ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - แพทย์ และบุคลากรด้านการแพทย์ ม.อ.หาดใหญ่ เตรียมพบ “ยิ่งลักษณ์” งาน ครม.สัญจรที่ จ.ภูเก็ต จี้ทบทวนกฎหมาย 14 ฉบับ ที่ดันมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ
นายมนูญ หมวดเอียด พยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 มี.ค.นี้ ซึ่งจะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดภูเก็ต ทางคณะแพทย์ศาสตร์ ม.อ. มี อาจารย์แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ และกายภาพบำบัด จะเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือและยื่นหนังสือให้รัฐบาลทบทวน มติ ครม. ที่ได้นำเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จำนวน 14 ฉบับ เมื่อปี 2541 - 2544 โดยมีหนังสือที่ยื่นถึงนายกรัฐมนตรี จำนวน 1 หน้า พร้อมเอกสารแนบจำนวน 100 หน้า ซึ่งเป็นรายละเอียด
“โดยคณะจะเดินทางออกจากมหาวิทยาลัยประมาณ 17.00 น. หลังจากเลิกงานแล้ว การไปพบนายกรัฐมนตรีของบรรดาแพทย์แผนกต่างๆ พร้อมกับพยาบาล จำนวน 50 คน จะไม่ส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ป่วยแต่อย่างใด” นายมนูญ กล่าว ก่อนให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
“บรรดาแพทย์ พยาบาล ที่ศึกษาและทำงานอยู่กับมหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับผลกระทบ เพราะไม่ได้เข้ารับราชการ ต่างกับแพทย์ พยาบาล ที่สังกัดอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรับราชการ ไม่ว่าจะเป็นพยาบาล แพทย์ ประจำโรงพยาบาลอำเภอ จังหวัด แต่พยาบาลและแพทย์ ของ ม.อ. ต่างเป็นพนักงานลูกจ้าง แม้กระทั่งอาจารย์แพทย์เองก็ยังเป็นลูกจ้าง จึงจำเป็นต้องปลดล็อกกฎหมาย 14 ฉบับนี้ออก”
นายมนูญ หมวดเอียด พยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 มี.ค.นี้ ซึ่งจะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดภูเก็ต ทางคณะแพทย์ศาสตร์ ม.อ. มี อาจารย์แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ และกายภาพบำบัด จะเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือและยื่นหนังสือให้รัฐบาลทบทวน มติ ครม. ที่ได้นำเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จำนวน 14 ฉบับ เมื่อปี 2541 - 2544 โดยมีหนังสือที่ยื่นถึงนายกรัฐมนตรี จำนวน 1 หน้า พร้อมเอกสารแนบจำนวน 100 หน้า ซึ่งเป็นรายละเอียด
“โดยคณะจะเดินทางออกจากมหาวิทยาลัยประมาณ 17.00 น. หลังจากเลิกงานแล้ว การไปพบนายกรัฐมนตรีของบรรดาแพทย์แผนกต่างๆ พร้อมกับพยาบาล จำนวน 50 คน จะไม่ส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ป่วยแต่อย่างใด” นายมนูญ กล่าว ก่อนให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
“บรรดาแพทย์ พยาบาล ที่ศึกษาและทำงานอยู่กับมหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับผลกระทบ เพราะไม่ได้เข้ารับราชการ ต่างกับแพทย์ พยาบาล ที่สังกัดอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรับราชการ ไม่ว่าจะเป็นพยาบาล แพทย์ ประจำโรงพยาบาลอำเภอ จังหวัด แต่พยาบาลและแพทย์ ของ ม.อ. ต่างเป็นพนักงานลูกจ้าง แม้กระทั่งอาจารย์แพทย์เองก็ยังเป็นลูกจ้าง จึงจำเป็นต้องปลดล็อกกฎหมาย 14 ฉบับนี้ออก”