เยือนถิ่นสงคราม ย้อนรอยประวัติศาสตร์ผู้ก่อการร้ายโจรจีนคอมมิวนิสต์ มุดอุโมงค์ฐานที่มั่นเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง อ.นาทวี จ.สงขลา
เขาน้ำค้างเป็นยอดเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี สมัยโบราณคนที่เคยขึ้นไปบนยอดเขาจะเห็นมีน้ำค้างเป็นเกล็ดอยู่ตามยอดหญ้า ลักษณะเป็นใยแมงมุมแม้แต่ตอนเที่ยงวันก็มีน้ำค้างประปรายอยู่บนยอดหญ้าซึ่งเป็นสภาพที่แปลกเป็นอย่างยิ่ง จึงเรียกขานกันว่า “เขาน้ำค้าง” เขาน้ำค้าง เป็นเสมือนเขตหวงห้ามเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอยู่ในความยึดครองของ ผู้ก่อการร้ายโจรจีนคอมมิวนิสต์ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่ภูมิประเทศเป็นถิ่นทุรกันดาร เทือกเขาสลับซับซ้อน ทำให้เป็นฐานปฏิบัติการใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของแถบนี้ แต่ในที่สุด จากการปฏิบัติการตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น โดยนำนโยบายการเมืองนำการทหาร กองทัพภาคที่ 4 และหน่วยผสมพลเรือนตำรวจทหารที่ 43 (พตท.43) ได้นำนโยบายนี้เข้าปฏิบัติการ สามารถเข้ายึดค่ายปฏิบัติการได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2523 ทำให้โจรจีนคอมมิวนิสต์สลายตัวไปในที่สุด
จึงเกิดเรื่องราวประวัติศาสตร์ขึ้นมากมายที่อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง “อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง” ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเขาน้ำค้าง หมู่ที่ 1 ต.คลองกวาง อ.นาทวี จ.สงขลา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กม. สถานที่แห่งนี้รู้จักกันในนามหมู่บ้านปิยมิตร 5 ในอดีตเป็นหมู่บ้านของบรรดาผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ หลังจากการสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลเกือบ 40 ปี พรรคคอมมิวนิสต์ได้ประกาศยุติการสู้รบ เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อปี 2530 สถานที่น่าสนใจ คือ อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ และยาวที่สุดในประเทศไทย ขุดด้วยกำลังคน 200 คนต่อวัน ใช้เวลาประมาณ 2 ปี เมื่อปี พ.ศ.2515 เป็นที่หลบภัย แหล่งอาวุธ ฐานบัญชาการ สถานพยาบาล โรงเรียนสอนการเมือง ลัทธิมาร์คซ์-เลนิน สายรัฐเซีย หรือความคิดประธานเหมา เจ๋อ ตง ภายในแบ่งเป็น 3 ชั้น มีทางเข้าออก 16 ช่องทาง ความยาวคดเคี้ยวขึ้นลงในภายในอุโมงค์ประมาณ 1,000 เมตร สามารถบรรจุคนได้ประมาณ 200 คน
ก่อนจะเข้าไปชมภายในอุโมงค์ ต้องช่วยสนับสนุนค่าบำรุงดูแลสถานที่ โดยนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทย คนละ 30 บาท เด็ก 20 บาท ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คนละ 120 บาท ถึงแม้จะเป็นตัวเลขที่ต่างกันหลายเท่า แต่ผู้ดูแลเขาต้องมีค่าใช่จ่ายในการปรับปรุงดูแลสถานที่ก็ไม่ว่ากัน เอาเป็นว่าห้องน้ำสะอาดเรียบร้อยดีก็น่าจะเพียงพอ (แต่ต้องจ่ายหน้าห้องน้ำอีก 3 บาท)
