สุราษฎร์ธานี - จังหวัดสุราษฏร์ฯ จัดงานประเพณี “แห่ผ้าห่มพระธาตุศรีสุราษฎร์ แลธรรมชาติเขาท่าเพชร” เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันสักการะพระธาตุศรีสุราษฎร์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัด และเป็นการส่งเสริมประเพณีที่ดีงาม และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว
นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผวจ.สุราษฏร์ธานี เปิดเผยว่า จังหวัดสุราษฏร์ธานีได้จัดงานประเพณี “แห่ผ้าห่มพระธาตุศรีสุราษฎร์ แลธรรมชาติเขาท่าเพชร” ขึ้นในวันที่ 26-27 มีนาคม นี้ โดยกิจกรรมในงานวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา จัดให้มีพิธีสมโภชผ้าห่มพระธาตุ ในเวลา 08.00น. พิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง เวลา 09.00 น. พิธีบวงสรวงพระธาตุศรีสุราษฎร์ เวลา 19.00 น. พิธีสงฆ์ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม แสง สี เสียง ส่วนวันที่ 27 มี.ค. เวลา 14.00 น.พิธี อัญเชิญผ้าห่มขึ้นห่มพระธาตุศรีสุราษฎร์ โดยขบวนแห่ผ้าห่มพระธาตุจาก 19 อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน พร้อมกัน ณ บริเวณทางขึ้นเขาท่าเพชร เวลา 16.30 น. พิธีสงฆ์ และอัญเชิญผ้าห่มพระธาตุศรีสุราษฎร์
สำหรับการจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนชาวสุราษฎร์ธานีได้ร่วมกันสักการะพระธาตุศรีสุราษฎร์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นการส่งเสริมประเพณีที่ดีงามของพุทธศาสนิกชน และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ ยังเป็นการย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ การแห่ผ้าห่มพระธาตุยังเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เปรียบได้กับการถวายผ้าไตรแก่พระพุทธเจ้า
นายธีระยุทธ กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่ประชาชนร่วมประกอบพิธีแห่ผ้าห่มพระธาตุแล้ว ยังสามารถท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อีก โดยเฉพาะ “เขาท่าเพชร” ซึ่งเป็นภูเขาและผืนป่าเขียวเพียงแห่งเดียวในเขต อ.เมือง ที่ชาวสุราษฎร์ธานี และผู้สัญจรผ่านไปมาต่างคุ้นตากันดี ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวเมืองระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.2508 ใช้ชื่อว่าวนอุทยานเขาท่าเพชร ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาท่าเพชร”
สภาพเป็นป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ ร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่มากมาย บนยอดเขามีจุดชมทิวทัศน์รอบตัวเมืองสุราษฎร์ฯ ได้โดยรอบ ที่สำคัญเป็นที่ตั้งของพระธาตุศรีสุราษฎร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นับเป็นปูชนียสถานองค์แรกของชาวบ้านดอน มีลักษณะเป็นทรงสูงเรียว ลักษณะคล้ายลำเทียน ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยที่สวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ตั้งอยู่บนส่วนที่สูงที่สุดของเขาท่าเพชร ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เจดีย์พระธาตุมีลักษณะเป็นรูปเทียนทรงกลม ความสูง 12 เมตร 50 เซนติเมตร ถือเป็นพุทธบูชาที่ระลึกในวาระครบรอบกึ่งพุทธกาลของชาวจังหวัดสุราษฏร์ธานี ให้พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังได้สักการะสืบต่อไป
ที่สำคัญ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยือนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการนี้ ได้เสด็จไปยังวนอุทยานเขาท่าเพชร เพื่อทรงสักการะพระธาตุศรีสุราษฎร์ และทรงปลูกต้นพะยอมไว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในปี พ.ศ.2527 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เพื่อทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และทรงปลูกต้นเคี่ยม ต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีไว้เป็นที่ระลึก
