ยะลา - เวทีชุมชุนสะท้อนเสียง 3 ศาสนา รัฐดูแลไม่เท่าเทียม ชาวไทยพุทธหยุดพึ่งรัฐ ขอเจรจาขบวนการยุติศึกไฟใต้ และสะท้อนมาตรการเยียวยาผู้เสียชีวิตรายละ 7.5 ล้านบาท/ราย จูงใจให้เกิดการฆ่าในจังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น และต้องใช้งบประมาณสูง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวานนี้ (4 มี.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น.ห้องประชุมรามัน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มูลนิธิศักยภาพชุมชน จัดเวทีหารือเครือข่ายชาวมุสลิม ชาวพุทธและชาวจีน เรื่อง “ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และทางออกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ความเห็นของผู้หญิง เยาวชน และ ผู้นำชุมชน” มีผู้เข้าร่วม 40 คน
นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน รายงานผลการจัดเวทีชุมชน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 รวม 70 เวที มีผู้เข้าร่วม 900 กว่าคน โดยคนทั้ง 3 ศาสนาต่างสะท้อนความรู้สึกออกมาว่า ตนได้รับการดูแลจากรัฐบาลน้อยกว่าศาสนาอื่น เช่น ชาวพุทธมองว่า เจ้าหน้าที่รัฐให้ความสำคัญกับผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบชาวมุสลิมมากกว่า โดยดูโครงการช่วยเหลือต่างๆ ที่ลงสู่หมู่บ้านมุสลิมก่อน อีกทั้งข้อเสนอของชาวมุสลิมมักได้รับการตอบรับ
“ชาวบ้านไทยพุทธ มองว่า รัฐเอาใจมุสลิมมากกว่า เช่น บางหน่วยงานรัฐ เปิดรับสมัครผู้ที่พูดภาษามลายูได้ แต่ ชาวพุทธพูดภาษามลายูไม่ได้ ขณะที่ชาวมุสลิมมองว่า เจ้าหน้าที่รัฐดูแลชาวพุทธมากกว่าชาวมุสลิม ส่วนคนจีนมองว่า ที่ผ่านมาเปรียบเสมือนลูกเลี้ยง คือไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ” นางชลิดา กล่าวต่อและว่า
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านทั้ง 3 ศาสนา ต่างมีข้อเสนอเหมือนกัน คือ ขอให้รัฐปฏิบัติกับชาวบ้านทุกศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน อย่าลำเอียง หรือเอาใจฝ่ายใดฝ่าย
“ทั้ง 3 ศาสนาต่างมองว่าตนถูกละเลยและเห็นว่ารัฐเอาใจอีกฝ่ายมากกว่า จึงเกิดคำถามว่า เจ้าหน้าที่ที่ลงไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อย่างไร ทำไมจึงทำให้เกิดความรู้สึกเหล่านั้นได้” นางชลิดากล่าว
ทั้งนี้ ชาวบ้านต่างสะท้อนให้เห็นว่า เพราะการแก้ปัญหาของรัฐบาลนั้น ไม่เคยฟังชาวบ้าน ชาวบ้านจึงต้องพึ่งตัวเอง โดยการรวมกลุ่มหางบประมาณกันเอง เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมของกลุ่ม
โดยชาวไทยพุทธสะท้อนว่า ชาวไทยพุทธส่วนหนึ่งที่เป็นเหยื่อจากการฆ่ารายวัน จึงอยากให้ขบวนการก่อความไม่สงบ ออกมาบอกพวกตนโดยตรง ว่าจะต้องการอะไร พวกตนอยากเจรจาต่อรองกับขบวนการโดยตรง เพราะพวกตนอาศัยในพื้นที่มานาน ไม่อยากย้ายไปอยู่ที่อื่น เพราะไม่มีต้นทุนเริ่มต้นชีวิตใหม่
ทั้งนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยกับการให้เงินช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ รายละ 7.5 ล้านบาท เพราะเกินความจำเป็น และกังวลว่าจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการฆ่าในจังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น และต้องใช้งบประมาณสูง งบประมาณแผ่นดินอาจมีไม่พอ การเยียวยาควรเป็นการสร้างหลักประกันในชีวิต เช่น สนับสนุนทุนการศึกษา สนับสนุนอาชีพแก่แม่หม้าย
นอกจากนี้ ชาวบ้านทั้ง 3 ศาสนา มองว่า ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความซับซ้อนมาก ทั้งการแบ่งแยกดินแดน การเมืองท้องถิ่น ยาเสพติด การค้าของเถื่อน การทุจริต ทำให้ยากต่อการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหา
