุนไปเยี่ยมชม และพบปะหารือทางธุรกิจกับบริษัท ท่าฉางรับเบอร์ จำกัด บริษัท ท่าฉางสวนปาล์มน้ำมันอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำยางข้น น้ำมันปาล์มดิบ และไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล รวมทั้งบริษัท สยามเซมเพอร์เมด จำกัด ผู้ผลิตถุงมือยาง บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด บริษัท สงขลาแคนนิ่ง จำกัด และร่วมประชุมหารือกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา และหอการค้าจังหวัดสงขลาด้วย