ศูนย์ข่าวภูเก็ต-สมาคมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชี้ประกาศใช้ผังเมืองรวมภูเก็ตฉบับใหม่ ส่งผลกระทบผู้ประกอบการ เจ้าของที่ดิน ชะลอการเติบโตของเมือง จัดสัมมนาให้ความรู้เรื่องผังเมืองแก้ผู้ประกอบการเพื่อรับมือ
นายไชยวัฒน์ เทพี ปลัดจังหวัดภูเก็ต ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “เจาะลึกผังเมืองรวม จังหวัดภูเก็ต ปี 54” ซึ่งสมาคมอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต จัดขึ้น ที่ห้องประชุมภูเก็ต แกรนด์ บอลรูม โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ.2554 ซึ่งประกาศเป็นกฎกระทรวง และมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่กฎหมายผังวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 โดยจะไปสิ้นสุดในวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้นำความรู้ต่างๆ ไปปรับใช้กับกิจการงานที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไป โดยมี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ตสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
สำหรับการเปลี่ยนแปลงระหว่างผังเมืองรวมเกาะภูเก็ต ปี 2548 กับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต ปี 2554 สรุป คือ มีการเพิ่มประเภทสีของพื้นที่ จากเดิม 13 ประเภท เป็น 16 ประเภท ที่เพิ่มใหม่ 3 ประเภท ได้แก่ สีฟ้า ประเภทที่โล่งเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการประมง สีฟ้ามีเส้นทแยงสีขาว ประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการ และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล และสีฟ้ามีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล ประเภทอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อกำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้วย
นายธนันท์ ตัณฑ์ไพบูลย์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต กล่าวถึงการจัดสัมมนาในครั้งนี้ ว่า เนื่องจากผังเมืองเดิมซึ่งประกาศใช้เมื่อปี 2548 ได้หมดอายุลงเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา และก่อนหน้านี้ได้มีการต่ออายุการบังคับใช้ออกไป 2 ปี เนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดทำผังเมืองใหม่ แต่ปรากฏว่าเมื่อใช้ไปได้ประมาณปีเศษ ก็มีการประกาศใช้ผังเมืองใหม่ คือ ผังเมืองจังหวัดภูเก็ต โดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2554
การประกาศใช้ผังเมืองใหม่ดังกล่าว มีประเด็นที่เป็นข้อสงสัยและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางของคนในพื้นที่ เพราะในรายละเอียดของผังเมืองใหม่นั้นดูเหมือนว่าจะทำให้การขยายตัวทางด้านการเจริญเติบโตของธุรกิจช้าไปหรือไม่
การกำหนดพื้นที่ในโซนสีต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะไปส่งผลให้การเติบโตช้าลงหรือไม่ และในบางประเด็นที่ประกาศใช้นั้นจะไปริดรอนสิทธิของประชาชนหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการพูดคุยกัน เช่น บางพื้นที่เดิมในผังเมืองภูเก็ตฉบับก่อนหน้านี้ระบุว่าสามารถจัดสรรได้ แต่เมื่อมีประกาศใช้กฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ใหม่กลับไม่สามารถดำเนินการจัดสรรได้ ซึ่งจุดนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเจ้าของที่ดิน
นอนจากนั้น ยังรวมไปถึงปัญหาการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อทำกิจการรอง ซึ่งมีการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ใครทำก่อนย่อมสามารถดำเนินการได้ก่อน แต่คนจะทำทำทีหลังไม่สามารถที่จะทำได้จึงเป็นการริดรอนสิทธิ์อย่างเห็นได้ชัด และจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมาก
นายธนันท์ กล่าวต่อไปว่า จากการที่ได้พูดคุยหารือกับผู้บริหารของกรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งบอกว่ากฎหมายเมื่อมีปัญหาสามารถที่จะแก้ไขได้ แต่ส่วนตัวมองว่ากระบวนการในการแก้กฎหมายนั้นช้ามาก ดังนั้น จึงอยากฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ในการออกกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นนั้นควรที่จะมีการบูรณาการร่วมกัน โดยจะต้องมีการเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมาร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
ทั้งนี้ ในการนำผังเมืองรวมมาบังคับใช้เป็นเรื่องที่ดี ในการที่จะควบคุมการเติบโตของเมือง แต่ภูเก็ตนั้นไม่ได้เติบโตแบบก้าวประโดด แต่เป็นการเติบโตตามสถานการณ์การท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นการกำหนดอะไรขึ้นมา ก็ควรที่จะให้คนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์ที่แท้จริง
ขณะที่นายบุญ ยงสกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภูเก็ตโบ๊ทลากูน จำกัด กล่าวว่า สำหรับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต ปี 2554 มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดี คือ ทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของการใช้ประโยชน์ในที่ดินแต่ละพื้นที่ แต่ข้อเสีย คือ เนื่องจากการดำเนินการโดยผู้ที่มาจากส่วนกลางทำให้ไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริงทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ ทำให้ข้อบังคับในบางประเด็นจึงก่อให้เกิดปัญหาและไม่เหมาะสมกับพื้นที่
ส่วนตัวมองว่าในระยะสั้นจะเกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการบางรายที่มีการวางแผนไว้ก่อนแล้วค่อนข้างมาก แต่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว โดยเฉพาะครั้งนี้จะมีการบังคับใช้ครอบคลุมไปถึงพื้นที่ในทะเลด้วย
นายไชยวัฒน์ เทพี ปลัดจังหวัดภูเก็ต ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “เจาะลึกผังเมืองรวม จังหวัดภูเก็ต ปี 54” ซึ่งสมาคมอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต จัดขึ้น ที่ห้องประชุมภูเก็ต แกรนด์ บอลรูม โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ.2554 ซึ่งประกาศเป็นกฎกระทรวง และมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่กฎหมายผังวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 โดยจะไปสิ้นสุดในวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้นำความรู้ต่างๆ ไปปรับใช้กับกิจการงานที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไป โดยมี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ตสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
สำหรับการเปลี่ยนแปลงระหว่างผังเมืองรวมเกาะภูเก็ต ปี 2548 กับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต ปี 2554 สรุป คือ มีการเพิ่มประเภทสีของพื้นที่ จากเดิม 13 ประเภท เป็น 16 ประเภท ที่เพิ่มใหม่ 3 ประเภท ได้แก่ สีฟ้า ประเภทที่โล่งเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการประมง สีฟ้ามีเส้นทแยงสีขาว ประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการ และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล และสีฟ้ามีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล ประเภทอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อกำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้วย
นายธนันท์ ตัณฑ์ไพบูลย์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต กล่าวถึงการจัดสัมมนาในครั้งนี้ ว่า เนื่องจากผังเมืองเดิมซึ่งประกาศใช้เมื่อปี 2548 ได้หมดอายุลงเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา และก่อนหน้านี้ได้มีการต่ออายุการบังคับใช้ออกไป 2 ปี เนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดทำผังเมืองใหม่ แต่ปรากฏว่าเมื่อใช้ไปได้ประมาณปีเศษ ก็มีการประกาศใช้ผังเมืองใหม่ คือ ผังเมืองจังหวัดภูเก็ต โดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2554
การประกาศใช้ผังเมืองใหม่ดังกล่าว มีประเด็นที่เป็นข้อสงสัยและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางของคนในพื้นที่ เพราะในรายละเอียดของผังเมืองใหม่นั้นดูเหมือนว่าจะทำให้การขยายตัวทางด้านการเจริญเติบโตของธุรกิจช้าไปหรือไม่
การกำหนดพื้นที่ในโซนสีต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะไปส่งผลให้การเติบโตช้าลงหรือไม่ และในบางประเด็นที่ประกาศใช้นั้นจะไปริดรอนสิทธิของประชาชนหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการพูดคุยกัน เช่น บางพื้นที่เดิมในผังเมืองภูเก็ตฉบับก่อนหน้านี้ระบุว่าสามารถจัดสรรได้ แต่เมื่อมีประกาศใช้กฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ใหม่กลับไม่สามารถดำเนินการจัดสรรได้ ซึ่งจุดนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเจ้าของที่ดิน
นอนจากนั้น ยังรวมไปถึงปัญหาการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อทำกิจการรอง ซึ่งมีการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ใครทำก่อนย่อมสามารถดำเนินการได้ก่อน แต่คนจะทำทำทีหลังไม่สามารถที่จะทำได้จึงเป็นการริดรอนสิทธิ์อย่างเห็นได้ชัด และจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมาก
นายธนันท์ กล่าวต่อไปว่า จากการที่ได้พูดคุยหารือกับผู้บริหารของกรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งบอกว่ากฎหมายเมื่อมีปัญหาสามารถที่จะแก้ไขได้ แต่ส่วนตัวมองว่ากระบวนการในการแก้กฎหมายนั้นช้ามาก ดังนั้น จึงอยากฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ในการออกกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นนั้นควรที่จะมีการบูรณาการร่วมกัน โดยจะต้องมีการเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมาร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
ทั้งนี้ ในการนำผังเมืองรวมมาบังคับใช้เป็นเรื่องที่ดี ในการที่จะควบคุมการเติบโตของเมือง แต่ภูเก็ตนั้นไม่ได้เติบโตแบบก้าวประโดด แต่เป็นการเติบโตตามสถานการณ์การท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นการกำหนดอะไรขึ้นมา ก็ควรที่จะให้คนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์ที่แท้จริง
ขณะที่นายบุญ ยงสกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภูเก็ตโบ๊ทลากูน จำกัด กล่าวว่า สำหรับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต ปี 2554 มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดี คือ ทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของการใช้ประโยชน์ในที่ดินแต่ละพื้นที่ แต่ข้อเสีย คือ เนื่องจากการดำเนินการโดยผู้ที่มาจากส่วนกลางทำให้ไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริงทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ ทำให้ข้อบังคับในบางประเด็นจึงก่อให้เกิดปัญหาและไม่เหมาะสมกับพื้นที่
ส่วนตัวมองว่าในระยะสั้นจะเกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการบางรายที่มีการวางแผนไว้ก่อนแล้วค่อนข้างมาก แต่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว โดยเฉพาะครั้งนี้จะมีการบังคับใช้ครอบคลุมไปถึงพื้นที่ในทะเลด้วย