สุราษฎร์ธานี - มรส.สุราษฎร์ฯ ไม่สนประกาศกระทรวงศึกษา สั่งทุกสถาบันงดจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ ปี 2555 เดินหน้าจัดภายใต้สโลแกน “รับน้องด้วยใจและใจ” พร้อมกำหนดบัญญัติ 4 ประการ ลบเลือนความรู้สึกแปลกแยก ช่วยละลายความแตกต่าง และช่วยสมานความไม่เข้าใจ ทำให้นักศึกษาเกิดความกลมกลืนและเกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
รายงานข่าวแจ้งว่า ตามที่นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ออกมาประกาศห้ามสถาบันการศึกษาทั่วประเทศจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ ในปีการศึกษา 2555 นี้ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์รุนแรง เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) กล่าวว่า ตนเห็นต่างจากกระทรวงศึกษาธิการ เพราะเชื่อว่ากิจกรรมรับน้องเป็นประเพณีที่ดี เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทยที่ว่า ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ และต้องต้อนรับให้ดี ให้งดงาม ให้ประทับใจ
ส่วนคนที่มาทีหลังก็อยากให้เจ้าของบ้าน หรือคนที่อยู่เดิมต้อนรับด้วยความรัก ด้วยหัวใจ ด้วยไมตรีจิต การยกเลิกประเพณีรับน้องจึงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่โจทย์ โจทย์ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถเปลี่ยนทัศนคติที่ว่า “การรับน้องเป็นพิธีกรรมที่ต้องชดใช้และเอาคืนกันรุ่นต่อรุ่น” ให้ได้ ดังนั้น ในปีนี้ มรส.จึงยังคงจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ตามปกติเหมือนเช่นทุกปี
“โดยปีนี้ มรส.จะจัดรับน้องภายใต้สโลแกน “รับน้องด้วยใจและใจ” กล่าวคือ เป็นการรับน้องที่ปลูกฝังให้รุ่นน้องทำในสิ่งที่ดี สิ่งที่งดงาม สะท้อนถึงความรักความผูกพัน ความห่วงหาอาทรระหว่างรุ่นพี่-รุ่นน้อง เป็นการรับน้องที่ไม่ทำให้ความเป็นมนุษย์ของรุ่นน้องหดหายไป และเป็นการรับน้องอย่างมนุษย์ที่มีการศึกษา มีวัฒนธรรม โดยอยู่ภายใต้กรอบ 4 ประการ
คือ 1.ต้องสะท้อนถึงวัฒนธรรมไทย ในฐานะคนอยู่ก่อนให้การต้อนรับผู้มาใหม่ด้วยน้ำใจไมตรี ด้วยธรรมเนียมอันงดงามของไทย 2.ต้องสะท้อนซึ่งความรักและเอื้ออาทรที่พี่พึงมีต่อน้อง 3.เคารพซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะไม่ว่ารุ่นพี่หรือรุ่นน้องต่างก็มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ดังนั้น กิจกรรมรับน้องที่จัดขึ้นต้องไม่กดขี่ข่มเหงความเป็นมนุษย์ ต้องปฏิบัติต่อกันเฉกเช่นมนุษย์พึงปฏิบัติต่อมนุษย์ที่มีใจสูงด้วยกัน และ 4.รุ่นพี่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่รุ่นน้อง ทั้งบุคลิกภาพการวางตัว การแต่งกาย การเล่าเรียน คุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ” ผศ.ดร.ณรงค์ กล่าวและว่า
หากรุ่นน้องเห็นว่ากิจกรรมรับน้องที่รุ่นพี่จัดให้สวนทางกับกรอบ 4 ประการข้างต้น มหาวิทยาลัยจะให้สิทธิ์รุ่นน้องอย่างเต็มที่ที่จะปฏิเสธการรับน้องดังกล่าว มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่สอนให้รุ่นน้องศิโรราบแก่รุ่นพี่โดยไม่มีเหตุไม่มีผล เรามีระบบอาวุโสก็จริง แต่ระบบต้องดำเนินไปอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายให้จัดกิจกรรมรับน้องนอกมหาวิทยาลัย ที่ซึ่งตาของมหาวิทยาลัยมองไปไม่ถึง กระบวนการรับน้องทั้งหมดจะต้องอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัย อาจารย์ และอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีลักษณะเด่นอย่างหนึ่ง คือ เรามีนักศึกษาต่างศาสนา ต่างที่มา และต่างภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก แต่ทุกคนสามารถหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้ และสิ่งหนึ่งที่ผมมั่นใจคือ การรับน้องจะช่วยลบเลือนความรู้สึกแปลกแยก ช่วยละลายความแตกต่าง และช่วยสมานความไม่เข้าใจ ทำให้นักศึกษาเกิดความกลมกลืนและเกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
