ยะลา - สาธารณสุขจังหวัดยะลาเตือนผู้ปกครอง ครู และสถานเลี้ยงเด็กเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก หลังพบเด็กในเขต ทน.ยะลา ป่วยแล้ว 52 ราย กำชับดูแลสุขอนามัย “กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือ” หากพบมีอาการแทรกซ้อน อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง หรือชักให้รีบนำไปพบแพทย์ด่วน
นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ตามที่มีสถานการณ์การระบาดของโรคมือเท้าปากในโรงเรียนชั้นอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก ในเขตเทศบาลนครยะลา ตั้งแต่วันที่ 23 - 31 พฤษภาคม 2555 จำนวน 5 แห่ง พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 52 ราย ซึ่งในเรื่องของการป้องกันโรคนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องขอความร่วมมือโรงเรียนที่มีการระบาดให้ปิดเรียน เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ขณะนี้อยู่ในระหว่างสอบสวน ควบคุม และเฝ้าระวังโรค
โรคมือเท้าปาก มักเป็นในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ อาการของโรคคือเด็กจะมีจุด หรือผื่นแดงในปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม หรือตุ่มพองใสที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาแก้เจ็บแผลในปาก ฯลฯ และหายได้เองในช่วง 7-10 วัน
ตามปกติโรคนี้มักไม่รุนแรง แต่เชื้อไวรัสบางชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรสังเกตอาการของเด็กโดยเฉพาะกลุ่มเด็กทารก เด็กเล็ก หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมดื่มนมหรือทานอาหาร อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก อาจเกิดภาวะสมองอักเสบ หรือน้ำท่วมปอดซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ดังนั้น หากมีบุตรหลานป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก โดยมีอาการดังกล่าวข้างต้น ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที และหยุดเรียนเพื่อรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5 - 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ และในระหว่างนี้ต้องหมั่นสังเกตอาการแทรกซ้อน หากพบว่ามีไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ต้องรีบพาเด็กไปพบแพทย์ทันที
โรคมือเท้าปากยังไม่มีวัคซีนป้องกัน วิธีการป้องกันควบคุมโรคที่สำคัญคือ การมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และงดใช้ภาชนะและเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ จาน ชาม เป็นต้น ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนเตรียมอาหาร ก่อนป้อนอาหารให้เด็ก ก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย นอกจากนี้ ต้องหมั่นทำความสะอาดภาชนะ เครื่องใช้ ของเล่น อุปกรณ์ ที่เด็กอาจใช้ร่วมกัน ทั้งที่บ้าน สถานศึกษา และสถานที่สาธารณะ รวมทั้งการรักษาความสะอาดทั่วไป การจัดการสิ่งแวดล้อมเช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว ให้ถูกสุขลักษณะ
สำหรับการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลาได้ประสานงานและสั่งการ เร่งรัดการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวัง โรคมือเท้าปากไปยังหน่วยงานและสถานบริการสาธารณสุขในสังกัด พร้อมทั้งขอความร่วมมือศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียน เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ แนะนำโรงเรียนที่มีการระบาดให้ปิดโรงเรียนและทำความสะอาดของใช้ ของเล่น ของเด็ก ด้วยผงซักฟอก และน้ำยาทำความสะอาด และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ถูกหลักสุขาภิบาล
ทั้งนี้ สามารถแจ้งข้อมูลและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา โทร.073 -212008 ต่อ 105 และสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทุกแห่ง
นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ตามที่มีสถานการณ์การระบาดของโรคมือเท้าปากในโรงเรียนชั้นอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก ในเขตเทศบาลนครยะลา ตั้งแต่วันที่ 23 - 31 พฤษภาคม 2555 จำนวน 5 แห่ง พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 52 ราย ซึ่งในเรื่องของการป้องกันโรคนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องขอความร่วมมือโรงเรียนที่มีการระบาดให้ปิดเรียน เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ขณะนี้อยู่ในระหว่างสอบสวน ควบคุม และเฝ้าระวังโรค
โรคมือเท้าปาก มักเป็นในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ อาการของโรคคือเด็กจะมีจุด หรือผื่นแดงในปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม หรือตุ่มพองใสที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาแก้เจ็บแผลในปาก ฯลฯ และหายได้เองในช่วง 7-10 วัน
ตามปกติโรคนี้มักไม่รุนแรง แต่เชื้อไวรัสบางชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรสังเกตอาการของเด็กโดยเฉพาะกลุ่มเด็กทารก เด็กเล็ก หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมดื่มนมหรือทานอาหาร อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก อาจเกิดภาวะสมองอักเสบ หรือน้ำท่วมปอดซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ดังนั้น หากมีบุตรหลานป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก โดยมีอาการดังกล่าวข้างต้น ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที และหยุดเรียนเพื่อรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5 - 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ และในระหว่างนี้ต้องหมั่นสังเกตอาการแทรกซ้อน หากพบว่ามีไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ต้องรีบพาเด็กไปพบแพทย์ทันที
โรคมือเท้าปากยังไม่มีวัคซีนป้องกัน วิธีการป้องกันควบคุมโรคที่สำคัญคือ การมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และงดใช้ภาชนะและเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ จาน ชาม เป็นต้น ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนเตรียมอาหาร ก่อนป้อนอาหารให้เด็ก ก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย นอกจากนี้ ต้องหมั่นทำความสะอาดภาชนะ เครื่องใช้ ของเล่น อุปกรณ์ ที่เด็กอาจใช้ร่วมกัน ทั้งที่บ้าน สถานศึกษา และสถานที่สาธารณะ รวมทั้งการรักษาความสะอาดทั่วไป การจัดการสิ่งแวดล้อมเช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว ให้ถูกสุขลักษณะ
สำหรับการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลาได้ประสานงานและสั่งการ เร่งรัดการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวัง โรคมือเท้าปากไปยังหน่วยงานและสถานบริการสาธารณสุขในสังกัด พร้อมทั้งขอความร่วมมือศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียน เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ แนะนำโรงเรียนที่มีการระบาดให้ปิดโรงเรียนและทำความสะอาดของใช้ ของเล่น ของเด็ก ด้วยผงซักฟอก และน้ำยาทำความสะอาด และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ถูกหลักสุขาภิบาล
ทั้งนี้ สามารถแจ้งข้อมูลและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา โทร.073 -212008 ต่อ 105 และสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทุกแห่ง