“เขาท่าเพชร” จึงถือเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ ความเป็นสิริมงคล และทรงคุณค่ายิ่งสำหรับชาวสุราษฎร์ธานี และมีความเชื่อกันว่า หากใครได้มาสักการะพระธาตุศรีสุราษฎร์ และขอพรอันใดก็จะได้ตามประสงค์ สังเกตได้จากการที่มีผู้คนเดินแห่ผ้าขึ้นไปห่มพระธาตุตามที่ได้บนบานเอาไว้อยู่เสมอ
นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผวจ.สุราษฏร์ธานี เปิดเผยว่า จังหวัดสุราษฏร์ธานีได้จัดงานประเพณี “แห่ผ้าห่มพระธาตุศรีสุราษฎร์ แลธรรมชาติเขาท่าเพชร” ขึ้นในวันที่ 26-27 มีนาคม นี้ โดยกิจกรรมในงานวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา จัดให้มีพิธีสมโภชผ้าห่มพระธาตุ ในเวลา 08.00น. พิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง เวลา 09.00 น. พิธีบวงสรวงพระธาตุศรีสุราษฎร์ เวลา 19.00 น. พิธีสงฆ์ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม แสง สี เสียง ส่วนวันที่ 27 มี.ค. เวลา 14.00 น.พิธี อัญเชิญผ้าห่มขึ้นห่มพระธาตุศรีสุราษฎร์ โดยขบวนแห่ผ้าห่มพระธาตุจาก 19 อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน พร้อมกัน ณ บริเวณทางขึ้นเขาท่าเพชร เวลา 16.30 น. พิธีสงฆ์ และอัญเชิญผ้าห่มพระธาตุศรีสุราษฎร์
สำหรับการจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนชาวสุราษฎร์ธานีได้ร่วมกันสักการะพระธาตุศรีสุราษฎร์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นการส่งเสริมประเพณีที่ดีงามของพุทธศาสนิกชน และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ ยังเป็นการย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ การแห่ผ้าห่มพระธาตุยังเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เปรียบได้กับการถวายผ้าไตรแก่พระพุทธเจ้า
นายธีระยุทธ กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่ประชาชนร่วมประกอบพิธีแห่ผ้าห่มพระธาตุแล้ว ยังสามารถท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อีก โดยเฉพาะ “เขาท่าเพชร” ซึ่งเป็นภูเขาและผืนป่าเขียวเพียงแห่งเดียวในเขต อ.เมือง ที่ชาวสุราษฎร์ธานี และผู้สัญจรผ่านไปมาต่างคุ้นตากันดี ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวเมืองระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.2508 ใช้ชื่อว่าวนอุทยานเขาท่าเพชร ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาท่าเพชร”
สภาพเป็นป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ ร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่มากมาย บนยอดเขามีจุดชมทิวทัศน์รอบตัวเมืองสุราษฎร์ฯ ได้โดยรอบ ที่สำคัญเป็นที่ตั้งของพระธาตุศรีสุราษฎร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นับเป็นปูชนียสถานองค์แรกของชาวบ้านดอน มีลักษณะเป็นทรงสูงเรียว ลักษณะคล้ายลำเทียน ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยที่สวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ตั้งอยู่บนส่วนที่สูงที่สุดของเขาท่าเพชร ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เจดีย์พระธาตุมีลักษณะเป็นรูปเทียนทรงกลม ความสูง 12 เมตร 50 เซนติเมตร ถือเป็นพุทธบูชาที่ระลึกในวาระครบรอบกึ่งพุทธกาลของชาวจังหวัดสุราษฏร์ธานี ให้พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังได้สักการะสืบต่อไป
ที่สำคัญ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยือนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการนี้ ได้เสด็จไปยังวนอุทยานเขาท่าเพชร เพื่อทรงสักการะพระธาตุศรีสุราษฎร์ และทรงปลูกต้นพะยอมไว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในปี พ.ศ.2527 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เพื่อทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และทรงปลูกต้นเคี่ยม ต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีไว้เป็นที่ระลึก
“เขาท่าเพชร” จึงถือเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ ความเป็นสิริมงคล และทรงคุณค่ายิ่งสำหรับชาวสุราษฎร์ธานี และมีความเชื่อกันว่า หากใครได้มาสักการะพระธาตุศรีสุราษฎร์ และขอพรอันใดก็จะได้ตามประสงค์ สังเกตได้จากการที่มีผู้คนเดินแห่ผ้าขึ้นไปห่มพระธาตุตามที่ได้บนบานเอาไว้อยู่เสมอ