ก่อนจะเข้าไปในอุโมงค์ ด่านแรกจะเป็นในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการ เรื่องราวประวัติศาสตร์ รูปถ่ายของผู้บัญชาการสูงสุด (สั่งสังหาร) และเหล่าสหายโจรจีนคอมมิวนิสต์ อาวุธจำลอง และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ยังคงเหลืออยู่ ของโจรจีนคอมมิวนิสต์ หรือคอมมิวนิสต์มลายา
ถัดออกมาข้างนอกอาคารนิทรรศการ ด้านซ้ายมือ จะเป็นพิพิธภัณฑ์สงครามประวัติศาสตร์อดีตสหาย พ.ค.ม.ผู้ล่วงลับ
เดินต่อไปผ่านบ่อเลี้ยงปลาจะผ่านปากทางอุโมงค์ แต่การเข้าชมภายในอุโมงค์ตามเส้นทางที่กำหนด ต้องขึ้นไปทางบันได 108 ขั้น ทางขึ้นภูเขาเหลียงซาน ได้ครึ่งทางเบี่ยงทางขวามือจะผ่านห้องส้วมสหาย จนถึงยอดเขาเหลียงซาน จะพบหลุมระเบิดขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีห้องประชุมใหญ่ ห้องพยาบาล สนามบาส บ้านท่านผู้นำ และห้องวิวาห์ห้าดาว ซึ่งทางการท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่ ได้มีการจัดกิจกรรมเติมรัก...เขาน้ำค้าง วิวาห์แบบโจรจีนคอมมิวนิสต์ ในวันวาเลนไทน์เป็นประจำทุกปี
เดินต่อไปลงไปในอุโมงค์ เป็นห้องผ่าตัด ถัดจากห้องผ่าตัดเป็นห้องครัวสำรอง หรือห้องครัวฉุกเฉิน ถัดไปอีกแยกเป็นห้องเก็บเสบียง ถัดมาเป็นห้องธุรการ สนามยิงปืน หรือที่ซ้อมยิงปืน ห้องโทรเลข ห้องประชุม จากห้องประชุม ขึ้นบันไดไปอีก 1 ชั้น เป็นห้องผู้นำ ซึ่งภายในห้องผู้นำจะมีเตียงนอน โต๊ะทำงาน ห้องส้วม ลงมาจากห้องผู้นำตรงบริเวณห้องประชุม จะมีบันไดเดินลงไป 54 ขั้น ก็จะออกสู่นอกอุโมงค์ ทั้งนี้ ทุกชั้นจะมีทางออกทั้งหมด 16 ช่องทาง
หลังจากได้เข้าไปสำรวจเส้นทางภายในอุโมงค์ประวัติศาสตร์เรียบร้อยแล้ว ก็มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณลุงเหลนเฉิน แซ่ตั้ง หรือ สหายเหลนเฉิน อายุ 85 ปี หนึ่งในผู้ร่วมประวัติศาสตร์ของโจรจีนคอมมิวนิสต์ เล่าให้ฟังสั้นๆ ว่า (เนื่องจากสหายเหลนเฉินพูดภาษาไทยได้ไม่ชัดเจนนัก ผู้เขียนจึงนำมาถ่ายทอดเท่าที่พอจับใจความได้) ตนหนีเข้าไปอยู่ในป่าตั้งแต่อายุ 20 ปี โดยเริ่มไปอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้ง 2 ประเทศญี่ปุ่นมารุกล้ำประเทศมาเลเซีย และมีสงครามเกิดขึ้นระหว่าง 3 ประเทศคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ และญี่ปุ่น ขณะที่อยู่ประเทศมาเลเซียต้องต่อสู้กับประเทศอังกฤษร่วม 10 ปี จนมีการถอยร่นมาเรื่อยๆ
และในขณะนั้นมีการประกาศภาวะฉุกเฉินและการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา จึงมีการตอบโต้ด้วยการขยายการเคลื่อนไหวที่ใช้กำลังและวิธีการที่รุนแรง พร้อมกับการจัดแบ่งกองกำลังและเขตความรับผิดชอบเพื่อปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆ ออกเป็น 12 กรม ซึ่งตนอยู่ในกรมที่ 8 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่รัฐเกดะห์ มีการปราบปรามที่หนักขึ้น และพรรคคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายเสียเปรียบ จนต้องถอยร่นและหลบหนีเข้ามาในประเทศไทย กองกำลังติดอาวุธจาก 12 กรม ก็ยุบเหลือแค่ 3 กรม คือ กรมที่ 8 กรมที่ 1 และกรมที่ 12 และกรมที่ 8 ซึ่งตนสังกัดอยู่ เคลื่อนไหวในพื้นที่พรมแดนไทย - มาเลเซีย บริเวณอำเภอนาทวี อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ทั้งนี้สหายเหลนเฉิน ยังบอกอีกว่าปัจจุบันยังมีเหล่าสหายที่มีชีวิตอยู่ อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านปิยะมิตร 5 อีกร่วม 100 คน และที่หมู่บ้านปิยะมิตร 1-4 ซึ่งอยู่ที่ อ.เบตง ส่วนที่จังหวัดยะลา ก็มีหมู่บ้านจุฬาภรณ์อีกหลายหมู่บ้าน
หากสนใจจะมาย้อนรอยประวัติศาสตร์ที่อุโมงค์เขาน้ำค้างแห่งนี้ ก็เดินทางไม่ยาก อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างสำนักงานป่าไม้จังหวัดสงขลา การเดินทางด้วยรถยนต์ สามารถเข้าถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างได้ 2 เส้นทาง จากอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4113 (นาทวี-บ้านประกอบ) ถึงบ้านสะท้อนจะมีทางแยกขวาตามเส้นทางบ้านสะท้อน-สะเดา ไปอีก 19 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทาง 27 กิโลเมตร
จากอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4243 ผ่านบ้านม่วง ตำบลสำนักแต้ว บ้านเกาะหมี ถึงอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 27 กิโลเมตร เส้นทางด้านนี้ ต้องขึ้นเขาบางช่วง เส้นทางคดเคี้ยวแต่ก็สวยงามด้วยความเป็นธรรมชาติของสองข้างทาง ส่วนเวลาเข้าชมอุโมงค์ประวัติศาสตร์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น.
เขาน้ำค้างเป็นยอดเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี สมัยโบราณคนที่เคยขึ้นไปบนยอดเขาจะเห็นมีน้ำค้างเป็นเกล็ดอยู่ตามยอดหญ้า ลักษณะเป็นใยแมงมุมแม้แต่ตอนเที่ยงวันก็มีน้ำค้างประปรายอยู่บนยอดหญ้าซึ่งเป็นสภาพที่แปลกเป็นอย่างยิ่ง จึงเรียกขานกันว่า “เขาน้ำค้าง” เขาน้ำค้าง เป็นเสมือนเขตหวงห้ามเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอยู่ในความยึดครองของ ผู้ก่อการร้ายโจรจีนคอมมิวนิสต์ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่ภูมิประเทศเป็นถิ่นทุรกันดาร เทือกเขาสลับซับซ้อน ทำให้เป็นฐานปฏิบัติการใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของแถบนี้ แต่ในที่สุด จากการปฏิบัติการตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น โดยนำนโยบายการเมืองนำการทหาร กองทัพภาคที่ 4 และหน่วยผสมพลเรือนตำรวจทหารที่ 43 (พตท.43) ได้นำนโยบายนี้เข้าปฏิบัติการ สามารถเข้ายึดค่ายปฏิบัติการได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2523 ทำให้โจรจีนคอมมิวนิสต์สลายตัวไปในที่สุด