อารีด้า สาเม๊าะ
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวานนี้ (4 มี.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น.ห้องประชุมรามัน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มูลนิธิศักยภาพชุมชน จัดเวทีหารือเครือข่ายชาวมุสลิม ชาวพุทธและชาวจีน เรื่อง “ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และทางออกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ความเห็นของผู้หญิง เยาวชน และ ผู้นำชุมชน” มีผู้เข้าร่วม 40 คน
นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน รายงานผลการจัดเวทีชุมชน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 รวม 70 เวที มีผู้เข้าร่วม 900 กว่าคน โดยคนทั้ง 3 ศาสนาต่างสะท้อนความรู้สึกออกมาว่า ตนได้รับการดูแลจากรัฐบาลน้อยกว่าศาสนาอื่น เช่น ชาวพุทธมองว่า เจ้าหน้าที่รัฐให้ความสำคัญกับผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบชาวมุสลิมมากกว่า โดยดูโครงการช่วยเหลือต่างๆ ที่ลงสู่หมู่บ้านมุสลิมก่อน อีกทั้งข้อเสนอของชาวมุสลิมมักได้รับการตอบรับ
“ชาวบ้านไทยพุทธ มองว่า รัฐเอาใจมุสลิมมากกว่า เช่น บางหน่วยงานรัฐ เปิดรับสมัครผู้ที่พูดภาษามลายูได้ แต่ ชาวพุทธพูดภาษามลายูไม่ได้ ขณะที่ชาวมุสลิมมองว่า เจ้าหน้าที่รัฐดูแลชาวพุทธมากกว่าชาวมุสลิม ส่วนคนจีนมองว่า ที่ผ่านมาเปรียบเสมือนลูกเลี้ยง คือไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ” นางชลิดา กล่าวต่อและว่า
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านทั้ง 3 ศาสนา ต่างมีข้อเสนอเหมือนกัน คือ ขอให้รัฐปฏิบัติกับชาวบ้านทุกศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน อย่าลำเอียง หรือเอาใจฝ่ายใดฝ่าย
“ทั้ง 3 ศาสนาต่างมองว่าตนถูกละเลยและเห็นว่ารัฐเอาใจอีกฝ่ายมากกว่า จึงเกิดคำถามว่า เจ้าหน้าที่ที่ลงไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อย่างไร ทำไมจึงทำให้เกิดความรู้สึกเหล่านั้นได้” นางชลิดากล่าว
ทั้งนี้ ชาวบ้านต่างสะท้อนให้เห็นว่า เพราะการแก้ปัญหาของรัฐบาลนั้น ไม่เคยฟังชาวบ้าน ชาวบ้านจึงต้องพึ่งตัวเอง โดยการรวมกลุ่มหางบประมาณกันเอง เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมของกลุ่ม
โดยชาวไทยพุทธสะท้อนว่า ชาวไทยพุทธส่วนหนึ่งที่เป็นเหยื่อจากการฆ่ารายวัน จึงอยากให้ขบวนการก่อความไม่สงบ ออกมาบอกพวกตนโดยตรง ว่าจะต้องการอะไร พวกตนอยากเจรจาต่อรองกับขบวนการโดยตรง เพราะพวกตนอาศัยในพื้นที่มานาน ไม่อยากย้ายไปอยู่ที่อื่น เพราะไม่มีต้นทุนเริ่มต้นชีวิตใหม่
ทั้งนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยกับการให้เงินช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ รายละ 7.5 ล้านบาท เพราะเกินความจำเป็น และกังวลว่าจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการฆ่าในจังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น และต้องใช้งบประมาณสูง งบประมาณแผ่นดินอาจมีไม่พอ การเยียวยาควรเป็นการสร้างหลักประกันในชีวิต เช่น สนับสนุนทุนการศึกษา สนับสนุนอาชีพแก่แม่หม้าย
นอกจากนี้ ชาวบ้านทั้ง 3 ศาสนา มองว่า ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความซับซ้อนมาก ทั้งการแบ่งแยกดินแดน การเมืองท้องถิ่น ยาเสพติด การค้าของเถื่อน การทุจริต ทำให้ยากต่อการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหา
อารีด้า สาเม๊าะ
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)