ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ประธานสภา อบจ.สงขลา เผย เลือกตั้งท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น ซื้อเสียงกันเป็นจำนวนมาก โวย กกต.ใส่เกียร์ว่างมาก กกต.สงขลา ปลื้ม เลือกตั้งท้องถิ่นไม่มีการร้องเรียน ซื้อเสียง
วันนี้ (6 ธ.ค.) นายนราเดช คำทัปน์ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา เปิดเผยว่า จากการติดตามการเลือกตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ใน จ.สงขลา และใกล้เคียงบางแห่งได้เกิดโรคร้อยเอ็ดระบาด มีการซื้อเสียงจนน่าตกใจมาก
โดยเฉพาะท้องถิ่นที่มีการแข่งขันกันสูง มีการใช้เงินซื้อเสียงๆ ละ 2,000-3,000 บาท และจะซื้อในเวลากลางคืนและตอนเช้าของวันเลือกตั้ง ซึ่งเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่สาเหตุใหญ่มาจาก กกต.ไม่ได้เข้าไปควบคุมและกำกับดูแลการเลือกตั้งเข้มงวด
นายนราเดช เปิดเผยอีกว่า ส่วนการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นซึ่งยังไม่มีกฎหมายเลือกตั้งเข้าไปควบคุม มีการซื้อเสียงตั้งแต่ 1,000-3,000 บาท และหากตำบลใดมีการเลือกตั้งกำนัน มีการซื้อเสียงผู้ใหญ่บ้านคนละ 200,000-300,000 บาท ซื้อกันแบบเปิดเผยด้วย และแนวโน้มของยอดเงินซื้อเสียงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายคนจนๆ ไม่มีโอกาสเข้าสู่วงการเมืองได้ ปล่อยให้คนที่มีฐานะทางการเงินผูกขาดการเมือง ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นเรื่องอันตรายมาก ตนขอฝากการบ้านให้ กกต.ด้วย
นายโชคชัย ผลวัฒนะ ผอ.กกต.สงขลา เปิดเผยว่า ผู้สมัครการเมืองท้องถิ่นมีความรู้กฎหมายเลือกตั้งมากขึ้นจากการเลือกตั้งท้องถิ่น 17 แห่ง รับเป็นเรื่องร้องเรียนแล้วประมาณ 6 เรื่อง ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการใส่ร้ายจากฝ่ายตรงข้าม นโยบายหลอกลวงและความผิดเรื่องป้ายหาเสียง มีการตั้งกรรมการสอบสวนขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนการร้องเรียนที่เกี่ยวกับการซื้อเสียงยังไม่มีการร้องเรียนเข้ามา
วันนี้ (6 ธ.ค.) นายนราเดช คำทัปน์ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา เปิดเผยว่า จากการติดตามการเลือกตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ใน จ.สงขลา และใกล้เคียงบางแห่งได้เกิดโรคร้อยเอ็ดระบาด มีการซื้อเสียงจนน่าตกใจมาก
โดยเฉพาะท้องถิ่นที่มีการแข่งขันกันสูง มีการใช้เงินซื้อเสียงๆ ละ 2,000-3,000 บาท และจะซื้อในเวลากลางคืนและตอนเช้าของวันเลือกตั้ง ซึ่งเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่สาเหตุใหญ่มาจาก กกต.ไม่ได้เข้าไปควบคุมและกำกับดูแลการเลือกตั้งเข้มงวด
นายนราเดช เปิดเผยอีกว่า ส่วนการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นซึ่งยังไม่มีกฎหมายเลือกตั้งเข้าไปควบคุม มีการซื้อเสียงตั้งแต่ 1,000-3,000 บาท และหากตำบลใดมีการเลือกตั้งกำนัน มีการซื้อเสียงผู้ใหญ่บ้านคนละ 200,000-300,000 บาท ซื้อกันแบบเปิดเผยด้วย และแนวโน้มของยอดเงินซื้อเสียงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายคนจนๆ ไม่มีโอกาสเข้าสู่วงการเมืองได้ ปล่อยให้คนที่มีฐานะทางการเงินผูกขาดการเมือง ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นเรื่องอันตรายมาก ตนขอฝากการบ้านให้ กกต.ด้วย
นายโชคชัย ผลวัฒนะ ผอ.กกต.สงขลา เปิดเผยว่า ผู้สมัครการเมืองท้องถิ่นมีความรู้กฎหมายเลือกตั้งมากขึ้นจากการเลือกตั้งท้องถิ่น 17 แห่ง รับเป็นเรื่องร้องเรียนแล้วประมาณ 6 เรื่อง ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการใส่ร้ายจากฝ่ายตรงข้าม นโยบายหลอกลวงและความผิดเรื่องป้ายหาเสียง มีการตั้งกรรมการสอบสวนขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนการร้องเรียนที่เกี่ยวกับการซื้อเสียงยังไม่มีการร้องเรียนเข้ามา