กระบี่ -คณะอนุกรรมการตรวจสอข้อมูลทำเนียบรัฐบาล ลงพื้นที่ จ.กระบี่ ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่อยู่อาศัย ผู้ประสบอุทกภัย ดินโคลนถล่ม เพื่อเร่งรัดการจัดสร้างบ้านเรือนประชาชนที่บ้านเสียหายทั้งหลัง เผยพบข้อมูลของทางราชการยังคลาดเคลื่อนกับของประชาชนประมาณ 30 ราย
วันนี้ ( 17 เม.ย.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัด กระบี่ พล.ต.ท.อุดม ชัยมงคลรัตน์ ผู้บัญชาการประจำสำนักนายรัฐมนตรี และมหาดไทย คณะกรรมการตรวจสอบข้อมูล สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม ติดตามสภาพข้อเท็จจริงที่อยู่อาศัยผู้ปประสบอุทกภัย และดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเร่งรัดการจัดสรร้างที่อยู่อาศัย ของประชาชนที่ประสบอุทกภัยและดินโคลนถล่มของประชาชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่
โดยมีนายสมาน แสงสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรายงานข้อมูลความเสียหายภายหลังเกิดอุทกภัยดินถล่มในพื้นที่จังหวัดกระบี่ในภาพรวม ซึ่งได้รับความเสียหายทั้ง8 อำเภอ 49 ตำบล 343 หมู่บ้าน ในจำนวนดังกล่าวมีบ้านเรือนได้รับความเสียหายทั้งหลัง จำนวน 143 หลังคาเรือน เสียหายบางส่วนและอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 83 หลัง เสียหายบางส่วนนอกพื้นที่เสี่ยง 578 หลัง บ้านเสียหายเล็กน้อย 3,968 หลัง
ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างบ้านพักชั่วคราวหรือบ้านน็อคดาวยกสูง ขนาด 3x4 ซึ่งมีอยู่ 70 หลัง บริเวณทางเข้าสวนป่าเขาพนม 15 หลัง โรงเรียนบ้านควนผึ้งต.หน้าเขา อ.เขาพนม จำนวน 44 หลัง ที่บ้านช่องไม้ดำ ต.คลองหิน อ.อ่าวลึก จำนวน 11 หลัง ที่บ้านเขาดิน ต.เขาดิน อ.เขาพนม จำนวน 5 หลัง ทั้งนี้ในส่วนความต้องการบ้านพักถาวรของผู้ประสบภัย ในอำเภอเมือง จำนวน 41 หลัง อำเภอเขาพนม 161 หลัง และอำเภออ่าวลึก 9 หลัง
พล.ต.ท.อุดม กล่าวว่า จากข้อมูลที่ได้รับรายงานจากส่วนราชการ พบว่า ชาวบ้านที่บ้านเสียหายทั้งหลัง มีอยู่จำนวน 143 ราย ซึ่งข้อมูลยังเขย่งกันอยู่ กับที่ได้รับมาจากประชาชนในพื่นที่ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 30 ราย ในวันนี้คณะอนุกรรมการจะได้ สอบถามข้อมูลจากประชาชนที่ประสบภัยโดยตรง และจะลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความเสียหายโดยละเอียดว่าเสียหายทั้งหลังจำนวนกี่หลัง เสียหายบางส่วนกี่หลัง จึงจะสามารถสรุปข้อมูลที่ชัดเจนได้
ในเรื่องของการสร้างบ้านถาวร ซึ่งได้แบบมาจากบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ขนาด 5x8 เมตร โดยทางกองพลทหาราบที่ 5 ได้ถอดแบบออกมาแล้ว แต่ในการประมาณการงบประมาณในการก่อสร้างคาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณม่เกิน 2.4 แสนบาท ขณะนี้ได้เงินบริจาคจำนวน 100 กว่าล้านบาท ซึ่งจะต้องสอบถามความพึงพอใจจากเจ้าของบ้านด้วย คาดว่าหลังจากได้ประชุมร่วมกับชาวบ้าน พร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสัมภาษณ์ชาวบ้านผู้ประสบภัย เพื่อจะได้สรุปข้อมูลที่ชัดเจนนำเสนอ ต่อคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือคชอ. เพื่อเร่งรัดในการดำนินการก่อสร้างบ้านให้ผู้ประสบภัยได้อยู่อาศัยโดยเร็วที่สุด