ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สรุปผลการสำรวจหาดใหญ่โพลประเด็น “การเฝ้าระวังภาวะเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้” พบว่าคนใต้มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ 46.2% และอีก 26.5% ที่ไม่มีเงินเก็บแต่ก็ไม่มีหนี้สิน และ36.0 %มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาแก๊ส NGV ระดับมากถึงมากที่สุด
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับมุมมองภาวะเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,071 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 6-11 มกราคม 2555
รศ. ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 46.2 มีสถานะการเงินโดยมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ และร้อยละ 27.3 มีสถานะการเงินโดยมีรายได้มากกว่ารายจ่าย มีเพียงร้อยละ 26.5 ไม่เหลือเก็บแต่ไม่มีหนี้สิน
นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 56.4 มีภาระหนี้สินโดยที่ประชาชนร้อยละ 29.4 มีภาระหนี้ไม่เกิน 50,000 บาท รองลงมา มีภาระหนี้สิน 200,001 - 500,000 บาท และ 50,001 - 100,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.8 และ 8.7 ตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.6 สามารถเก็บเงินในแต่ละเดือนได้ โดยที่ประชาชนร้อยละ 29.6 สามารถออมเงินได้แต่ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือนมากที่สุด รองลงมา 1,001-3,000 บาทต่อเดือน และ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 17.1 และ 10.1 ตามลำดับ มีเพียงประชาชนร้อยละ 32.4 ที่ไม่สามารถออมเงินได้
ประชาชนร้อยละ 35.1 เห็นว่าปัญหาการเมืองส่งผลต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาลมากที่สุด รองลงมา เป็นปัญหาการคอร์รัปชั่นและปัญหาเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 28.2 และ 17.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 42.1 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาแก๊ส NGV อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 36.0 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาแก๊ส NGV อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีเพียงร้อยละ 21.9 วิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาแก๊ส NGV อยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ภาพรวมของปัญหาที่ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 4.25 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน) และเมื่อพิจารณาตามประเด็นของปัญหา พบว่า ประชาชนเห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงการเมือง/ราชการ เป็นปัญหาที่ได้รับผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.88 คะแนน
รองลงมา ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาเกี่ยวกับการปรับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ปัญหาราคาน้ำมัน ปัญหาสภาพเศรษฐกิจของประเทศ และปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง โดยมีค่าเฉลี่ย 4.68, 4.66, 4.63, 4.56 และ 4.56 ตามลำดับ
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับมุมมองภาวะเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,071 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 6-11 มกราคม 2555
รศ. ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 46.2 มีสถานะการเงินโดยมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ และร้อยละ 27.3 มีสถานะการเงินโดยมีรายได้มากกว่ารายจ่าย มีเพียงร้อยละ 26.5 ไม่เหลือเก็บแต่ไม่มีหนี้สิน
นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 56.4 มีภาระหนี้สินโดยที่ประชาชนร้อยละ 29.4 มีภาระหนี้ไม่เกิน 50,000 บาท รองลงมา มีภาระหนี้สิน 200,001 - 500,000 บาท และ 50,001 - 100,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.8 และ 8.7 ตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.6 สามารถเก็บเงินในแต่ละเดือนได้ โดยที่ประชาชนร้อยละ 29.6 สามารถออมเงินได้แต่ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือนมากที่สุด รองลงมา 1,001-3,000 บาทต่อเดือน และ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 17.1 และ 10.1 ตามลำดับ มีเพียงประชาชนร้อยละ 32.4 ที่ไม่สามารถออมเงินได้
ประชาชนร้อยละ 35.1 เห็นว่าปัญหาการเมืองส่งผลต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาลมากที่สุด รองลงมา เป็นปัญหาการคอร์รัปชั่นและปัญหาเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 28.2 และ 17.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 42.1 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาแก๊ส NGV อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 36.0 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาแก๊ส NGV อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีเพียงร้อยละ 21.9 วิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาแก๊ส NGV อยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ภาพรวมของปัญหาที่ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 4.25 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน) และเมื่อพิจารณาตามประเด็นของปัญหา พบว่า ประชาชนเห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงการเมือง/ราชการ เป็นปัญหาที่ได้รับผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.88 คะแนน
รองลงมา ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาเกี่ยวกับการปรับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ปัญหาราคาน้ำมัน ปัญหาสภาพเศรษฐกิจของประเทศ และปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง โดยมีค่าเฉลี่ย 4.68, 4.66, 4.63, 4.56 และ 4.56 ตามลำดับ