“สุชาติ” สั่งผุด “โครงการปฏิบัติธรรมค้ำจุนการศึกษา ต้านคอร์รัปชัน แก้ปัญหายาเสพติด” ให้อุดมศึกษา-อาชีวะ-เอกชน จัดส่ง นศ.เข้าสถานปฏิบัติธรรมขัดเกลานิสัย พร้อมลงนามประกาศ ศธ.เรื่องกิจกรรมรับน้องใหม่ และประชุมเชียร์ สั่งห้ามรับน้องนอกสถานที่ หากฝ่าฝืนจนเกิดเหตุผู้บริหารต้องรับผิดชอบ
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ใกล้ช่วงเวลาเปิดภาคเรียน ซึ่งที่ผ่านมามักปรากฏเหตุการณ์การรับน้องใหม่ที่รุนแรง หรือการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักศึกษา ดังนั้น ตนจึงขอร้องให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้กำชับไปยังผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ และการประชุมเชียร์ เพราะกิจกรรมดังกล่าวเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของนิสิตนักศึกษารุ่นพี่รุ่นน้อง ให้มีความสามัคคี มีระเบียบ และความภาคภูมิใจในสถาบัน ซึ่งเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน จึงไม่ต้องการให้เหตุการณ์ความรุนแรงที่กระทำจากบุคคลเพียงไม่กี่คนมาส่งผลให้กระทบต่อการจัดกิจกรรมที่ดีในภาพรวมไปด้วย
โดยวันนี้ (10 พ.ค.) ตนได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่อง การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ และประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา โดยกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้ นโยบาย ได้แก่ 1.การจัดกิจกรรมรับน้องใหม่และการประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา ควรเคารพสิทธิเสรีภาพและหลักความเสมอภาค โดยต้องไม่มีความรุนแรง และห้ามล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ดื่มสุรา และเสพสิ่งมึนเมาทุกชนิด และไม่กระทบกับการเรียนการสอน 2.การจัดกิจกรรม ควรอยู่ในความรับผิดชอบดูแลร่วมกันของผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรทุกคณะ/ภาควิชา รวมทั้งรุ่นพี่ ที่จะต้องให้คำแนะนำกำกับดูแล ปรึกษาการจัดกิจกรรมให้มีลักษณะสร้างสรรค์ ไม่ขัดต่อระเบียบสถาบัน กฎหมาย วัฒนธรรม ประเพณี และมารยาททางสังคมที่ดีงาม และ 3.การจัดกิจกรรม ให้จัดกิจกรรมภายในสถาบันอุดมศึกษา ไม่ควรจัดนอกสถานที่ เพื่อความปลอดภัยและประหยัดโดยการอนุญาตจัดกิจรรมให้อยู่ในดุลพินิจของแต่ละสถาบัน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการ มี 8 ข้อ ได้แก่ 1.ให้สถาบันอุดมศึกษาออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์และมาตรการ ในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบาย ศธ.โดยกำหนดการพิจารณาอนุญาต การรับผิดชอบ การกำกับ ระยะเวลาการจัดกิจกรรม รูปแบบ แนวทางกิจกรรม ตามความเหมาะสมและลักษณะเฉพาะของแต่ละสถาบัน 2.องค์กรนิสิตนักศึกษา ต้องเสนอขออนุมัติโครงการจัดกิจกรรมเป็นลายลักษณ์อักษร และจะจัดกิจกรรมได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติแล้วเท่านั้น 3.ให้สถาบันอุดมศึกษารณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้สังคมเข้าใจ รูปแบบกิจกรรม นโยบาย และมาตรการ มีทัศนคติที่ดีต่อการรับน้อง และร่วมตรวจสอบการจัดกิจกรรมได้ 4.ให้นิสิตนักศึกษาใหม่ เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามาสังเกตการณ์จัดกิจกรรมได้ 5.สถาบันอุดมศึกษาให้จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวัง มีเว็บไซต์เพื่อติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหา ประสานกับสื่อมวลชนส่วนวิทยาเขต/คณะต่างๆ ควรจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลและให้การช่วยเหลือ (Call Center) หรือบริการสายด่วน (Hotline) 6.ให้สถาบันอุดมศึกษาประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรม และควรมีการยกย่องชมเชยผู้ที่จัดกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ 7.ให้สถาบันอุดมศึกษามีบทลงโทษทางวินัย กับนิสิต นักศึกษา และผู้เกี่ยวข้องที่จัดกิจกรรมที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ความเสมอภาค และกฎระเบียบข้อบังคับของสถาบัน และ 8.ให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการนี้
“นอกจากนี้ ให้สถานศึกษานำนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมอบรมธรรมะในวัดสระเกศ วัดพระธรรมกาย หรือสถานปฏิบัติธรรม เพื่อขัดเกลาจิตใจ ปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และความสำนึกดีแก่นักเรียน ผ่าน “โครงการปฏิบัติธรรมค้ำจุนการศึกษา ต้านคอร์รัปชัน แก้ปัญหายาเสพติด” ซึ่งผมเชื่อว่าการปลูกฝังเรื่องธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่ดี อีกทั้งในหลักสูตรการเรียนการสอนก็กำหนดไว้ให้เรียนอยู่แล้ว ที่สำคัญ เรื่องเหล่านี้เราต้องเรียนรู้ไว้ตลอดชีวิต” รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม หากมีสถาบันใดมีนักศึกษาแอบไปจัดกิจกรรมรับน้องนอกสถานที่ และเกิดเหตุรุนแรงขึ้น ผู้บริหารสถาบันจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายด้วย
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ใกล้ช่วงเวลาเปิดภาคเรียน ซึ่งที่ผ่านมามักปรากฏเหตุการณ์การรับน้องใหม่ที่รุนแรง หรือการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักศึกษา ดังนั้น ตนจึงขอร้องให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้กำชับไปยังผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ และการประชุมเชียร์ เพราะกิจกรรมดังกล่าวเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของนิสิตนักศึกษารุ่นพี่รุ่นน้อง ให้มีความสามัคคี มีระเบียบ และความภาคภูมิใจในสถาบัน ซึ่งเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน จึงไม่ต้องการให้เหตุการณ์ความรุนแรงที่กระทำจากบุคคลเพียงไม่กี่คนมาส่งผลให้กระทบต่อการจัดกิจกรรมที่ดีในภาพรวมไปด้วย
โดยวันนี้ (10 พ.ค.) ตนได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่อง การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ และประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา โดยกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้ นโยบาย ได้แก่ 1.การจัดกิจกรรมรับน้องใหม่และการประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา ควรเคารพสิทธิเสรีภาพและหลักความเสมอภาค โดยต้องไม่มีความรุนแรง และห้ามล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ดื่มสุรา และเสพสิ่งมึนเมาทุกชนิด และไม่กระทบกับการเรียนการสอน 2.การจัดกิจกรรม ควรอยู่ในความรับผิดชอบดูแลร่วมกันของผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรทุกคณะ/ภาควิชา รวมทั้งรุ่นพี่ ที่จะต้องให้คำแนะนำกำกับดูแล ปรึกษาการจัดกิจกรรมให้มีลักษณะสร้างสรรค์ ไม่ขัดต่อระเบียบสถาบัน กฎหมาย วัฒนธรรม ประเพณี และมารยาททางสังคมที่ดีงาม และ 3.การจัดกิจกรรม ให้จัดกิจกรรมภายในสถาบันอุดมศึกษา ไม่ควรจัดนอกสถานที่ เพื่อความปลอดภัยและประหยัดโดยการอนุญาตจัดกิจรรมให้อยู่ในดุลพินิจของแต่ละสถาบัน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการ มี 8 ข้อ ได้แก่ 1.ให้สถาบันอุดมศึกษาออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์และมาตรการ ในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบาย ศธ.โดยกำหนดการพิจารณาอนุญาต การรับผิดชอบ การกำกับ ระยะเวลาการจัดกิจกรรม รูปแบบ แนวทางกิจกรรม ตามความเหมาะสมและลักษณะเฉพาะของแต่ละสถาบัน 2.องค์กรนิสิตนักศึกษา ต้องเสนอขออนุมัติโครงการจัดกิจกรรมเป็นลายลักษณ์อักษร และจะจัดกิจกรรมได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติแล้วเท่านั้น 3.ให้สถาบันอุดมศึกษารณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้สังคมเข้าใจ รูปแบบกิจกรรม นโยบาย และมาตรการ มีทัศนคติที่ดีต่อการรับน้อง และร่วมตรวจสอบการจัดกิจกรรมได้ 4.ให้นิสิตนักศึกษาใหม่ เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามาสังเกตการณ์จัดกิจกรรมได้ 5.สถาบันอุดมศึกษาให้จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวัง มีเว็บไซต์เพื่อติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหา ประสานกับสื่อมวลชนส่วนวิทยาเขต/คณะต่างๆ ควรจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลและให้การช่วยเหลือ (Call Center) หรือบริการสายด่วน (Hotline) 6.ให้สถาบันอุดมศึกษาประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรม และควรมีการยกย่องชมเชยผู้ที่จัดกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ 7.ให้สถาบันอุดมศึกษามีบทลงโทษทางวินัย กับนิสิต นักศึกษา และผู้เกี่ยวข้องที่จัดกิจกรรมที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ความเสมอภาค และกฎระเบียบข้อบังคับของสถาบัน และ 8.ให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการนี้
“นอกจากนี้ ให้สถานศึกษานำนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมอบรมธรรมะในวัดสระเกศ วัดพระธรรมกาย หรือสถานปฏิบัติธรรม เพื่อขัดเกลาจิตใจ ปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และความสำนึกดีแก่นักเรียน ผ่าน “โครงการปฏิบัติธรรมค้ำจุนการศึกษา ต้านคอร์รัปชัน แก้ปัญหายาเสพติด” ซึ่งผมเชื่อว่าการปลูกฝังเรื่องธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่ดี อีกทั้งในหลักสูตรการเรียนการสอนก็กำหนดไว้ให้เรียนอยู่แล้ว ที่สำคัญ เรื่องเหล่านี้เราต้องเรียนรู้ไว้ตลอดชีวิต” รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม หากมีสถาบันใดมีนักศึกษาแอบไปจัดกิจกรรมรับน้องนอกสถานที่ และเกิดเหตุรุนแรงขึ้น ผู้บริหารสถาบันจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายด้วย