พัทลุง - เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูใน จ.พัทลุง โอดราคาหมูหน้าฟาร์มตกต่ำคนกลางเสนอราคาต่ำกว่าทุน โร่รัฐบาลช่วย ขู่หากยังเพิกเฉยจะอุ้มหมูใส่รถยนต์ไปพบนายกรัฐมนตรีที่กำลังจะมา ครม.สัญจร ชี้แนวโน้มผู้เลี้ยงรายย่อยเจ๊งยับเมื่อถูกรายใหญ่ผูกขาดทางการตลาด
นายสมยศ เพชรดารา ผู้จัดการสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์จังหวัดพัทลุง จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์การเลี้ยงสุกรรายย่อยในภาคใต้ ขณะนี้กำลังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุงเป็นอันดับ 1 ของภาคใต้ ประสบปัญหาหนักที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยเกิดปรากฎการณ์มาครั้งหนึ่งในปี 2540 - 2550 จนผู้เลี้ยงสุกรขนาดย่อยต้องล้มเลิกกิจการไปประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์พร้อมกับมีหนี้สิน
"แต่มาในปี 2555 กลับรุนแรงกว่ามาก จะต้องล้มเลิกไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จากผู้เลี้ยงรายย่อยประมาณ 7,140 ราย โดยเลี้ยงตั้งแต่ 100 แม่พันธุ์ลงมา" นายสมยศ กล่าวต่อและว่า
ภาพรวมพัทลุงมีสุกรประมาณ 300,000 ตัว แต่สุกร 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นของผู้เลี้ยงบริษัทขนาดใหญ่ เช่น บริษัท ซีพี., บริษัท เบทาโกร และบริษัทภาคใต้ค้าสัตว์ เป็นต้น บริษัทขนาดใหญ่ ไม่ประสบปัญหาแต่อย่างใด แต่ผู้เลี้ยงรายย่อย ซึ่งมีสุกรอยู่ประมาณ 50,000 ตัว ที่ไม่สามารถปล่อยออกได้ จาก 100,000 ตัว ภายในสิ้นเดือนมีนาคม จะทยอยขาดทุนประมาณภาพรวมถึง 100 ล้านบาท โดยขาดทุนตัวละ 1,800 - 2,000 บาท
แนวทางแก้ไขรัฐบาลต้องดำเนินตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ คือ ห้ามจับราคาสุกรต่ำกว่า 50 บาท / กก. และดำเนินการจับสุกรเข้าสต๊อกห้องเย็น 100,000 ตัว ในจำนวน 100,000 ตัว จับของจังหวัดพัทลุงไปประมาณ 10,000 ตัว ก็สามารถบรรเทาอาการลงได้อย่างทันท่วงที
"แต่ตอนนี้รัฐบาลยังลอยตัวอยู่ในการดำเนินการ ในขณะที่ผู้เลี้ยงรายย่อยทั่วภาคใต้กำลังประสบปัญหาอยู่ปัญหานี้เคยนำเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์จังหวัดพัทลุง เรื่องก็เงียบ ทางจังหวัดพัทลุงก็เงียบ และได้นำเสนอต่อวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย โดยรับปากไว้ว้าจะดำเนินการให้ในวันที่ 8 มีนาคมนี้"
นายสมยศ กล่าวอีกว่า หากนำเสนอฝ่ายรัฐบาลแล้วยังไม่เป็นผล ก็จำเป็นจะต้องใช้มาตรการทางด้านมวลชนซึ่งมีความพร้อมแล้ว โดยกลุ่มชาวสวนยางพาราจากจังหวัดต่างๆ ที่เคยประท้วงเรื่องราคายางพาราตกต่ำปิดถนน 4 แยกคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา จะเข้าร่วมด้วย
นายสมยศ ยังกล่าวอีกว่า และในวันที่ 19 มีนาคม 2555 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาประชุม ครม.สัญจรที่ภูเก็ต กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรร่ายย่อยในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง จะเดินทางไปพบนายกรัฐมนตรี พร้อมจะนำสุกรมีชีวิตบรรทุกรถยนต์ไปด้วย ซึ่งมาตรการมีอยู่แล้ว แต่ยังไม่นำมาใช้ก่อน เพื่อรอรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลก่อน
"ราคาสุกรมีชีวิตในพื้นที่พัทลุง ขณะนี้ราคา 41 บาท / กก. ขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ 61 บาท และมีพ่อค้ารายใหญ่มากวาดซื้อในราคา 38 บาท/ กก. แต่ยังไม่มีรายใดขายออกและมีแนวโน้มว่าราคาสุกรจะถูกกดราคาลงมาอยู่ที่ 28 บาท / กก.ด้วย"
นายสมยศ กล่าวว่า จากการเลี้ยงสุกรเกิดวิกฤตในปี 2549 - 2550 เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยได้เลิกเลี้ยงไปประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ เช่น เบทาโกร เป็นต้น ได้เข้าไปขยายกิจการทดแทน โดยมีลักษณะของคอนเทคฟาร์มเสียจำนวนหนึ่ง และในปี 2555 เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยจะล้มมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ หากไม่ได้รับการช่วย ก็จะมีผู้เลี้ยงขนาดใหญ่เข้าไปทดแทนอีก จะเกิดกลุ่มลูกเล้าลักษณะคอนเทคฟาร์มอีกจำนวนมาก
"และอนาคตปศุสัตว์จะตกเป็นของกลุ่มทุนใหญ่ ต่อไปจะเกิดปัญหากับผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่พ้น เพราะเกิดจากการผูกขาด ทางผู้เลี้ยงสัตว์จังหวัดพัทลุงเคยนำเสนอกฎหมายต่อต้านการผูกขาด เพื่อมิให้วงการปศุสัตว์เกิดการผูกขาด แต่ไม่มีรายใดตอบรับ หากมีการตอบรับ ก็เกิดงาน ให้รายอื่นประกอบการ และมีเกษตรกรอื่นๆ ได้เลี้ยงปศุสัตว์ด้วย" นายสมยศกล่าว
