พัทลุง - ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.พัทลุง เผย กฟภ.ปรับขึ้นค่าไฟฟ้ากว่า 63 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ ปรับขึ้นกับอุตสาหกรรมเพื่อนำไปชดเชยกับค่าไฟฟรี 90 หน่วย เป็นการผลักดันภาระให้ผู้ผลิตอย่างรุนแรง ทำหนังสือร้องประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ด้าน กฟภ.พัทลุงอ้างเป็นนโยบายเร่งด่วนจากส่วนกลาง
นายปรีชา อภัยยานุกร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง ที่ ส.อ.ท.พท./007/2554 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ได้ทำหนังสือถึงประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กว่า 63 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ เนื่องจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง ได้สอบถามไปยังสมาชิกหลายแห่งว่าการปรับราคาไฟฟ้าของ กฟภ.ยังไม่ได้รับการแจ้งแต่อย่างใด และยังได้สอบถามไปยัง กฟภ.พัทลุง ก็ไม่ได้รับการชี้แจงที่ชัดเจน เพียงแต่บอกว่าเป็นนโยบายเร่งด่วนจากส่วนกลาง
นายปรีชา ยังกล่าวอีกว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง จึงมีความเห็นว่า การปรับราคาที่รุนแรงเกินไป คือ ปรับขึ้นถึง 63.2911 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นด้วยทันทีเช่นกัน และการปรับราคาครั้งนี้ยังไม่โปร่งใสและหมกเม็ด เนื่องจากเป็นการปรับค่าเอฟที ไปใส่ร่วมกับค่าพลังงานไฟฟ้า จึงเป็นการปรับที่ไม่มีข้อมูลสนับสนุนถึงความจำเป็นที่จำเป็นจะต้องปรับ
“เรื่องค่าไฟฟ้าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก บางตัวมีการปรับขึ้นและบางตัวปรับลง และการปรับขึ้นปรับลง แต่โดยภาพรวมในขณะนี้ยอดการเงินค่าไฟฟ้ายังอยู่ในระดับปกติ คาดว่าในอีก 5-6 เดือนข้างหน้าจะมีการปรับขึ้น โดยจะปรับค่าเอฟที แต่คงสภาพของค่าพลังงานไฟฟ้าที่ปรับขึ้นกว่า 63 เปอร์เซ็นต์ไว้แล้ว เรื่องนี้จะต้องติดตามใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ปรากฏว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กำลังศึกษารายละเอียดอยู่เพื่อดำเนินการต่อรัฐบาล”
นายปรีชา กล่าวต่อว่า ให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแสดงบทบาทไม่เห็นด้วย ทั้งนี้สำหรับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุงนั้นไม่เห็นด้วย แม้ว่าจะเป็นจังหวัดมีอุตสาหกรรม ไม่ใหญ่เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ก็ตาม ทั้งนี้ น่าจะเป็นนโยบายทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องจากภาวการณ์ขาดทุนของกลุ่มไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยที่มีความจำเป็นต้องขึ้นค่าไฟฟ้า
การปรับราคาไฟฟ้าของ กฟภ.ครั้งนี้ ก็เพื่อนำไปชดเชยกับค่าไฟฟ้าฟรี 90 หน่วย ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการผลักภาระให้กับผู้ผลิตอย่างรุนแรง แม้ว่าขณะนี้ยังไม่เห็นผลกระทบถึงต้นทุนการผลิต เนื่องจากในภาพรวมยังไม่เปลี่ยนแปลง จะมีการปรับเปลี่ยนในวันข้างหน้าเรื่องไฟฟ้ามีความละเอียดอ่อนมาก จะต้องตรวจสอบติดตามอย่างละเอียดใกล้ชิด
นายปรีชา อภัยยานุกร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง ที่ ส.อ.ท.พท./007/2554 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ได้ทำหนังสือถึงประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กว่า 63 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ เนื่องจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง ได้สอบถามไปยังสมาชิกหลายแห่งว่าการปรับราคาไฟฟ้าของ กฟภ.ยังไม่ได้รับการแจ้งแต่อย่างใด และยังได้สอบถามไปยัง กฟภ.พัทลุง ก็ไม่ได้รับการชี้แจงที่ชัดเจน เพียงแต่บอกว่าเป็นนโยบายเร่งด่วนจากส่วนกลาง
นายปรีชา ยังกล่าวอีกว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง จึงมีความเห็นว่า การปรับราคาที่รุนแรงเกินไป คือ ปรับขึ้นถึง 63.2911 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นด้วยทันทีเช่นกัน และการปรับราคาครั้งนี้ยังไม่โปร่งใสและหมกเม็ด เนื่องจากเป็นการปรับค่าเอฟที ไปใส่ร่วมกับค่าพลังงานไฟฟ้า จึงเป็นการปรับที่ไม่มีข้อมูลสนับสนุนถึงความจำเป็นที่จำเป็นจะต้องปรับ
“เรื่องค่าไฟฟ้าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก บางตัวมีการปรับขึ้นและบางตัวปรับลง และการปรับขึ้นปรับลง แต่โดยภาพรวมในขณะนี้ยอดการเงินค่าไฟฟ้ายังอยู่ในระดับปกติ คาดว่าในอีก 5-6 เดือนข้างหน้าจะมีการปรับขึ้น โดยจะปรับค่าเอฟที แต่คงสภาพของค่าพลังงานไฟฟ้าที่ปรับขึ้นกว่า 63 เปอร์เซ็นต์ไว้แล้ว เรื่องนี้จะต้องติดตามใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ปรากฏว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กำลังศึกษารายละเอียดอยู่เพื่อดำเนินการต่อรัฐบาล”
นายปรีชา กล่าวต่อว่า ให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแสดงบทบาทไม่เห็นด้วย ทั้งนี้สำหรับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุงนั้นไม่เห็นด้วย แม้ว่าจะเป็นจังหวัดมีอุตสาหกรรม ไม่ใหญ่เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ก็ตาม ทั้งนี้ น่าจะเป็นนโยบายทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องจากภาวการณ์ขาดทุนของกลุ่มไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยที่มีความจำเป็นต้องขึ้นค่าไฟฟ้า
การปรับราคาไฟฟ้าของ กฟภ.ครั้งนี้ ก็เพื่อนำไปชดเชยกับค่าไฟฟ้าฟรี 90 หน่วย ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการผลักภาระให้กับผู้ผลิตอย่างรุนแรง แม้ว่าขณะนี้ยังไม่เห็นผลกระทบถึงต้นทุนการผลิต เนื่องจากในภาพรวมยังไม่เปลี่ยนแปลง จะมีการปรับเปลี่ยนในวันข้างหน้าเรื่องไฟฟ้ามีความละเอียดอ่อนมาก จะต้องตรวจสอบติดตามอย่างละเอียดใกล้ชิด