จึงเกิดเรื่องราวประวัติศาสตร์ขึ้นมากมายที่อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง “อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง” ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเขาน้ำค้าง หมู่ที่ 1 ต.คลองกวาง อ.นาทวี จ.สงขลา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กม. สถานที่แห่งนี้รู้จักกันในนามหมู่บ้านปิยมิตร 5 ในอดีตเป็นหมู่บ้านของบรรดาผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ หลังจากการสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลเกือบ 40 ปี พรรคคอมมิวนิสต์ได้ประกาศยุติการสู้รบ เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อปี 2530 สถานที่น่าสนใจ คือ อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ และยาวที่สุดในประเทศไทย ขุดด้วยกำลังคน 200 คนต่อวัน ใช้เวลาประมาณ 2 ปี เมื่อปี พ.ศ.2515 เป็นที่หลบภัย แหล่งอาวุธ ฐานบัญชาการ สถานพยาบาล โรงเรียนสอนการเมือง ลัทธิมาร์คซ์-เลนิน สายรัฐเซีย หรือความคิดประธานเหมา เจ๋อ ตง ภายในแบ่งเป็น 3 ชั้น มีทางเข้าออก 16 ช่องทาง ความยาวคดเคี้ยวขึ้นลงในภายในอุโมงค์ประมาณ 1,000 เมตร สามารถบรรจุคนได้ประมาณ 200 คน
ก่อนจะเข้าไปชมภายในอุโมงค์ ต้องช่วยสนับสนุนค่าบำรุงดูแลสถานที่ โดยนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทย คนละ 30 บาท เด็ก 20 บาท ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คนละ 120 บาท ถึงแม้จะเป็นตัวเลขที่ต่างกันหลายเท่า แต่ผู้ดูแลเขาต้องมีค่าใช่จ่ายในการปรับปรุงดูแลสถานที่ก็ไม่ว่ากัน เอาเป็นว่าห้องน้ำสะอาดเรียบร้อยดีก็น่าจะเพียงพอ (แต่ต้องจ่ายหน้าห้องน้ำอีก 3 บาท)
ก่อนจะเข้าไปในอุโมงค์ ด่านแรกจะเป็นในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการ เรื่องราวประวัติศาสตร์ รูปถ่ายของผู้บัญชาการสูงสุด (สั่งสังหาร) และเหล่าสหายโจรจีนคอมมิวนิสต์ อาวุธจำลอง และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ยังคงเหลืออยู่ ของโจรจีนคอมมิวนิสต์ หรือคอมมิวนิสต์มลายา
ถัดออกมาข้างนอกอาคารนิทรรศการ ด้านซ้ายมือ จะเป็นพิพิธภัณฑ์สงครามประวัติศาสตร์อดีตสหาย พ.ค.ม.ผู้ล่วงลับ
เดินต่อไปผ่านบ่อเลี้ยงปลาจะผ่านปากทางอุโมงค์ แต่การเข้าชมภายในอุโมงค์ตามเส้นทางที่กำหนด ต้องขึ้นไปทางบันได 108 ขั้น ทางขึ้นภูเขาเหลียงซาน ได้ครึ่งทางเบี่ยงทางขวามือจะผ่านห้องส้วมสหาย จนถึงยอดเขาเหลียงซาน จะพบหลุมระเบิดขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีห้องประชุมใหญ่ ห้องพยาบาล สนามบาส บ้านท่านผู้นำ และห้องวิวาห์ห้าดาว ซึ่งทางการท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่ ได้มีการจัดกิจกรรมเติมรัก...เขาน้ำค้าง วิวาห์แบบโจรจีนคอมมิวนิสต์ ในวันวาเลนไทน์เป็นประจำทุกปี
เดินต่อไปลงไปในอุโมงค์ เป็นห้องผ่าตัด ถัดจากห้องผ่าตัดเป็นห้องครัวสำรอง หรือห้องครัวฉุกเฉิน ถัดไปอีกแยกเป็นห้องเก็บเสบียง ถัดมาเป็นห้องธุรการ สนามยิงปืน หรือที่ซ้อมยิงปืน ห้องโทรเลข ห้องประชุม จากห้องประชุม ขึ้นบันไดไปอีก 1 ชั้น เป็นห้องผู้นำ ซึ่งภายในห้องผู้นำจะมีเตียงนอน โต๊ะทำงาน ห้องส้วม ลงมาจากห้องผู้นำตรงบริเวณห้องประชุม จะมีบันไดเดินลงไป 54 ขั้น ก็จะออกสู่นอกอุโมงค์ ทั้งนี้ ทุกชั้นจะมีทางออกทั้งหมด 16 ช่องทาง
