พัทลุง - โรงรมเอกชน 4 จังหวัดใต้ เตรียมเคลื่อนไหวร้องรัฐบาลเงินสนับสนุนให้แก่สถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา จำนวน 15,000 ล้านบาท เพื่อรับยางพาราจากชาวสวนยาง
นายกาตีบีน เก็มเด็น เจ้าของรับซื้อน้ำยางสดบ้านทุ่งเหรียง ม.2 บ้านทุ่งเหรียง เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า เจ้าของรับซื้อน้ำยางพาราสด และโรงรมยางขนาดเล็กใน จ.พัทลุง จ.สงขลา จ.นครศรีธรรมราช และ จ.ตรัง ได้ร่วมประชุมหารือเบื้องต้นกันที่จังหวัดพัทลุง ประมาณ 100 ราย ถึงกรณีที่ทางรัฐบาลให้เงินสนับสนุนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา จำนวน 15,000 ล้านบาท เพื่อรับยางพาราจากชาวสวนยาง
แต่ไม่ได้ให้ผู้รับซื้อน้ำยางพาราจากสถาบันของเอกชนแต่อย่างใด ทั้งที่เอกชนก็ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนมาก ซึ่งรายขนาดเล็ก ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท/วัน ในการเข้าซื้อ และกิจการของเอกชนจะมีมากกว่าของสถาบันเกษตรกร และก็รับซื้อราคาที่สูงกว่าด้วย และยางก็มีคุณภาพมากกว่าด้วย
“ในการหารือครั้งนี้ โรงรมยางและผู้รับซื้อน้ำยางสด ได้สรุปว่า หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแล้ว จะต้องเกิดการประท้วงขึ้นอย่างแน่นอน และขณะนี้มีความพร้อมของกลุ่มทั้ง 4 จังหวัดแล้ว พร้อมกับแผนการดำเนินงาน โดยประเมินว่า จะได้รับความร่วมมือจากโรงรมเอกชนทั่วประเทศด้วย”
ทางด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ผู้ที่จะเข้าโครงการสนับสนุนจากรัฐบาล 15,000 ล้านบาท ที่เข้าร่วมโครงการได้อนุมัติไปแล้ว และรอการอนุมัติ นอกนั้นยังมีที่ไม่ผ่านการอนุมัติเพราะขาดคุณสมบัติ ส่วนโรงรมเอกชนก็สามารถดำเนินการได้ แต่จะต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ก่อน และขณะนี้กำลังเปิดรับสมัคร ก็จะได้รับการสนับสนุน แต่จะต้องมีการตรวจสอบขั้นตอนรายละเอียด
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า โครงการ 15,000 ล้านบาท ที่ทางรัฐบาลดำเนินการสนับสนุนสถาบันเกษตกร ทางนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะทำการเรียกประชุมสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ ที่เข้าร่วมโครงการในวันที่ 21 พ.ค.นี้ ที่กรุงเทพฯ
นายกาตีบีน เก็มเด็น เจ้าของรับซื้อน้ำยางสดบ้านทุ่งเหรียง ม.2 บ้านทุ่งเหรียง เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า เจ้าของรับซื้อน้ำยางพาราสด และโรงรมยางขนาดเล็กใน จ.พัทลุง จ.สงขลา จ.นครศรีธรรมราช และ จ.ตรัง ได้ร่วมประชุมหารือเบื้องต้นกันที่จังหวัดพัทลุง ประมาณ 100 ราย ถึงกรณีที่ทางรัฐบาลให้เงินสนับสนุนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา จำนวน 15,000 ล้านบาท เพื่อรับยางพาราจากชาวสวนยาง
แต่ไม่ได้ให้ผู้รับซื้อน้ำยางพาราจากสถาบันของเอกชนแต่อย่างใด ทั้งที่เอกชนก็ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนมาก ซึ่งรายขนาดเล็ก ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท/วัน ในการเข้าซื้อ และกิจการของเอกชนจะมีมากกว่าของสถาบันเกษตรกร และก็รับซื้อราคาที่สูงกว่าด้วย และยางก็มีคุณภาพมากกว่าด้วย
“ในการหารือครั้งนี้ โรงรมยางและผู้รับซื้อน้ำยางสด ได้สรุปว่า หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแล้ว จะต้องเกิดการประท้วงขึ้นอย่างแน่นอน และขณะนี้มีความพร้อมของกลุ่มทั้ง 4 จังหวัดแล้ว พร้อมกับแผนการดำเนินงาน โดยประเมินว่า จะได้รับความร่วมมือจากโรงรมเอกชนทั่วประเทศด้วย”
ทางด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ผู้ที่จะเข้าโครงการสนับสนุนจากรัฐบาล 15,000 ล้านบาท ที่เข้าร่วมโครงการได้อนุมัติไปแล้ว และรอการอนุมัติ นอกนั้นยังมีที่ไม่ผ่านการอนุมัติเพราะขาดคุณสมบัติ ส่วนโรงรมเอกชนก็สามารถดำเนินการได้ แต่จะต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ก่อน และขณะนี้กำลังเปิดรับสมัคร ก็จะได้รับการสนับสนุน แต่จะต้องมีการตรวจสอบขั้นตอนรายละเอียด
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า โครงการ 15,000 ล้านบาท ที่ทางรัฐบาลดำเนินการสนับสนุนสถาบันเกษตกร ทางนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะทำการเรียกประชุมสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ ที่เข้าร่วมโครงการในวันที่ 21 พ.ค.นี้ ที่กรุงเทพฯ