นายสมยศ เพชรดารา ผู้จัดการสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์จังหวัดพัทลุง จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์การเลี้ยงสุกรรายย่อยในภาคใต้ ขณะนี้กำลังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุงเป็นอันดับ 1 ของภาคใต้ ประสบปัญหาหนักที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยเกิดปรากฎการณ์มาครั้งหนึ่งในปี 2540 - 2550 จนผู้เลี้ยงสุกรขนาดย่อยต้องล้มเลิกกิจการไปประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์พร้อมกับมีหนี้สิน
"แต่มาในปี 2555 กลับรุนแรงกว่ามาก จะต้องล้มเลิกไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จากผู้เลี้ยงรายย่อยประมาณ 7,140 ราย โดยเลี้ยงตั้งแต่ 100 แม่พันธุ์ลงมา" นายสมยศ กล่าวต่อและว่า
ภาพรวมพัทลุงมีสุกรประมาณ 300,000 ตัว แต่สุกร 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นของผู้เลี้ยงบริษัทขนาดใหญ่ เช่น บริษัท ซีพี., บริษัท เบทาโกร และบริษัทภาคใต้ค้าสัตว์ เป็นต้น บริษัทขนาดใหญ่ ไม่ประสบปัญหาแต่อย่างใด แต่ผู้เลี้ยงรายย่อย ซึ่งมีสุกรอยู่ประมาณ 50,000 ตัว ที่ไม่สามารถปล่อยออกได้ จาก 100,000 ตัว ภายในสิ้นเดือนมีนาคม จะทยอยขาดทุนประมาณภาพรวมถึง 100 ล้านบาท โดยขาดทุนตัวละ 1,800 - 2,000 บาท
แนวทางแก้ไขรัฐบาลต้องดำเนินตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ คือ ห้ามจับราคาสุกรต่ำกว่า 50 บาท / กก. และดำเนินการจับสุกรเข้าสต๊อกห้องเย็น 100,000 ตัว ในจำนวน 100,000 ตัว จับของจังหวัดพัทลุงไปประมาณ 10,000 ตัว ก็สามารถบรรเทาอาการลงได้อย่างทันท่วงที
"แต่ตอนนี้รัฐบาลยังลอยตัวอยู่ในการดำเนินการ ในขณะที่ผู้เลี้ยงรายย่อยทั่วภาคใต้กำลังประสบปัญหาอยู่ปัญหานี้เคยนำเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์จังหวัดพัทลุง เรื่องก็เงียบ ทางจังหวัดพัทลุงก็เงียบ และได้นำเสนอต่อวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย โดยรับปากไว้ว้าจะดำเนินการให้ในวันที่ 8 มีนาคมนี้"
นายสมยศ กล่าวอีกว่า หากนำเสนอฝ่ายรัฐบาลแล้วยังไม่เป็นผล ก็จำเป็นจะต้องใช้มาตรการทางด้านมวลชนซึ่งมีความพร้อมแล้ว โดยกลุ่มชาวสวนยางพาราจากจังหวัดต่างๆ ที่เคยประท้วงเรื่องราคายางพาราตกต่ำปิดถนน 4 แยกคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา จะเข้าร่วมด้วย
นายสมยศ ยังกล่าวอีกว่า และในวันที่ 19 มีนาคม 2555 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาประชุม ครม.สัญจรที่ภูเก็ต กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรร่ายย่อยในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง จะเดินทางไปพบนายกรัฐมนตรี พร้อมจะนำสุกรมีชีวิตบรรทุกรถยนต์ไปด้วย ซึ่งมาตรการมีอยู่แล้ว แต่ยังไม่นำมาใช้ก่อน เพื่อรอรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลก่อน
"ราคาสุกรมีชีวิตในพื้นที่พัทลุง ขณะนี้ราคา 41 บาท / กก. ขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ 61 บาท และมีพ่อค้ารายใหญ่มากวาดซื้อในราคา 38 บาท/ กก. แต่ยังไม่มีรายใดขายออกและมีแนวโน้มว่าราคาสุกรจะถูกกดราคาลงมาอยู่ที่ 28 บาท / กก.ด้วย"
นายสมยศ กล่าวว่า จากการเลี้ยงสุกรเกิดวิกฤตในปี 2549 - 2550 เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยได้เลิกเลี้ยงไปประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ เช่น เบทาโกร เป็นต้น ได้เข้าไปขยายกิจการทดแทน โดยมีลักษณะของคอนเทคฟาร์มเสียจำนวนหนึ่ง และในปี 2555 เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยจะล้มมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ หากไม่ได้รับการช่วย ก็จะมีผู้เลี้ยงขนาดใหญ่เข้าไปทดแทนอีก จะเกิดกลุ่มลูกเล้าลักษณะคอนเทคฟาร์มอีกจำนวนมาก
"และอนาคตปศุสัตว์จะตกเป็นของกลุ่มทุนใหญ่ ต่อไปจะเกิดปัญหากับผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่พ้น เพราะเกิดจากการผูกขาด ทางผู้เลี้ยงสัตว์จังหวัดพัทลุงเคยนำเสนอกฎหมายต่อต้านการผูกขาด เพื่อมิให้วงการปศุสัตว์เกิดการผูกขาด แต่ไม่มีรายใดตอบรับ หากมีการตอบรับ ก็เกิดงาน ให้รายอื่นประกอบการ และมีเกษตรกรอื่นๆ ได้เลี้ยงปศุสัตว์ด้วย" นายสมยศกล่าว