ยะลา - กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จับมือศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดตั้งศูนย์ประสานงานคุ้มครองพยาน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศคต.) พร้อมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เน้นย้ำความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ
วันนี้ (5 ส.ค.) นายไพฑูรย์ สว่างกมล รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การให้ความรู้กฎหมายคุ้มครองพยาน” แก่หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยาน ณ ห้องประชุมยะลารวมใจ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ อ.เมือง จ.ยะลา
โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับผู้กำกับ รองผกก.สารวัตร ผู้เป็นหัวหน้าสถานี และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติด้านคดีประจำสถานีตำรวจ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประชุม จำนวน 120 คน
นายไพฑูรย์ สว่างกมล รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เปิดเผยว่า ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินคดีกับผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดจากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการเป็นพยาน ทั้งที่ได้รู้เห็นการกระทำความผิด โดยสาเหตุหลักที่ไม่ให้ความร่วมมือ เกิดจากความเกรงกลัวว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ทั้งนี้ เนื่องมาจาก ประชาชนในพื้นที่บางส่วนอาจยังไม่ได้รับทราบถึงสิทธิของตนเองในการเป็นพยานตามกฎหมาย ประกอบกับการให้ข้อมูลที่อาจยังไม่ทั่วถึงของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทุกภาคส่วนต่างได้ให้ความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังมาโดยตลอด
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงยุติธรรมที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม คุ้มครอง และสร้างหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพให้แก่ประชาชน จึงได้ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศชต.) ให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานคุ้มครองพยาน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศคต.)” ขึ้น ทำหน้าที่ประสานการปฏิบัติงานและรวมรวมข้อมูลระหว่างสองหน่วยงานและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่พยานในคดีอาญา ในการเริ่มต้นของการทำงานของศูนย์ ศคต. ยังมีปัญหาในการปฏิบัติงาน เกิดความล่าช้า ไม่สำเร็จลุล่วงตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองพยาน ทำความเข้าใจกฎหมายคุ้มครองพยานและสิทธิของพยานในคดีอาญา รวมถึงช่องทางการประสานการปฏิบัติดังกล่าว
วันนี้ (5 ส.ค.) นายไพฑูรย์ สว่างกมล รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การให้ความรู้กฎหมายคุ้มครองพยาน” แก่หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยาน ณ ห้องประชุมยะลารวมใจ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ อ.เมือง จ.ยะลา
โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับผู้กำกับ รองผกก.สารวัตร ผู้เป็นหัวหน้าสถานี และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติด้านคดีประจำสถานีตำรวจ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประชุม จำนวน 120 คน
นายไพฑูรย์ สว่างกมล รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เปิดเผยว่า ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินคดีกับผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดจากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการเป็นพยาน ทั้งที่ได้รู้เห็นการกระทำความผิด โดยสาเหตุหลักที่ไม่ให้ความร่วมมือ เกิดจากความเกรงกลัวว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ทั้งนี้ เนื่องมาจาก ประชาชนในพื้นที่บางส่วนอาจยังไม่ได้รับทราบถึงสิทธิของตนเองในการเป็นพยานตามกฎหมาย ประกอบกับการให้ข้อมูลที่อาจยังไม่ทั่วถึงของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทุกภาคส่วนต่างได้ให้ความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังมาโดยตลอด
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงยุติธรรมที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม คุ้มครอง และสร้างหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพให้แก่ประชาชน จึงได้ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศชต.) ให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานคุ้มครองพยาน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศคต.)” ขึ้น ทำหน้าที่ประสานการปฏิบัติงานและรวมรวมข้อมูลระหว่างสองหน่วยงานและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่พยานในคดีอาญา ในการเริ่มต้นของการทำงานของศูนย์ ศคต. ยังมีปัญหาในการปฏิบัติงาน เกิดความล่าช้า ไม่สำเร็จลุล่วงตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองพยาน ทำความเข้าใจกฎหมายคุ้มครองพยานและสิทธิของพยานในคดีอาญา รวมถึงช่องทางการประสานการปฏิบัติดังกล่าว