นครศรีธรรมราช - ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมประสานทำแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินพื้นที่ อ.นบพิตำ อ.สิชล ตั้งคณะกรรมการ 19 คณะลุยทำงานครอบคลุมทุกประเด็นปัญหาในช่วงฟื้นฟู
นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าในเรื่องของความเสียงในพื้นที่โซนป่าเขาของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะอำเภอสิชล และอำเภอนบพิตำ ซึ่งมีรอยแยกปรากฏอยู่หลายจุดบนพื้นที่ในเขตภูเขาซึ่งมีการแจ้งเตือนจาก คชอ. อย่างไรก็ตามในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำหนดจุดดังกล่าวเป็นพื้นที่อันตรายอยู่แล้ว ส่วนสำคัญในขณะนี้กำลังประสานกับทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมทรัพยากรธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณี กรมป่าไม้ นักวิชาการ ประชาชนในพื้นที่ มาร่วมกันทำแผนในเรื่องนี้ เพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินเพราะบทเรียนมีให้เห็นแล้ว โดยจะกำหนดพื้นที่เสี่ยงให้ชัดเจน หากเกิดเหตุการณ์จะรวมตรงไหน อพยพอย่างไร และจะร่วมกันกำหนดพื้นที่ปลอดภัยเพื่อรองรับการอพยพด้วย
นอกจากนี้ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้าแผนปฏิบัติการฟื้นฟูจะออกมา กล่าวคือ จะมีแผนรองรับใน 3 ส่วนคือ การเยียวยาสภาพจิตใจ การเร่งฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สาธารณูปโภคต่างๆ และสิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของอาชีพ โดยมีแผนระยะสั้น 1 เดือน 3 เดือน และแผน 1 ปี ออกมารอบรับโดยเฉพาะเรื่องของการเกษตรกรรมนั้น เราจะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางที่สำคัญในการฟื้นฟูอาชีพในพื้นที่นี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชยังกล่าวต่อว่า ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมาความเสียหายเกิดขึ้นเป็นวงกว้างครอบคลุมพื้นที่ 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,551 หมู่บ้าน รวมทั้งพื้นที่เน้นหนัก 2 อำเภอ คือ อำเภอนบพิตำ และอำเภอสิชล พื้นที่จำเป็นเร่งด่วนทั้ง 21 อำเภอ ทำให้พื้นที่ทางการเกษตร บ้านเรือนราษฎร สิ่งสาธารณประโยชน์ ระบบสาธารณูปโภค และอื่นๆ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การดำเนินการฟื้นฟู และพัฒนาพื้นที่อุทกภัยเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นการเร่งด่วนจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการฟื้นฟู และพัฒนาพื้นที่ประสบอุทกภัยของจังหวัดนครศรีธรรมราชรวม 19 คณะ
ประกอบด้วยคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านพื้นที่ทางการเกษตร, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านการประมง, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านการปศุสัตว์, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านการอาชีพ, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านสุขภาพและการอนามัย, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านครอบครัวและชุมชน, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านแหล่งท่องเที่ยว, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของประชาชน และด้านอื่นๆ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนในการกำหนดแผนเร่งรัดให้ความช่วยเหลือประชาชนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังบทพิสูจน์โครงการพัฒนาของในหลวงแก้ปัญหาชะงัด
สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยังมีน้ำท่วมขังพื้นที่อำเภอแถบอำเภอลุ่มน้ำปากพนัง ระดับน้ำท่วมเล็กน้อย คงตัว และลดลง คือ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ปากพนัง อ.เชียรใหญ่ รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ขณะนี้เริ่มคลี่คลาย คงเหลือเฉพาะในพื้นที่หมู่ที่ 2, 3, 12 ต.สวนหลวง จำนวน 300 ครัวเรือน ผลกระทบตอนนี้ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจะเป็นด้านการเกษตร โดยเฉพาะนาข้าวเสียหายเป็นจำนวนมาก
ในขณะที่นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราชในฐานะส.ส.พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเปิดเผยว่า พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นการพิสูจน์โครงการพระราชดำริ เป็นครั้งแรกที่แม่น้ำปากพนังไม่ท่วมขัง 3 เดือน เช่นในอดีตซึ่งลดลงได้ไม่กี่วันจากปกติต้อง 6 เดือน ตอนนี้ในพื้นที่ระดมเครื่องสูบน้ำดันน้ำลงทะเล ถนนสัญจรในหมู่บ้านทุกพื้นที่ไปได้หมดแล้ว ท่วมขังในพื้นที่อีกไม่ถึง10 เปอร์เซ็น โครงการนี้สามารถแก้ได้จริง หลังจากฝนตกไม่เกิน 15 วัน สามารถแก้ได้จริงบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้เป็นอย่างดี
นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าในเรื่องของความเสียงในพื้นที่โซนป่าเขาของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะอำเภอสิชล และอำเภอนบพิตำ ซึ่งมีรอยแยกปรากฏอยู่หลายจุดบนพื้นที่ในเขตภูเขาซึ่งมีการแจ้งเตือนจาก คชอ. อย่างไรก็ตามในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำหนดจุดดังกล่าวเป็นพื้นที่อันตรายอยู่แล้ว ส่วนสำคัญในขณะนี้กำลังประสานกับทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมทรัพยากรธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณี กรมป่าไม้ นักวิชาการ ประชาชนในพื้นที่ มาร่วมกันทำแผนในเรื่องนี้ เพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินเพราะบทเรียนมีให้เห็นแล้ว โดยจะกำหนดพื้นที่เสี่ยงให้ชัดเจน หากเกิดเหตุการณ์จะรวมตรงไหน อพยพอย่างไร และจะร่วมกันกำหนดพื้นที่ปลอดภัยเพื่อรองรับการอพยพด้วย
นอกจากนี้ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้าแผนปฏิบัติการฟื้นฟูจะออกมา กล่าวคือ จะมีแผนรองรับใน 3 ส่วนคือ การเยียวยาสภาพจิตใจ การเร่งฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สาธารณูปโภคต่างๆ และสิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของอาชีพ โดยมีแผนระยะสั้น 1 เดือน 3 เดือน และแผน 1 ปี ออกมารอบรับโดยเฉพาะเรื่องของการเกษตรกรรมนั้น เราจะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางที่สำคัญในการฟื้นฟูอาชีพในพื้นที่นี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชยังกล่าวต่อว่า ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมาความเสียหายเกิดขึ้นเป็นวงกว้างครอบคลุมพื้นที่ 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,551 หมู่บ้าน รวมทั้งพื้นที่เน้นหนัก 2 อำเภอ คือ อำเภอนบพิตำ และอำเภอสิชล พื้นที่จำเป็นเร่งด่วนทั้ง 21 อำเภอ ทำให้พื้นที่ทางการเกษตร บ้านเรือนราษฎร สิ่งสาธารณประโยชน์ ระบบสาธารณูปโภค และอื่นๆ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การดำเนินการฟื้นฟู และพัฒนาพื้นที่อุทกภัยเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นการเร่งด่วนจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการฟื้นฟู และพัฒนาพื้นที่ประสบอุทกภัยของจังหวัดนครศรีธรรมราชรวม 19 คณะ
ประกอบด้วยคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านพื้นที่ทางการเกษตร, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านการประมง, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านการปศุสัตว์, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านการอาชีพ, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านสุขภาพและการอนามัย, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านครอบครัวและชุมชน, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านแหล่งท่องเที่ยว, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์, คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาด้านที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของประชาชน และด้านอื่นๆ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนในการกำหนดแผนเร่งรัดให้ความช่วยเหลือประชาชนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังบทพิสูจน์โครงการพัฒนาของในหลวงแก้ปัญหาชะงัด
สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยังมีน้ำท่วมขังพื้นที่อำเภอแถบอำเภอลุ่มน้ำปากพนัง ระดับน้ำท่วมเล็กน้อย คงตัว และลดลง คือ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ปากพนัง อ.เชียรใหญ่ รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ขณะนี้เริ่มคลี่คลาย คงเหลือเฉพาะในพื้นที่หมู่ที่ 2, 3, 12 ต.สวนหลวง จำนวน 300 ครัวเรือน ผลกระทบตอนนี้ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจะเป็นด้านการเกษตร โดยเฉพาะนาข้าวเสียหายเป็นจำนวนมาก
ในขณะที่นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราชในฐานะส.ส.พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเปิดเผยว่า พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นการพิสูจน์โครงการพระราชดำริ เป็นครั้งแรกที่แม่น้ำปากพนังไม่ท่วมขัง 3 เดือน เช่นในอดีตซึ่งลดลงได้ไม่กี่วันจากปกติต้อง 6 เดือน ตอนนี้ในพื้นที่ระดมเครื่องสูบน้ำดันน้ำลงทะเล ถนนสัญจรในหมู่บ้านทุกพื้นที่ไปได้หมดแล้ว ท่วมขังในพื้นที่อีกไม่ถึง10 เปอร์เซ็น โครงการนี้สามารถแก้ได้จริง หลังจากฝนตกไม่เกิน 15 วัน สามารถแก้ได้จริงบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้เป็นอย่างดี