นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง ( กกต. ) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนกันยายน ถึงธันวาคม 2554 ยังจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครบวาระ ซึ่งกกต. จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง อีกจำนวน 631 แห่ง เช่น การเลือกตั้งนายก อบต. จำนวนถึง 142 แห่ง จึงขอประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจ กับประชาชนว่า ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับชาติ หรือระดับท้องถิ่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถตรวจสอบรายชื่อตนเองได้ก่อนวันเลือกตั้ง
สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น สามารถตรวจสอบได้จากเอกสารแจ้งเจ้าบ้าน (ส.ถ./ผ.ถ.10) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ลงคะแนน (หน่วยเลือกตั้ง) และรายชื่อสมาชิกในบ้านว่า ใครเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งบ้าง หรือสามารถตรวจสอบได้จากประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ถ./ผ.ถ.9) โดยจะปิดประกาศก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน ณ ที่ว่าการอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการเลือกตั้งนั้น หรือบริเวณใกล้เคียงหน่วยเลือกตั้ง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังพบว่าการใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่นซึ่งกกต. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหลายแห่งปรากฏว่า ยังมีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางส่วนยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระดับชาติ (ส.ส. และ ส.ว.) และคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น (อบต. อบจ. ทต. ทม. ทน. สก. เป็นต้น) ซึ่งมีความแตกต่างกันเนื่องจากใช้กฎหมายคนละฉบับ โดยในการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. ใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ.2550 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องมีคุณสมบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คือ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
ส่วนการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง จึงทำให้การเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 90 วัน สามารถใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ได้ แต่เมื่อมีการเลือกตั้งท้องถิ่นในท้องที่เดียวกัน หากบุคคลดังกล่าวมีชื่ออยู่ ในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี ก็จะไม่มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนั้นได้ จึงอาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ฉะนั้นในการเลือกตั้งทุกครั้งประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงควรตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าวข้างต้นเสียก่อน
ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องของระยะเวลาการมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่ กกต.จะพิจารณาเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายให้เกิดความสอดคล้องกันเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน ในกรณีมีการเลือกตั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่นในระยะเวลาใกล้เคียงกันในโอกาสต่อไปด้วย
สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น สามารถตรวจสอบได้จากเอกสารแจ้งเจ้าบ้าน (ส.ถ./ผ.ถ.10) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ลงคะแนน (หน่วยเลือกตั้ง) และรายชื่อสมาชิกในบ้านว่า ใครเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งบ้าง หรือสามารถตรวจสอบได้จากประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ถ./ผ.ถ.9) โดยจะปิดประกาศก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน ณ ที่ว่าการอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการเลือกตั้งนั้น หรือบริเวณใกล้เคียงหน่วยเลือกตั้ง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังพบว่าการใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่นซึ่งกกต. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหลายแห่งปรากฏว่า ยังมีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางส่วนยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระดับชาติ (ส.ส. และ ส.ว.) และคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น (อบต. อบจ. ทต. ทม. ทน. สก. เป็นต้น) ซึ่งมีความแตกต่างกันเนื่องจากใช้กฎหมายคนละฉบับ โดยในการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. ใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ.2550 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องมีคุณสมบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คือ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
ส่วนการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง จึงทำให้การเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 90 วัน สามารถใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ได้ แต่เมื่อมีการเลือกตั้งท้องถิ่นในท้องที่เดียวกัน หากบุคคลดังกล่าวมีชื่ออยู่ ในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี ก็จะไม่มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนั้นได้ จึงอาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ฉะนั้นในการเลือกตั้งทุกครั้งประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงควรตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าวข้างต้นเสียก่อน
ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องของระยะเวลาการมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่ กกต.จะพิจารณาเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายให้เกิดความสอดคล้องกันเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน ในกรณีมีการเลือกตั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่นในระยะเวลาใกล้เคียงกันในโอกาสต่อไปด้วย