ปัตตานี - มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมเผยผลการศึกษาคดีความมั่นคง 100 คดี พบศาลยกฟ้อง 72 คดีและมีสถิติการทำร้าย-ขู่เข็ญผู้ต้องหาภายใต้กฎอัยการศึกสูงสุด รองลงมาคือผู้ต้องหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เปิดเผยถึงผลการศึกษา ภายใต้โครงการการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลคดีความมั่นคงที่ผ่านการพิพากษาของศาลชั้นต้นระหว่างปี 2553 ถึงต้นปี 2554 จำนวน 100 คดี ข้อสรุปที่สำคัญคือในจำนวนคดีที่ศึกษาทั้งหมดนั้น มีถึง 72 คดีที่ศาลสั่งยกฟ้องด้วยเหตุเพราะพยานหลักฐานไม่เพียงพอ มีเพียง 28 คดีที่ถูกพิพากษาลงโทษ
ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เปิดเผยว่า ผลการศึกษายังพบด้วยว่าในการปฏิบัติต่อบุคคลที่เป็นผู้ต้องสงสัยและเป็นผู้ต้องหาของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง แม้ในหลายกรณีเจ้าหน้าที่จะให้ความเคารพในเรื่องความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา แต่กลับพบว่ามีการข่มขู่ทำร้ายทั้งทางร่างกายและวาจา ด้วยการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพและขู่เข็ญตั้งแต่ในขั้นตอนการจับกุม การกักหรือคุมตัว ไปจนถึงการซักถามหรือสอบสวนไม่ว่าตามกฎหมายพิเศษหรือภายใต้กฎหมายธรรมดาก็ตาม
ข้อมูลระบุชัดว่า ในการนำตัวบุคคลเข้าสู่กระบวนการซักถาม เช่นในการเชิญตัวภายใต้อำนาจที่เจ้าหน้าที่ได้รับตามกฎอัยการศึก ใน 100 คดี มีผู้ถูกทำร้ายร่างกาย 33 คดี มีการใช้วาจาที่ไม่สุภาพด้วย 35 คดี ถูกข่มขู่ 25 คดี
และในการจับกุมภายใต้อำนาจที่ได้รับตามพระราชกำหนดบริหารราชการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ปรากฏว่ามีผู้ถูกทำร้าย และใช้ถ้อยคำไม่สุภาพด้วยในจำนวนพอๆ กัน คือกรณีละ 16 คดี ถูกขู่เข็ญ 12 คดี ในการจับกุมในชั้นของการใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ปรากฏว่ามีบุคคลถูกทำร้ายร่างกายถึง 23 คดี มีการใช้วาจาไม่สุภาพด้วย 12 คดีและ ถูกขู่เข็ญ 13 คดี
เมื่อตรวจสอบพฤติการณ์เจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นในชั้นการถูกกักตัวและซักถามหรือสอบปากคำจะพบว่า สถิติการทำร้ายและขู่เข็ญมีสูงที่สุดในกระบวนการภายใต้กฎอัยการศึก รองลงมาคือการดำเนินการภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายตั้งข้อสังเกตไว้ว่าเป็นเหตุน่ากังวลใจอย่างมาก ก็คือการทำร้ายในระหว่างการสอบปากคำภายใต้ขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งสถิติระบุว่าใน 100 คดีมีผู้ถูกขู่เข็ญใน 24 คดี ถูกทำร้ายทางร่างกาย 18 คดี และมีการใช้วาจาไม่สุภาพกับผู้ถูกสอบในอีก 17 คดี
นายอนุกูล อาแวปูเตะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วพยานหลักฐานที่ศาลไม่รับฟัง แต่ปรากฏมากในสำนวนฟ้องของเจ้าหน้าที่มักจะเป็นเรื่องของการอาศัยคำรับสารภาพที่ได้มาจากในชั้นการซักถามภายใต้กฎหมายพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นกฎอัยการศึกหรือพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินระบุ
และการที่ศาลไม่รับฟังนั้นส่วนหนึ่งเพราะถือว่า การได้มาซึ่งคำสารภาพหรือหลักฐานเช่นนี้อยู่นอกเหนือวิธีการได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาคดี นั่นคือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เปิดเผยถึงผลการศึกษา ภายใต้โครงการการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลคดีความมั่นคงที่ผ่านการพิพากษาของศาลชั้นต้นระหว่างปี 2553 ถึงต้นปี 2554 จำนวน 100 คดี ข้อสรุปที่สำคัญคือในจำนวนคดีที่ศึกษาทั้งหมดนั้น มีถึง 72 คดีที่ศาลสั่งยกฟ้องด้วยเหตุเพราะพยานหลักฐานไม่เพียงพอ มีเพียง 28 คดีที่ถูกพิพากษาลงโทษ
ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เปิดเผยว่า ผลการศึกษายังพบด้วยว่าในการปฏิบัติต่อบุคคลที่เป็นผู้ต้องสงสัยและเป็นผู้ต้องหาของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง แม้ในหลายกรณีเจ้าหน้าที่จะให้ความเคารพในเรื่องความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา แต่กลับพบว่ามีการข่มขู่ทำร้ายทั้งทางร่างกายและวาจา ด้วยการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพและขู่เข็ญตั้งแต่ในขั้นตอนการจับกุม การกักหรือคุมตัว ไปจนถึงการซักถามหรือสอบสวนไม่ว่าตามกฎหมายพิเศษหรือภายใต้กฎหมายธรรมดาก็ตาม
ข้อมูลระบุชัดว่า ในการนำตัวบุคคลเข้าสู่กระบวนการซักถาม เช่นในการเชิญตัวภายใต้อำนาจที่เจ้าหน้าที่ได้รับตามกฎอัยการศึก ใน 100 คดี มีผู้ถูกทำร้ายร่างกาย 33 คดี มีการใช้วาจาที่ไม่สุภาพด้วย 35 คดี ถูกข่มขู่ 25 คดี
และในการจับกุมภายใต้อำนาจที่ได้รับตามพระราชกำหนดบริหารราชการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ปรากฏว่ามีผู้ถูกทำร้าย และใช้ถ้อยคำไม่สุภาพด้วยในจำนวนพอๆ กัน คือกรณีละ 16 คดี ถูกขู่เข็ญ 12 คดี ในการจับกุมในชั้นของการใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ปรากฏว่ามีบุคคลถูกทำร้ายร่างกายถึง 23 คดี มีการใช้วาจาไม่สุภาพด้วย 12 คดีและ ถูกขู่เข็ญ 13 คดี
เมื่อตรวจสอบพฤติการณ์เจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นในชั้นการถูกกักตัวและซักถามหรือสอบปากคำจะพบว่า สถิติการทำร้ายและขู่เข็ญมีสูงที่สุดในกระบวนการภายใต้กฎอัยการศึก รองลงมาคือการดำเนินการภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายตั้งข้อสังเกตไว้ว่าเป็นเหตุน่ากังวลใจอย่างมาก ก็คือการทำร้ายในระหว่างการสอบปากคำภายใต้ขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งสถิติระบุว่าใน 100 คดีมีผู้ถูกขู่เข็ญใน 24 คดี ถูกทำร้ายทางร่างกาย 18 คดี และมีการใช้วาจาไม่สุภาพกับผู้ถูกสอบในอีก 17 คดี
นายอนุกูล อาแวปูเตะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วพยานหลักฐานที่ศาลไม่รับฟัง แต่ปรากฏมากในสำนวนฟ้องของเจ้าหน้าที่มักจะเป็นเรื่องของการอาศัยคำรับสารภาพที่ได้มาจากในชั้นการซักถามภายใต้กฎหมายพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นกฎอัยการศึกหรือพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินระบุ
และการที่ศาลไม่รับฟังนั้นส่วนหนึ่งเพราะถือว่า การได้มาซึ่งคำสารภาพหรือหลักฐานเช่นนี้อยู่นอกเหนือวิธีการได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาคดี นั่นคือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา