ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - คณะกรรมการยุติธรรม สิทธิมนุษยชน เชิญ กอ.รมน.-ศตช.แจงเรื่องการขึ้นบัญชีดำในจังหวัดชายแดนใต้ หลังมีการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม และข้าราชการบางคนใช้เป็นเงื่อนไขในการหาผลประโยชน์
วันนี้ (17 พ.ค.) ที่ห้องประชุมต้นปาล์ม โรงแรมหาดใหญ่พาราไดซ์ แอนด์รีสอร์ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา คณะกรรมการยุติธรรม สิทธิมนุษยชน สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ประธานคณะกรรมการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ได้เชิญตัวแทนจาก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และตัวแทนจากศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศตช.) ชี้แจงเรื่องการขึ้นบัญชีดำของผู้ต้องสงสัยในการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งมีการร้องเรียน และร้องขอความเป็นธรรมจากกลุ่มคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าไม่เป็นธรรม เพราะบัญชีรายชื่อระหว่างตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง ไม่ตรงกัน รวมทั้งมีข้าราชการบางหน่วย บางคน ใช้การขึ้นทะเบียนบัญชีดำในการแสวงหาผลประโยชน์
ทั้งนี้ ตัวแทน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และตัวแทนจาก ศชต. ได้แจ้งให้ทราบว่า ในอดีตมีความสับสนในเรื่องการขึ้นทะเบียนบุคคลต้องสงสัยจริง แต่ในปัจจุบัน การขึ้นบัญชีบุคคลต้องสงสัย หรือที่เรียกว่าบัญชีดำ มีการตรวจสอบจาก 3 ฝ่าย คือ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง
การทำบัญชีบุคคลต้องสงสัยมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ เป็นไปตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเป็นไปตามความผิด ป.วิอาญา และมีการแจ้งให้ผู้ที่มีคดีติดตัวได้ทราบ เพื่อที่จะได้รับทราบข้อกล่าวหา และแก้ข้อกล่าวหา โดยมีการใช้ พ.ร.ก.ความมั่นคง หรือ ม.21 ในการนำคนผิดกลับบ้าน ซึ่งการใช้ ม.21 ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ทำความผิด และรัฐต้องมีการเยียวยาผู้ที่ถูกกระทำ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และสุดท้าย หากศาลไม่เห็นชอบก็ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการตาม ม. 21 ได้ ต้องเป็นไปตามกระบวนการพิจารณาตาม ป.วิอาญา
วันนี้ (17 พ.ค.) ที่ห้องประชุมต้นปาล์ม โรงแรมหาดใหญ่พาราไดซ์ แอนด์รีสอร์ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา คณะกรรมการยุติธรรม สิทธิมนุษยชน สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ประธานคณะกรรมการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ได้เชิญตัวแทนจาก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และตัวแทนจากศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศตช.) ชี้แจงเรื่องการขึ้นบัญชีดำของผู้ต้องสงสัยในการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งมีการร้องเรียน และร้องขอความเป็นธรรมจากกลุ่มคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าไม่เป็นธรรม เพราะบัญชีรายชื่อระหว่างตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง ไม่ตรงกัน รวมทั้งมีข้าราชการบางหน่วย บางคน ใช้การขึ้นทะเบียนบัญชีดำในการแสวงหาผลประโยชน์
ทั้งนี้ ตัวแทน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และตัวแทนจาก ศชต. ได้แจ้งให้ทราบว่า ในอดีตมีความสับสนในเรื่องการขึ้นทะเบียนบุคคลต้องสงสัยจริง แต่ในปัจจุบัน การขึ้นบัญชีบุคคลต้องสงสัย หรือที่เรียกว่าบัญชีดำ มีการตรวจสอบจาก 3 ฝ่าย คือ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง
การทำบัญชีบุคคลต้องสงสัยมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ เป็นไปตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเป็นไปตามความผิด ป.วิอาญา และมีการแจ้งให้ผู้ที่มีคดีติดตัวได้ทราบ เพื่อที่จะได้รับทราบข้อกล่าวหา และแก้ข้อกล่าวหา โดยมีการใช้ พ.ร.ก.ความมั่นคง หรือ ม.21 ในการนำคนผิดกลับบ้าน ซึ่งการใช้ ม.21 ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ทำความผิด และรัฐต้องมีการเยียวยาผู้ที่ถูกกระทำ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และสุดท้าย หากศาลไม่เห็นชอบก็ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการตาม ม. 21 ได้ ต้องเป็นไปตามกระบวนการพิจารณาตาม ป.วิอาญา