ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ศอ.บต.ของบเพิ่ม 100 กว่าล้าน ตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชน เน้นเยียวยาเหยื่อจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมเหตุตากใบ กรือเซะ ไอร์ปาแย จ่ายชดเชยผู้ถูกคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึกวันละ 400 บาท
เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมาที่ห้องพญาตานี 2 โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ตัวแทนภาคประชาชนด้านอำนวยการความเป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน โดยมีนายสิทธิศักดิ์ โต๊กู ผู้อำนวยการงานยุติธรรม สำนักบริหารยุติธรรมศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ เป็นประธาน
นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยระหว่างการบรรยายเรื่องนโยบายส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้มีนโยบายจะก่อตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ งบประมาณ 100,020,000 บาท โดยจะของบประมาณเพิ่มเติมจากสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง
นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า ในงบประมาณจำนวนดังกล่าว แยกเป็นงบช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่เกิดกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยให้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์หรือพิธีอุมเราะห์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จำนวน 200 คน ใช้งบประมาณ 15,800,000 บาท
“ส่วนอีก 30,000,000 บาท จะใช้ในการช่วยเหลือดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ถูกวิสามัญฆาตกรรม หรือผู้ประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างรุนแรง เช่น เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ เหตุการณ์ตากใบ เหตุกราดยิงในมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย จังหวัดนราธิวาส และกรณีอื่นๆ ที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ” นายสิทธิศักดิ์ กล่าว
รวมทั้งการช่วยเหลือ ดูแลกลุ่มเด็ก กำพร้า สตรีหม้าย อันเกิดจากเหตุการณ์ไม่สงบอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งมีจำนวนมาก กว่า 500 ราย โดยการดำเนินการเยียวยาด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งการสนับสนุนด้าน การศึกษา อาชีพ การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หรืออุมเราะห์
นอกจากนี้ นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า ในด้านอำนวยความเป็นธรรม ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี กรณียากจน รายละ 100,000 บาท และจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการดำรงชีพแก่ครอบครัวผู้ต้องหาและจำเลยระหว่างถูกขัง กรณีไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว 100,000 บาท
ส่วนกรณีจำเลยที่ศาลพิพากษายกฟ้อง แล้วกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมไม่จ่ายเงินชดเชยระหว่างถูกขัง หรือกรณีถูกฝากขังในชั้นพนักงานสอบสวนและกรณีถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะช่วยเหลือโดยมอบเงินชดเชยเพื่อปลอบขวัญ ตามจำนวนวันที่ถูกคุมขังหรือวันละ 400 บาท
ทั้งนี้ ในการตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีการว่าจ่ายทนายและปรึกษากฎหมายมาอยู่ประจำ เพื่อช่วยเหลือผู้มอบตัวต่อสู้ เดือนละ 30,000 บาท ด้วย
รายงานโดย นายฮัสซัน โตะดง โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ชายแดนใต้ (DSJ)
เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมาที่ห้องพญาตานี 2 โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ตัวแทนภาคประชาชนด้านอำนวยการความเป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน โดยมีนายสิทธิศักดิ์ โต๊กู ผู้อำนวยการงานยุติธรรม สำนักบริหารยุติธรรมศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ เป็นประธาน
นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยระหว่างการบรรยายเรื่องนโยบายส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้มีนโยบายจะก่อตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ งบประมาณ 100,020,000 บาท โดยจะของบประมาณเพิ่มเติมจากสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง
นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า ในงบประมาณจำนวนดังกล่าว แยกเป็นงบช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่เกิดกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยให้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์หรือพิธีอุมเราะห์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จำนวน 200 คน ใช้งบประมาณ 15,800,000 บาท
“ส่วนอีก 30,000,000 บาท จะใช้ในการช่วยเหลือดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ถูกวิสามัญฆาตกรรม หรือผู้ประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างรุนแรง เช่น เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ เหตุการณ์ตากใบ เหตุกราดยิงในมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย จังหวัดนราธิวาส และกรณีอื่นๆ ที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ” นายสิทธิศักดิ์ กล่าว
รวมทั้งการช่วยเหลือ ดูแลกลุ่มเด็ก กำพร้า สตรีหม้าย อันเกิดจากเหตุการณ์ไม่สงบอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งมีจำนวนมาก กว่า 500 ราย โดยการดำเนินการเยียวยาด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งการสนับสนุนด้าน การศึกษา อาชีพ การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หรืออุมเราะห์
นอกจากนี้ นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า ในด้านอำนวยความเป็นธรรม ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี กรณียากจน รายละ 100,000 บาท และจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการดำรงชีพแก่ครอบครัวผู้ต้องหาและจำเลยระหว่างถูกขัง กรณีไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว 100,000 บาท
ส่วนกรณีจำเลยที่ศาลพิพากษายกฟ้อง แล้วกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมไม่จ่ายเงินชดเชยระหว่างถูกขัง หรือกรณีถูกฝากขังในชั้นพนักงานสอบสวนและกรณีถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะช่วยเหลือโดยมอบเงินชดเชยเพื่อปลอบขวัญ ตามจำนวนวันที่ถูกคุมขังหรือวันละ 400 บาท
ทั้งนี้ ในการตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีการว่าจ่ายทนายและปรึกษากฎหมายมาอยู่ประจำ เพื่อช่วยเหลือผู้มอบตัวต่อสู้ เดือนละ 30,000 บาท ด้วย
รายงานโดย นายฮัสซัน โตะดง โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ชายแดนใต้ (DSJ)