ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ศอ.บต.อุ้มนักศึกษาที่ถูกรีไทร์ 3,000 คน ในปีการศึกษา 2553 เตรียมดันเข้ารั้ววิทยาลัยชุมชน คุยรณรงค์ให้เรียนจบ ป.6 เรียน ม.1 ร้อยเปอร์เซ็นต์
นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่า ศอ.บต.ได้ขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยที่ให้โควตานักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าเรียน พบว่า มีนักศึกษาถูกรีไทร์ในการศึกษา 2553 มากกว่า 3,000 คน มาจากความไม่เข้าใจในภาษาเป็นสาเหตุแรก ทั้งๆ ที่เด็กกลุ่มที่ได้โควตานั้น เป็นเด็กเก่งจากโรงเรียนสอนศาสนา แต่เมื่อเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งมาตรฐานจะสูงกว่า ทำให้เด็กปรับตัวไม่ทันจึงกลายเป็นปัญหา
ในระยะแรก ศอ.บต.เข้าไปให้การช่วยเหลือและดูแลเด็กเกือบ 500 คนเป็นกรณีพิเศษ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปพบนักศึกษาปี 1 ที่ถูกรีไทร์ เพื่อทำประวัติและสอบถามเรื่องการเรียน ว่า จะเรียนต่อหรือไม่ แล้วจะเลือกเรียนคณะ สาขาอะไร หรือจะทำงานก่อน เพราะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวิทยาลัยชุมชนและมหาวิทยาลัยรองรับอยู่ ส่วนเด็กอีก 2,000 กว่าคนจะไม่ทอดทิ้ง หากไม่เข้าอุ้มก็อาจจะกลายเป็นปัญหาตามมาหลายประการ
“ปัญหาผลการเรียนต่ำในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องแก้ไขตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และจะรณรงค์ให้นักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนปอเนาะ โรงเรียนสามัญและโรงเรียนขยายโอกาสให้ครบ 100% พร้อมกับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้เข้าใจสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง” นายภาณุ กล่าว
นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่า ศอ.บต.ได้ขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยที่ให้โควตานักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าเรียน พบว่า มีนักศึกษาถูกรีไทร์ในการศึกษา 2553 มากกว่า 3,000 คน มาจากความไม่เข้าใจในภาษาเป็นสาเหตุแรก ทั้งๆ ที่เด็กกลุ่มที่ได้โควตานั้น เป็นเด็กเก่งจากโรงเรียนสอนศาสนา แต่เมื่อเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งมาตรฐานจะสูงกว่า ทำให้เด็กปรับตัวไม่ทันจึงกลายเป็นปัญหา
ในระยะแรก ศอ.บต.เข้าไปให้การช่วยเหลือและดูแลเด็กเกือบ 500 คนเป็นกรณีพิเศษ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปพบนักศึกษาปี 1 ที่ถูกรีไทร์ เพื่อทำประวัติและสอบถามเรื่องการเรียน ว่า จะเรียนต่อหรือไม่ แล้วจะเลือกเรียนคณะ สาขาอะไร หรือจะทำงานก่อน เพราะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวิทยาลัยชุมชนและมหาวิทยาลัยรองรับอยู่ ส่วนเด็กอีก 2,000 กว่าคนจะไม่ทอดทิ้ง หากไม่เข้าอุ้มก็อาจจะกลายเป็นปัญหาตามมาหลายประการ
“ปัญหาผลการเรียนต่ำในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องแก้ไขตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และจะรณรงค์ให้นักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนปอเนาะ โรงเรียนสามัญและโรงเรียนขยายโอกาสให้ครบ 100% พร้อมกับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้เข้าใจสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง” นายภาณุ กล่าว