ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ผู้ว่าฯ สงขลา สั่งทุกหน่วยเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม ปี 2554 โดยจัดแบ่งพื้นที่จัดตั้งศูนย์อำนวยการประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย 4 เขต มีหน่วยกำลังจากกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจภูธรและ ตชด. รับผิดชอบในการช่วยเหลือประชาชน และมีการซักซ้อมแผนร่วมกัน
วันนี้ (14 ต.ค.) ที่ห้อง CEO ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เรียกประชุมหน่วยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจภูธร ตำรวจตระเวนชายแดน และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่มจังหวัดสงขลาปี 2554 เนื่องจากในพื้นที่ภาคใต้กำลังจะเข้าสู่ฤดูมรสุมลมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในช่วงปลายเดือนตุลาคม-ธันวาคม จะมีฝนตกในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นจำนวนมาก สภาพคลื่นลมในทะเลมีกำลังแรง และบางพื้นที่อาจจะมีดินโคลนถล่ม รวมทั้งจะมีพายุเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้พัดเข้าอ่าวไทย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นทุกปีในช่วงฤดูมรสุมของภาคใต้
จังหวัดสงขลาจึงได้สั่งการให้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว โดยจัดแบ่งพื้นที่จัดตั้งศูนย์อำนวยการประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยรวม 4 เขต มีหน่วยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจภูธร และ ตชด.รับผิดชอบในการช่วยเหลือประชาชน และมีการซักซ้อมแผนการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้สามารถเข้าช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที
นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ตนได้สั่งการให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่มจังหวัดสงขลาปี 2554 แล้ว โดย จัดแบ่งพื้นที่จัดตั้งศูนย์อำนวยการประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวม 4 เขต คือ เขตที่ 1 รับผิดชอบพื้นที่อำเภอเมือง สิงหนคร สทิงพระ ระโนด กระแสสินธุ์ จะนะ และเทศบาลในเขตพื้นที่ทุกแห่ง เขตที่ 2 รับผิดชอบอำเภอหาดใหญ่ นาหม่อม นาทวี รัตภูมิ ควนเนียง บางกล่ำ สะบ้าย้อย และเทศบาลในเขตพื้นที่ทุกแห่ง เขตที่ 3 รับผิดชอบอำเภอคลองหอยโข่ง สะเดา และเทศบาลในเขตพื้นที่ทุกแห่ง เขตที่ 4 รับผิดชอบในเขตพื้นที่อำเภอจะนะ นาทวี สะเดา และเทศบาลในเขตพื้นที่ทุกแห่ง โดยปฏิบัติงานประสานกับเขต 1 เขต 2 และเขต 3 ในการเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม ที่ต้องใช้ความรวดเร็วและทันท่วงที เนื่องจากมีกองกำลังอยู่ในพื้นที่แล้ว
ทั้งนี้ ทางศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้รายงานสภาวะอากาศในเขตพื้นที่อ่าวไทย และพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดสงขลาว่า ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และธันวาคม 2554 จะมีฝนตกหนักและหนักมากในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ให้ระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก คลื่นลมในทะเลมีกำลังแรง
วันนี้ (14 ต.ค.) ที่ห้อง CEO ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เรียกประชุมหน่วยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจภูธร ตำรวจตระเวนชายแดน และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่มจังหวัดสงขลาปี 2554 เนื่องจากในพื้นที่ภาคใต้กำลังจะเข้าสู่ฤดูมรสุมลมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในช่วงปลายเดือนตุลาคม-ธันวาคม จะมีฝนตกในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นจำนวนมาก สภาพคลื่นลมในทะเลมีกำลังแรง และบางพื้นที่อาจจะมีดินโคลนถล่ม รวมทั้งจะมีพายุเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้พัดเข้าอ่าวไทย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นทุกปีในช่วงฤดูมรสุมของภาคใต้
จังหวัดสงขลาจึงได้สั่งการให้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว โดยจัดแบ่งพื้นที่จัดตั้งศูนย์อำนวยการประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยรวม 4 เขต มีหน่วยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจภูธร และ ตชด.รับผิดชอบในการช่วยเหลือประชาชน และมีการซักซ้อมแผนการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้สามารถเข้าช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที
นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ตนได้สั่งการให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่มจังหวัดสงขลาปี 2554 แล้ว โดย จัดแบ่งพื้นที่จัดตั้งศูนย์อำนวยการประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวม 4 เขต คือ เขตที่ 1 รับผิดชอบพื้นที่อำเภอเมือง สิงหนคร สทิงพระ ระโนด กระแสสินธุ์ จะนะ และเทศบาลในเขตพื้นที่ทุกแห่ง เขตที่ 2 รับผิดชอบอำเภอหาดใหญ่ นาหม่อม นาทวี รัตภูมิ ควนเนียง บางกล่ำ สะบ้าย้อย และเทศบาลในเขตพื้นที่ทุกแห่ง เขตที่ 3 รับผิดชอบอำเภอคลองหอยโข่ง สะเดา และเทศบาลในเขตพื้นที่ทุกแห่ง เขตที่ 4 รับผิดชอบในเขตพื้นที่อำเภอจะนะ นาทวี สะเดา และเทศบาลในเขตพื้นที่ทุกแห่ง โดยปฏิบัติงานประสานกับเขต 1 เขต 2 และเขต 3 ในการเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม ที่ต้องใช้ความรวดเร็วและทันท่วงที เนื่องจากมีกองกำลังอยู่ในพื้นที่แล้ว
ทั้งนี้ ทางศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้รายงานสภาวะอากาศในเขตพื้นที่อ่าวไทย และพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดสงขลาว่า ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และธันวาคม 2554 จะมีฝนตกหนักและหนักมากในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ให้ระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก คลื่นลมในทะเลมีกำลังแรง