หลังจากได้เข้าไปสำรวจเส้นทางภายในอุโมงค์ประวัติศาสตร์เรียบร้อยแล้ว ก็มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณลุงเหลนเฉิน แซ่ตั้ง หรือ สหายเหลนเฉิน อายุ 85 ปี หนึ่งในผู้ร่วมประวัติศาสตร์ของโจรจีนคอมมิวนิสต์ เล่าให้ฟังสั้นๆ ว่า (เนื่องจากสหายเหลนเฉินพูดภาษาไทยได้ไม่ชัดเจนนัก ผู้เขียนจึงนำมาถ่ายทอดเท่าที่พอจับใจความได้) ตนหนีเข้าไปอยู่ในป่าตั้งแต่อายุ 20 ปี โดยเริ่มไปอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้ง 2 ประเทศญี่ปุ่นมารุกล้ำประเทศมาเลเซีย และมีสงครามเกิดขึ้นระหว่าง 3 ประเทศคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ และญี่ปุ่น ขณะที่อยู่ประเทศมาเลเซียต้องต่อสู้กับประเทศอังกฤษร่วม 10 ปี จนมีการถอยร่นมาเรื่อยๆ
และในขณะนั้นมีการประกาศภาวะฉุกเฉินและการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา จึงมีการตอบโต้ด้วยการขยายการเคลื่อนไหวที่ใช้กำลังและวิธีการที่รุนแรง พร้อมกับการจัดแบ่งกองกำลังและเขตความรับผิดชอบเพื่อปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆ ออกเป็น 12 กรม ซึ่งตนอยู่ในกรมที่ 8 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่รัฐเกดะห์ มีการปราบปรามที่หนักขึ้น และพรรคคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายเสียเปรียบ จนต้องถอยร่นและหลบหนีเข้ามาในประเทศไทย กองกำลังติดอาวุธจาก 12 กรม ก็ยุบเหลือแค่ 3 กรม คือ กรมที่ 8 กรมที่ 1 และกรมที่ 12 และกรมที่ 8 ซึ่งตนสังกัดอยู่ เคลื่อนไหวในพื้นที่พรมแดนไทย - มาเลเซีย บริเวณอำเภอนาทวี อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ทั้งนี้สหายเหลนเฉิน ยังบอกอีกว่าปัจจุบันยังมีเหล่าสหายที่มีชีวิตอยู่ อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านปิยะมิตร 5 อีกร่วม 100 คน และที่หมู่บ้านปิยะมิตร 1-4 ซึ่งอยู่ที่ อ.เบตง ส่วนที่จังหวัดยะลา ก็มีหมู่บ้านจุฬาภรณ์อีกหลายหมู่บ้าน
หากสนใจจะมาย้อนรอยประวัติศาสตร์ที่อุโมงค์เขาน้ำค้างแห่งนี้ ก็เดินทางไม่ยาก อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างสำนักงานป่าไม้จังหวัดสงขลา การเดินทางด้วยรถยนต์ สามารถเข้าถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างได้ 2 เส้นทาง จากอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4113 (นาทวี-บ้านประกอบ) ถึงบ้านสะท้อนจะมีทางแยกขวาตามเส้นทางบ้านสะท้อน-สะเดา ไปอีก 19 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทาง 27 กิโลเมตร
จากอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4243 ผ่านบ้านม่วง ตำบลสำนักแต้ว บ้านเกาะหมี ถึงอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 27 กิโลเมตร เส้นทางด้านนี้ ต้องขึ้นเขาบางช่วง เส้นทางคดเคี้ยวแต่ก็สวยงามด้วยความเป็นธรรมชาติของสองข้างทาง ส่วนเวลาเข้าชมอุโมงค์ประวัติศาสตร์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น.