เป็นปัญหาที่เกิดมานานแล้วสำหรับ "ระบบขนส่งผู้โดยสาร" โดยเฉพาะบริเวณรอบตัวเมืองตรังที่อยู่ในลักษณะทางใครทางมัน ทั้งการจัดระเบียบ และการกำหนดราคาที่เป็นธรรม ภายใต้การกำกับดูแลของ 4 หน่วยงานหลักๆ คือ ขนส่งจังหวัดตรัง, สภ.เมืองตรัง, เทศบาลนครตรัง และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตรัง แต่ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะย่ำอยู่กับที่ เพราะหลายส่วนก็เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น
นับตั้งแต่การย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสาร (บขส.) จากถนนห้วยยอด ออกไปอยู่ชานเมืองริมถนนสายตรัง-พัทลุง แล้วให้รถโดยสารต่างๆ โดยเฉพาะ "รถบัส-รถทัวร์" ไปรวมตัวกันอยู่ ก่อนที่จะขยายผลไปถึง "รถตู้" และรถอื่นๆ ที่คาดว่าจะมีขึ้นในอนาคต รวมทั้งล่าสุดก็คือการอนุญาตให้ "อบจ.ตรัง" และภาคเอกชน คือ "หจก.ท่ากลางเดินรถ" ได้สัมปทานจัดรถโดยสารวิ่งรอบตัวเมืองตรัง ใน 4 เส้นทางสำคัญ
แม้ว่าขณะนี้จะมีรถโดยสารชนิดอื่นๆ อยู่บ้างแล้ว โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ และรถสามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก) แต่ก็ไม่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้โดยสารได้ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่า 1 ในปัญหายอดฮิตที่ถูกถกเถียงกันมาตลอดก็คือ ราคาค่าโดยสารที่อยู่ในอัตราที่เป็นธรรม สอดคล้องกับต้นทุนอย่าง "น้ำมัน" หรือ "แก๊ส" ที่พุ่งสูงขึ้นทุกวัน จึงเป็นที่มาของการเสนอทางเลือกใหม่ให้สำหรับผู้บริโภค
พิศาล วีรวรรณ" ผจก."หจก.ท่ากลางเดินรถ" บอกว่า จุดเริ่มต้นของการเข้ามาทำธุรกิจนี้ นอกจากจะเป็นการต่อยอดจากโรงเรียนสอนขับรถแล้ว ยังเป็นเพราะได้รับการชักชวน ทั้งจาก "ขนส่งจังหวัดตรัง" และ "อบจ.ตรัง" จึงยอมทุ่มงบซื้อรถ 2 แถว ซึ่งรวมทุกอย่างแล้ว ตกประมาณคันละ 500,000 บาท บวกกับรถของผู้สนใจมาเข้าร่วมกันเป็นจำนวนเส้นทางละ 16 คัน เพื่อประเดิมวิ่งใน 2 เส้น รอบตัวเมืองตรัง
โดยสายที่ 7 สีส้ม รถจะวิ่งสวนกันไปมา เริ่มจาก บขส.ตรัง ผ่านอนุสาวรีย์ สภ.เมืองตรัง สี่แยกโกกุล สามแยกหมี สามแยกวัดกุฎ โรงพยาบาลศูนย์ตรัง แล้วไปสิ้นสุดที่ บขส.ตรัง ส่วนสายที่ 8 สีน้ำเงินรถจะวิ่งสลับกันไปมาจากระหว่าง บขส.ตรัง กับสถานีรถไฟตรัง โดยผ่านจุดสำคัญๆ เช่น อนุสาวรีย์, ห้างสิริบรรณ, สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง, สี่แยกต้นสมอ, สี่แยกสาลิการาม, โรงเรียนสภาราชินี, หอนาฬิกา และสี่แยกกันตัง
ด้วยค่าโดยสารที่ถูกเพียงแค่ "คนละ 12 บาท" ตลอดสายนั้น ผจก."หจก.ท่ากลางเดินรถ" รีบบอกทันทีว่า อย่าถามเรื่องผลกำไรที่จะได้รับ เพราะคงอีกหลายเดือน หลังเปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา เขายังคงมีภาระต้องใช้เงินก้อนใหญ่เข้าไปจัดการอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องจุดที่พักผู้โดยสารและเรื่องป้ายขึ้นลงรถ ซึ่งนอกจากจะต้องเห็นเด่นชัดแล้ว ยังต้องสะดวกทั้งต่อคนขับรถและต่อผู้โดยสารด้วย
"การทำธุรกิจวิ่งรถ 2 แถวรอบเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย ในยุคปัจจุบันที่มีต้นทุนสูงแทบทุกด้าน เพราะรถคันหนึ่งๆ มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องสารพัด ส่วนคนขับก็ต้องกิน ต้องใช้ ต้องมีเงินจ่าย ไหนยังต้องเจอแรงเสียดทานจากรถโดยสารด้วยกัน และต้องชักชวนให้ผู้คนกล้าโบกรถขึ้นไปใช้บริการ เพราะยังเป็นของใหม่สำหรับจังหวัดตรัง อย่างไรก็ตาม แม้วันๆ หนึ่งจะเหนื่อยแทบไม่ได้พัก แต่ผมก็ขอยืนหยัดที่จะทำต่อไปจนถึงที่สุด"
ทั้งนี้ "พิศาล วีรวรรณ" หวังว่าธุรกิจรถ 2 แถววิ่งรอบเมืองตรังจะช่วยให้เกิดประโยชน์กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยวทั่วไป เพื่อเป็นการแก้ปัญหาจราจรในเขตเทศบาลนครตรัง และพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งยังเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้ระบบบริการสาธารณะ เนื่องจากมีราคาที่ประหยัด สะดวก และปลอดภัย โดยจะมีรถออกทุกๆ 30 นาที ตั้งแต่เวลา 06.00 -19.30 น. และมีรถวิ่งทุกวัน
เพื่อหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการเข้ามาช่วยจัด "ระบบขนส่งผู้โดยสาร" ให้เป็นรูปธรรมเสียที
นับตั้งแต่การย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสาร (บขส.) จากถนนห้วยยอด ออกไปอยู่ชานเมืองริมถนนสายตรัง-พัทลุง แล้วให้รถโดยสารต่างๆ โดยเฉพาะ "รถบัส-รถทัวร์" ไปรวมตัวกันอยู่ ก่อนที่จะขยายผลไปถึง "รถตู้" และรถอื่นๆ ที่คาดว่าจะมีขึ้นในอนาคต รวมทั้งล่าสุดก็คือการอนุญาตให้ "อบจ.ตรัง" และภาคเอกชน คือ "หจก.ท่ากลางเดินรถ" ได้สัมปทานจัดรถโดยสารวิ่งรอบตัวเมืองตรัง ใน 4 เส้นทางสำคัญ
แม้ว่าขณะนี้จะมีรถโดยสารชนิดอื่นๆ อยู่บ้างแล้ว โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ และรถสามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก) แต่ก็ไม่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้โดยสารได้ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่า 1 ในปัญหายอดฮิตที่ถูกถกเถียงกันมาตลอดก็คือ ราคาค่าโดยสารที่อยู่ในอัตราที่เป็นธรรม สอดคล้องกับต้นทุนอย่าง "น้ำมัน" หรือ "แก๊ส" ที่พุ่งสูงขึ้นทุกวัน จึงเป็นที่มาของการเสนอทางเลือกใหม่ให้สำหรับผู้บริโภค
พิศาล วีรวรรณ" ผจก."หจก.ท่ากลางเดินรถ" บอกว่า จุดเริ่มต้นของการเข้ามาทำธุรกิจนี้ นอกจากจะเป็นการต่อยอดจากโรงเรียนสอนขับรถแล้ว ยังเป็นเพราะได้รับการชักชวน ทั้งจาก "ขนส่งจังหวัดตรัง" และ "อบจ.ตรัง" จึงยอมทุ่มงบซื้อรถ 2 แถว ซึ่งรวมทุกอย่างแล้ว ตกประมาณคันละ 500,000 บาท บวกกับรถของผู้สนใจมาเข้าร่วมกันเป็นจำนวนเส้นทางละ 16 คัน เพื่อประเดิมวิ่งใน 2 เส้น รอบตัวเมืองตรัง
โดยสายที่ 7 สีส้ม รถจะวิ่งสวนกันไปมา เริ่มจาก บขส.ตรัง ผ่านอนุสาวรีย์ สภ.เมืองตรัง สี่แยกโกกุล สามแยกหมี สามแยกวัดกุฎ โรงพยาบาลศูนย์ตรัง แล้วไปสิ้นสุดที่ บขส.ตรัง ส่วนสายที่ 8 สีน้ำเงินรถจะวิ่งสลับกันไปมาจากระหว่าง บขส.ตรัง กับสถานีรถไฟตรัง โดยผ่านจุดสำคัญๆ เช่น อนุสาวรีย์, ห้างสิริบรรณ, สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง, สี่แยกต้นสมอ, สี่แยกสาลิการาม, โรงเรียนสภาราชินี, หอนาฬิกา และสี่แยกกันตัง
ด้วยค่าโดยสารที่ถูกเพียงแค่ "คนละ 12 บาท" ตลอดสายนั้น ผจก."หจก.ท่ากลางเดินรถ" รีบบอกทันทีว่า อย่าถามเรื่องผลกำไรที่จะได้รับ เพราะคงอีกหลายเดือน หลังเปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา เขายังคงมีภาระต้องใช้เงินก้อนใหญ่เข้าไปจัดการอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องจุดที่พักผู้โดยสารและเรื่องป้ายขึ้นลงรถ ซึ่งนอกจากจะต้องเห็นเด่นชัดแล้ว ยังต้องสะดวกทั้งต่อคนขับรถและต่อผู้โดยสารด้วย
"การทำธุรกิจวิ่งรถ 2 แถวรอบเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย ในยุคปัจจุบันที่มีต้นทุนสูงแทบทุกด้าน เพราะรถคันหนึ่งๆ มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องสารพัด ส่วนคนขับก็ต้องกิน ต้องใช้ ต้องมีเงินจ่าย ไหนยังต้องเจอแรงเสียดทานจากรถโดยสารด้วยกัน และต้องชักชวนให้ผู้คนกล้าโบกรถขึ้นไปใช้บริการ เพราะยังเป็นของใหม่สำหรับจังหวัดตรัง อย่างไรก็ตาม แม้วันๆ หนึ่งจะเหนื่อยแทบไม่ได้พัก แต่ผมก็ขอยืนหยัดที่จะทำต่อไปจนถึงที่สุด"
ทั้งนี้ "พิศาล วีรวรรณ" หวังว่าธุรกิจรถ 2 แถววิ่งรอบเมืองตรังจะช่วยให้เกิดประโยชน์กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยวทั่วไป เพื่อเป็นการแก้ปัญหาจราจรในเขตเทศบาลนครตรัง และพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งยังเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้ระบบบริการสาธารณะ เนื่องจากมีราคาที่ประหยัด สะดวก และปลอดภัย โดยจะมีรถออกทุกๆ 30 นาที ตั้งแต่เวลา 06.00 -19.30 น. และมีรถวิ่งทุกวัน
เพื่อหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการเข้ามาช่วยจัด "ระบบขนส่งผู้โดยสาร" ให้เป็นรูปธรรมเสียที