รายงานข่าวแจ้งว่า ตามที่นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ออกมาประกาศห้ามสถาบันการศึกษาทั่วประเทศจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ ในปีการศึกษา 2555 นี้ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์รุนแรง เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) กล่าวว่า ตนเห็นต่างจากกระทรวงศึกษาธิการ เพราะเชื่อว่ากิจกรรมรับน้องเป็นประเพณีที่ดี เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทยที่ว่า ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ และต้องต้อนรับให้ดี ให้งดงาม ให้ประทับใจ
ส่วนคนที่มาทีหลังก็อยากให้เจ้าของบ้าน หรือคนที่อยู่เดิมต้อนรับด้วยความรัก ด้วยหัวใจ ด้วยไมตรีจิต การยกเลิกประเพณีรับน้องจึงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่โจทย์ โจทย์ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถเปลี่ยนทัศนคติที่ว่า “การรับน้องเป็นพิธีกรรมที่ต้องชดใช้และเอาคืนกันรุ่นต่อรุ่น” ให้ได้ ดังนั้น ในปีนี้ มรส.จึงยังคงจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ตามปกติเหมือนเช่นทุกปี
“โดยปีนี้ มรส.จะจัดรับน้องภายใต้สโลแกน “รับน้องด้วยใจและใจ” กล่าวคือ เป็นการรับน้องที่ปลูกฝังให้รุ่นน้องทำในสิ่งที่ดี สิ่งที่งดงาม สะท้อนถึงความรักความผูกพัน ความห่วงหาอาทรระหว่างรุ่นพี่-รุ่นน้อง เป็นการรับน้องที่ไม่ทำให้ความเป็นมนุษย์ของรุ่นน้องหดหายไป และเป็นการรับน้องอย่างมนุษย์ที่มีการศึกษา มีวัฒนธรรม โดยอยู่ภายใต้กรอบ 4 ประการ
คือ 1.ต้องสะท้อนถึงวัฒนธรรมไทย ในฐานะคนอยู่ก่อนให้การต้อนรับผู้มาใหม่ด้วยน้ำใจไมตรี ด้วยธรรมเนียมอันงดงามของไทย 2.ต้องสะท้อนซึ่งความรักและเอื้ออาทรที่พี่พึงมีต่อน้อง 3.เคารพซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะไม่ว่ารุ่นพี่หรือรุ่นน้องต่างก็มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ดังนั้น กิจกรรมรับน้องที่จัดขึ้นต้องไม่กดขี่ข่มเหงความเป็นมนุษย์ ต้องปฏิบัติต่อกันเฉกเช่นมนุษย์พึงปฏิบัติต่อมนุษย์ที่มีใจสูงด้วยกัน และ 4.รุ่นพี่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่รุ่นน้อง ทั้งบุคลิกภาพการวางตัว การแต่งกาย การเล่าเรียน คุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ” ผศ.ดร.ณรงค์ กล่าวและว่า
หากรุ่นน้องเห็นว่ากิจกรรมรับน้องที่รุ่นพี่จัดให้สวนทางกับกรอบ 4 ประการข้างต้น มหาวิทยาลัยจะให้สิทธิ์รุ่นน้องอย่างเต็มที่ที่จะปฏิเสธการรับน้องดังกล่าว มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่สอนให้รุ่นน้องศิโรราบแก่รุ่นพี่โดยไม่มีเหตุไม่มีผล เรามีระบบอาวุโสก็จริง แต่ระบบต้องดำเนินไปอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายให้จัดกิจกรรมรับน้องนอกมหาวิทยาลัย ที่ซึ่งตาของมหาวิทยาลัยมองไปไม่ถึง กระบวนการรับน้องทั้งหมดจะต้องอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัย อาจารย์ และอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีลักษณะเด่นอย่างหนึ่ง คือ เรามีนักศึกษาต่างศาสนา ต่างที่มา และต่างภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก แต่ทุกคนสามารถหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้ และสิ่งหนึ่งที่ผมมั่นใจคือ การรับน้องจะช่วยลบเลือนความรู้สึกแปลกแยก ช่วยละลายความแตกต่าง และช่วยสมานความไม่เข้าใจ ทำให้นักศึกษาเกิดความกลมกลืนและเกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน