สตูล - ชาวสตูล 3 อำเภอเดือดร้อนจากฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนแล้วในหลายพื้นที่ ปภ.จังหวัดเร่งทำผลสรุปความเสียหาย เผยเตรียมธงสัญญาณเตือนภัย และไซเรนแจ้งสถานการณ์น้ำ เพราะที่ผ่านมาการแจ้งเตือนผ่านวิทยุไม่ได้ผลเท่าที่ควร
วันนี้ (9 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสำเริง วงศ์มุณีวรณ์ หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดสตูล ได้รับแจ้งจากพื้นที่อำเภอท่าแพ และอำเภอละงู ว่าเมื่อคืนที่ผ่านมา ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ราบลุ่มแอ่งกระทะ ประสบปัญหาน้ำในลำคลองล้นตลิ่ง เนื่องจากจังหวัดสตูลยังมีฝนตกหนักในช่วงกลางคืน ทำให้เกิดน้ำท่วมหลากเข้าหมู่บ้าน ทางป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดสตูลจึงเร่งทำรานยงานสรุปความเสียหายเสนอต่อนายพิศาล ทองเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และเร่งลงพื้นที่สำรวจดูความเสียหาย
นายสำเริง วงศ์มุณีวรณ์ หัวหน้า ปภ.สตูล กล่าวว่า จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลฝนตกหนักในช่วงนี้เ ทำให้น้ำไหลลงทะเลไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมหลากในชั่วพริบตาเดียว ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเก็บข้าวของหนีน้ำได้ทัน มี 2 อำเภอที่ทำเรื่องแจ้งเข้ามาแล้วในขณะนี้ คือ อำเภอท่าแพ เกิดน้ำท่วมหลากประชาชนเดือดร้อน 4 ตำบล ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 6,250 คน 1,250 ครัวเรือน และอำเภอละงู ได้รับความเสียหาย 3 ตำบล ประชาชนเดือดร้อน 12,501 คน 3,125 ครัวเรือน
ส่วนอำเภอทุ้งหว้า ยังไม่มีรายงานมาที่ ปภ.จังหวัด แต่ได้รับแจ้งเบื้องต้นว่า ชาวบ้านเดือดร้อนจากน้ำท่วมหลากในพื้นที่ตำบลนาทอน 40 ครัวเรือน ทั้งนี้ ในเขตพื้นที่อำเภอทุ่งหว้า ขณะนี้ยังอยู่ในการสำรวจความเสียหาย ยังไม่สามารถสรุปได้
นายสำเริง วงศ์มุณีวรณ์ กล่าวอีกว่า แม้ภูมิศาสตร์ของจังหวัดสตูลจะมีเทือกเขาบรรทัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก แล้วค่อยๆ ลาดลงต่ำสู่ทิศตะวันตกออกทะเลอันดามัน โดยมีลุ่มน้ำสำคัญแค่สายสั้นๆ คือ คลองละงู คลองดุสน และคลองท่าแพ เป็นเส้นทางน้ำผ่าน กรณีน้ำท่วมน้ำหลาก จึงเป็นเหตุการณ์ปกติของจังหวัดสตูลมาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่ทางจังหวัดไม่นิ่งนอนใจ ได้ตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2555 ขึ้นมาแล้ว โดยมีนายพิศาล ทองเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ
จากนั้น ได้ประสานงานกับทางอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดทำแผนเฉพาะกิจฯ จัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์เครื่องมือ และระบบสื่อสาร รวมถึงการติดตั้งระบบแจ้งเตือนภัย และป้ายแจ้งเตือนภัยพร้อมกันไปด้วย โดยจังหวัดสตูลมีหน่วยเคลื่อนที่เร็ว 5 ชุด 50 คน แต่ละอำเภอมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วอำเภอละ 1 ชุด ชุดละ 10 คน
ในส่วนของกระบวนการเฝ้าเตือนภัยนั้น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดกระบวนการแจ้งเตือนภัยเพื่อให้การช่วยเหลือ เช่น ชลประทานจังหวัดสตูล ทำหน้าที่ตรวจเช็คสภาพลุ่มน้ำ รายงานน้ำท่าทุกพื้นที่ให้จังหวัดทราบ สถานีอุตุนิยมวิทยาสตูลทำหน้าที่รายงานปริมาณน้ำฝน สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูลทำหน้าที่ขยายผล รวบรวมข้อมูล แจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์
พร้อมกันนี้ จังหวัดสตูลยังได้จัดทำป้าย และธงสัญญาณเตือนภัย พร้อมไซเรนเพื่อบอกสถานการณ์น้ำ เพราะที่ผ่านมา การแจ้งเตือนผ่านวิทยุไม่ได้ผลเท่าที่ควร
วันนี้ (9 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสำเริง วงศ์มุณีวรณ์ หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดสตูล ได้รับแจ้งจากพื้นที่อำเภอท่าแพ และอำเภอละงู ว่าเมื่อคืนที่ผ่านมา ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ราบลุ่มแอ่งกระทะ ประสบปัญหาน้ำในลำคลองล้นตลิ่ง เนื่องจากจังหวัดสตูลยังมีฝนตกหนักในช่วงกลางคืน ทำให้เกิดน้ำท่วมหลากเข้าหมู่บ้าน ทางป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดสตูลจึงเร่งทำรานยงานสรุปความเสียหายเสนอต่อนายพิศาล ทองเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และเร่งลงพื้นที่สำรวจดูความเสียหาย
นายสำเริง วงศ์มุณีวรณ์ หัวหน้า ปภ.สตูล กล่าวว่า จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลฝนตกหนักในช่วงนี้เ ทำให้น้ำไหลลงทะเลไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมหลากในชั่วพริบตาเดียว ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเก็บข้าวของหนีน้ำได้ทัน มี 2 อำเภอที่ทำเรื่องแจ้งเข้ามาแล้วในขณะนี้ คือ อำเภอท่าแพ เกิดน้ำท่วมหลากประชาชนเดือดร้อน 4 ตำบล ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 6,250 คน 1,250 ครัวเรือน และอำเภอละงู ได้รับความเสียหาย 3 ตำบล ประชาชนเดือดร้อน 12,501 คน 3,125 ครัวเรือน
ส่วนอำเภอทุ้งหว้า ยังไม่มีรายงานมาที่ ปภ.จังหวัด แต่ได้รับแจ้งเบื้องต้นว่า ชาวบ้านเดือดร้อนจากน้ำท่วมหลากในพื้นที่ตำบลนาทอน 40 ครัวเรือน ทั้งนี้ ในเขตพื้นที่อำเภอทุ่งหว้า ขณะนี้ยังอยู่ในการสำรวจความเสียหาย ยังไม่สามารถสรุปได้
นายสำเริง วงศ์มุณีวรณ์ กล่าวอีกว่า แม้ภูมิศาสตร์ของจังหวัดสตูลจะมีเทือกเขาบรรทัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก แล้วค่อยๆ ลาดลงต่ำสู่ทิศตะวันตกออกทะเลอันดามัน โดยมีลุ่มน้ำสำคัญแค่สายสั้นๆ คือ คลองละงู คลองดุสน และคลองท่าแพ เป็นเส้นทางน้ำผ่าน กรณีน้ำท่วมน้ำหลาก จึงเป็นเหตุการณ์ปกติของจังหวัดสตูลมาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่ทางจังหวัดไม่นิ่งนอนใจ ได้ตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2555 ขึ้นมาแล้ว โดยมีนายพิศาล ทองเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ
จากนั้น ได้ประสานงานกับทางอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดทำแผนเฉพาะกิจฯ จัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์เครื่องมือ และระบบสื่อสาร รวมถึงการติดตั้งระบบแจ้งเตือนภัย และป้ายแจ้งเตือนภัยพร้อมกันไปด้วย โดยจังหวัดสตูลมีหน่วยเคลื่อนที่เร็ว 5 ชุด 50 คน แต่ละอำเภอมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วอำเภอละ 1 ชุด ชุดละ 10 คน
ในส่วนของกระบวนการเฝ้าเตือนภัยนั้น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดกระบวนการแจ้งเตือนภัยเพื่อให้การช่วยเหลือ เช่น ชลประทานจังหวัดสตูล ทำหน้าที่ตรวจเช็คสภาพลุ่มน้ำ รายงานน้ำท่าทุกพื้นที่ให้จังหวัดทราบ สถานีอุตุนิยมวิทยาสตูลทำหน้าที่รายงานปริมาณน้ำฝน สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูลทำหน้าที่ขยายผล รวบรวมข้อมูล แจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์
พร้อมกันนี้ จังหวัดสตูลยังได้จัดทำป้าย และธงสัญญาณเตือนภัย พร้อมไซเรนเพื่อบอกสถานการณ์น้ำ เพราะที่ผ่านมา การแจ้งเตือนผ่านวิทยุไม่ได้ผลเท่าที่ควร