ชุมพร - กลุ่มอนุรักษ์ กว่า 1,000 คน ชุมนุมคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟถ่านหิน-นิวเคลียร์ ที่ อ.ปะทิว จ.ชุมพร
กลุ่มอนุรักษ์ เครือข่ายลุ่มน้ำโขง เครือข่ายบางสะพาน เครือข่ายบ้านกรูด เครือข่ายลุ่มน้ำท่าแซะ เครือข่ายรักษ์ละแม และกลุ่มปะทิวรักษ์ถิ่น จาก จ.ชุมพร จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.สุราษฎร์ธานี จ. นครศรีธรรมราช และตัวแทนจากกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำ 4 ภาค กว่า 1,000 คน ได้เดินทางมาชุมนุมบริเวณหน้าที่ว่าการ อ.ปะทิว จ.ชุมพร เมื่อวานนี้ เพื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และแผนพัฒนาภาคใต้
โดยมีมีนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และแกนนำ ผลัดเปลี่ยนขึ้นเวทีปราศรัย เช่น ผศ.ประสาท มีแต้ม อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.อาภา หวังเกียรติ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต นางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชนที่คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ด้วย
ผศ.ประสาท มีแต้ม กล่าวปราศรัยว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าที่สกปรกที่สุดในโลก ประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังจะเลิกใช้ เพราะไม่สามารถจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้น ไม่มีเหตุผลที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างจังหวัดชุมพร ซึ่งทางเลือกด้านพลังงานมีอีกมากมาย
ด้าน นางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด กล่าวว่า จ.ชุมพรและ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดพี่น้องกัน เพราะมีคู่ต่อสู้คนเดียวกัน คือ โรงไฟฟ้า ชาวบางสะพานได้ต่อสู้ประสบความสำเร็จมาแล้ว และพร้อมที่จะร่วมต่อสู้คัดค้านกับพี่น้องชาวชุมพรจนถึงที่สุด ภาคใต้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ จึงไม่มีความต้องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่
ขณะที่ นายสุพนัด ดวงกมล แกนนำกลุ่มปะทิวรักษ์ถิ่น ได้อ่านแถลงการณ์ สรุปว่า เครือข่าวขอประกาศจุดยืน ขอให้ยกเลิกแผนพัฒนาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด หยุดโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ภาคใต้จะกำหนดแผนพัฒนาเป็นของตนเอง โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทาง
นายสุพนัด ยังกล่าวว่า การเดินทางมาชุมนุมของกลุ่มอนุรักษ์ในครั้ง สืบเนื่องมากจากคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา นำโดย นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ประธานกรรมาธิการฯ ได้มีหนังสือแจ้งมายังผู้ประสานงานกลุ่มปะทิวรักษ์ถิ่น ว่า ในวันที่ 2 พ.ค.255 นี้ ทางคณะกรรมาธิการการพลังงานจะเดินทางมาศึกษาดูงาน และรับฟังความคิดเห็น เกี่ยวกับการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในพื้นที่ชุมพร ที่ห้องประชุม อำเภอปะทิว ต่อมา ทางอำเภอปะทิวแจ้งว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้เลื่อนการเดินทางไม่มีกำหนด แต่เช้าบ้านไม่ได้รับแจ้ง จึงจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เตรียมพร้อมไว้
อย่างไรก็ตาม เวลา 14.00 น. นายพินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้เดินทางมาประชุมร่วมกับแกนนำ และรับหนังสือแถลงการณ์ของกลุ่มผู้เข้าร่วมประท้วง เพื่อส่งต่อให้แก่คณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ต่อไป กลุ่มผู้ชุมนุมจึงแยกย้ายกลับ ในเวลา 15.00 น.
กลุ่มอนุรักษ์ เครือข่ายลุ่มน้ำโขง เครือข่ายบางสะพาน เครือข่ายบ้านกรูด เครือข่ายลุ่มน้ำท่าแซะ เครือข่ายรักษ์ละแม และกลุ่มปะทิวรักษ์ถิ่น จาก จ.ชุมพร จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.สุราษฎร์ธานี จ. นครศรีธรรมราช และตัวแทนจากกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำ 4 ภาค กว่า 1,000 คน ได้เดินทางมาชุมนุมบริเวณหน้าที่ว่าการ อ.ปะทิว จ.ชุมพร เมื่อวานนี้ เพื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และแผนพัฒนาภาคใต้
โดยมีมีนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และแกนนำ ผลัดเปลี่ยนขึ้นเวทีปราศรัย เช่น ผศ.ประสาท มีแต้ม อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.อาภา หวังเกียรติ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต นางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชนที่คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ด้วย
ผศ.ประสาท มีแต้ม กล่าวปราศรัยว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าที่สกปรกที่สุดในโลก ประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังจะเลิกใช้ เพราะไม่สามารถจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้น ไม่มีเหตุผลที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างจังหวัดชุมพร ซึ่งทางเลือกด้านพลังงานมีอีกมากมาย
ด้าน นางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด กล่าวว่า จ.ชุมพรและ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดพี่น้องกัน เพราะมีคู่ต่อสู้คนเดียวกัน คือ โรงไฟฟ้า ชาวบางสะพานได้ต่อสู้ประสบความสำเร็จมาแล้ว และพร้อมที่จะร่วมต่อสู้คัดค้านกับพี่น้องชาวชุมพรจนถึงที่สุด ภาคใต้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ จึงไม่มีความต้องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่
ขณะที่ นายสุพนัด ดวงกมล แกนนำกลุ่มปะทิวรักษ์ถิ่น ได้อ่านแถลงการณ์ สรุปว่า เครือข่าวขอประกาศจุดยืน ขอให้ยกเลิกแผนพัฒนาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด หยุดโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ภาคใต้จะกำหนดแผนพัฒนาเป็นของตนเอง โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทาง
นายสุพนัด ยังกล่าวว่า การเดินทางมาชุมนุมของกลุ่มอนุรักษ์ในครั้ง สืบเนื่องมากจากคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา นำโดย นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ประธานกรรมาธิการฯ ได้มีหนังสือแจ้งมายังผู้ประสานงานกลุ่มปะทิวรักษ์ถิ่น ว่า ในวันที่ 2 พ.ค.255 นี้ ทางคณะกรรมาธิการการพลังงานจะเดินทางมาศึกษาดูงาน และรับฟังความคิดเห็น เกี่ยวกับการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในพื้นที่ชุมพร ที่ห้องประชุม อำเภอปะทิว ต่อมา ทางอำเภอปะทิวแจ้งว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้เลื่อนการเดินทางไม่มีกำหนด แต่เช้าบ้านไม่ได้รับแจ้ง จึงจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เตรียมพร้อมไว้
อย่างไรก็ตาม เวลา 14.00 น. นายพินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้เดินทางมาประชุมร่วมกับแกนนำ และรับหนังสือแถลงการณ์ของกลุ่มผู้เข้าร่วมประท้วง เพื่อส่งต่อให้แก่คณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ต่อไป กลุ่มผู้ชุมนุมจึงแยกย้ายกลับ ในเวลา 15.00 น.