ยะลา - ศอ.บต.แจงผู้ที่ตกค้างการลงทะเบียนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ชายแดนใต้ สามารถลงทะเบียนเพิ่มเติมได้ ณ ที่ว่าการอำเภอตามภูมิลำเนาของตนเอง
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต.ชี้แจงกรณีการดำเนินการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ประชาชนที่ตกค้างจากการลงทะเบียนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ต้องการรับการช่วยเหลือเยียวยาในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา (อ.เทพา อ.นาทวี อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย) สามารถไปลงทะเบียนได้ที่อำเภอที่อยู่ในภูมิลำเนาของตนเอง
ทั้งนี้ หลังจากผู้ได้รับผลกระทบลงทะเบียนแล้วจะนำรายชื่อมาตรวจสอบ ว่า เป็นผู้ได้รับผลกระทบที่เคยลงทะเบียนในจำนวน 8,000 คน ที่ทาง ศอ.บต.มีข้อมูลอยู่แล้ว และเป็นผู้ได้รับผลกระทบจริง หรือเพื่อตรวจสอบผู้แอบอ้างสิทธิการได้รับเยียวยา โดยข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบในทุกพื้นที่จะถูกเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลของ ศอ.บต.เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ
โดย ศอ.บต.แบ่งคณะอนุกรรมการเยียวยาเป็น 8 คณะ คือ คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์และประเมินผลการเยียวยา คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับผลกระทบ คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐในเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 เหตุการณ์ตากใบ ในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 และการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอื่นๆ คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในกรณีถูกบังคับให้สูญหาย คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์เฉพาะกรณี คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยากรณีถูกจับกุม ควบคุม หรือคุมขัง หรือถูกดำเนินคดีโดยไม่มีความผิด คณะอนุกรรมการการสื่อสารสร้างความเข้าใจทั้งใน และต่างประเทศ
เลขาธิการ ศอ.บต.ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนกรณีอื่นๆ เช่น กรณีผู้มาลงทะเบียนรับการเยียวยาก็จะมีการสอบถามว่าต้องการรับการช่วยเหลืออย่างไร เมื่อลงทะเบียนแล้วจะนำข้อมูลมาประมวลผล ว่า กลุ่มไหนต้องการรับการเยียวยาด้านใด เช่น ด้านการศึกษา ด้านการประกอบอาชีพ ด้านการไปประกอบพิธีฮัจญ์ และจะมีกรรมการของแต่ละกลุ่มพิจารณา เพื่อให้ได้รับการเยียวยาอย่างเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนการช่วยเหลือ โดยเป็นการพิจารณาครั้งใหญ่ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลในด้านการช่วยเหลือโดยทางรัฐบาล และ ศอ.บต.จะดำเนินการตามนโยบายการเยียวยาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการศึกษา ดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบในระยะยาว ส่วนหลักเกณฑ์ และการให้ความช่วยเหลือในแต่ละกรณีจะต้องได้รับการตรวจสอบจากคณะกรรมการเยียวยาก่อนพิจารณาหลักเกณฑ์ให้การช่วยเหลือตามกรณีไป
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต.ชี้แจงกรณีการดำเนินการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ประชาชนที่ตกค้างจากการลงทะเบียนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ต้องการรับการช่วยเหลือเยียวยาในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา (อ.เทพา อ.นาทวี อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย) สามารถไปลงทะเบียนได้ที่อำเภอที่อยู่ในภูมิลำเนาของตนเอง
ทั้งนี้ หลังจากผู้ได้รับผลกระทบลงทะเบียนแล้วจะนำรายชื่อมาตรวจสอบ ว่า เป็นผู้ได้รับผลกระทบที่เคยลงทะเบียนในจำนวน 8,000 คน ที่ทาง ศอ.บต.มีข้อมูลอยู่แล้ว และเป็นผู้ได้รับผลกระทบจริง หรือเพื่อตรวจสอบผู้แอบอ้างสิทธิการได้รับเยียวยา โดยข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบในทุกพื้นที่จะถูกเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลของ ศอ.บต.เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ
โดย ศอ.บต.แบ่งคณะอนุกรรมการเยียวยาเป็น 8 คณะ คือ คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์และประเมินผลการเยียวยา คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับผลกระทบ คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐในเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 เหตุการณ์ตากใบ ในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 และการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอื่นๆ คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในกรณีถูกบังคับให้สูญหาย คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์เฉพาะกรณี คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยากรณีถูกจับกุม ควบคุม หรือคุมขัง หรือถูกดำเนินคดีโดยไม่มีความผิด คณะอนุกรรมการการสื่อสารสร้างความเข้าใจทั้งใน และต่างประเทศ
เลขาธิการ ศอ.บต.ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนกรณีอื่นๆ เช่น กรณีผู้มาลงทะเบียนรับการเยียวยาก็จะมีการสอบถามว่าต้องการรับการช่วยเหลืออย่างไร เมื่อลงทะเบียนแล้วจะนำข้อมูลมาประมวลผล ว่า กลุ่มไหนต้องการรับการเยียวยาด้านใด เช่น ด้านการศึกษา ด้านการประกอบอาชีพ ด้านการไปประกอบพิธีฮัจญ์ และจะมีกรรมการของแต่ละกลุ่มพิจารณา เพื่อให้ได้รับการเยียวยาอย่างเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนการช่วยเหลือ โดยเป็นการพิจารณาครั้งใหญ่ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลในด้านการช่วยเหลือโดยทางรัฐบาล และ ศอ.บต.จะดำเนินการตามนโยบายการเยียวยาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการศึกษา ดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบในระยะยาว ส่วนหลักเกณฑ์ และการให้ความช่วยเหลือในแต่ละกรณีจะต้องได้รับการตรวจสอบจากคณะกรรมการเยียวยาก่อนพิจารณาหลักเกณฑ์ให้การช่วยเหลือตามกรณีไป