ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เทศบาลนครภูเก็ตศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด ระบบกำจัดขยะแบบศูนย์รวม รองรับปริมาณขยะที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ตันต่อปีในปี 2563
ที่ห้องประชุมกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม (โรงเตาเผาขยะ) เทศบาลนครภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นาย ถาวร จิรพัฒนโสภณ รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เป็นประธานเปิดโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดระบบกำจัดขยะรวม เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2553 เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น โดยมีประธานชุมชน ผู้ประกอบการค้า ประชาคมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้แทนโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม
นาย ถาวร กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี และในแต่ละปีจำนวนนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนในจังหวัดภูเก็ตมีจำนวนมากกว่า 5 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคไว้รองรับ การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
จากการสำรวจข้อมูลสถิติพบว่า จังหวัดภูเก็ตมีปริมาณขยะเข้าสู่ศูนย์กำจัดขยะเฉลี่ยวันละ 530 ตัน และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปี หากไม่สามารถลดอัตราการเพิ่มขึ้นของขยะได้ คาดว่าในปี พ.ศ.2563 จะมีขยะเพิ่มขึ้น 1,000 ตันต่อวัน
ปัจจุบันการกำจัดขยะของจังหวัดภูเก็ต แบ่งเป็นพื้นที่ฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล 134 ไร่ โรงเตาเผาขยะชุมชนขนาด 250 ตัน 46 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่สำหรับบ่อบำบัดน้ำชะขยะและระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยเตาเผาขยะที่มีอยู่นั้นถูกใช้งานมากกว่า 10 ปี ทำให้ประสิทธิภาพในการเผาขยะไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพื่อปรับปรุงและซ่อมเปลี่ยน (Overhaul) เครื่องจักรที่เสื่อมสภาพ
ดังนั้น เพื่อให้โรงเตาเผาขยะมูลฝอยมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ตจึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ศึกษาความเหมาะสม การออกแบบรายละเอียด ระบบการกำจัดขยะรวม เพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดระบบกำจัดขยะแบบศูนย์รวม การศึกษาความเหมาะสมเทคโนโลยีการฝังกลบขยะมูลฝอยชุมชน ด้วยกระบวนการชีวภาพ-กล (BMT)
การรื้อบ่อฝังกลบเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานสะอาด และออกแบบรายละเอียด (Detail Design) ซึ่งต้องเป็นเทคโนโลยีที่สามารถกำจัดมูลฝอยชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม มีการเก็บคืนพลังงานมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด มีความเป็นไปได้ในการลงทุนและการคืนทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการศึกษาแนวทางการปรับปรุงเตาเผาขยะชุดเดิมเพื่อยืดอายุการใช้งาน ตลอดจนเพิ่มเติมหัวเผาเพื่อให้สามารถรองรับการกำจัดขยะในปริมาณ 500 ตันต่อวัน
ที่ห้องประชุมกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม (โรงเตาเผาขยะ) เทศบาลนครภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นาย ถาวร จิรพัฒนโสภณ รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เป็นประธานเปิดโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดระบบกำจัดขยะรวม เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2553 เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น โดยมีประธานชุมชน ผู้ประกอบการค้า ประชาคมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้แทนโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม
นาย ถาวร กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี และในแต่ละปีจำนวนนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนในจังหวัดภูเก็ตมีจำนวนมากกว่า 5 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคไว้รองรับ การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
จากการสำรวจข้อมูลสถิติพบว่า จังหวัดภูเก็ตมีปริมาณขยะเข้าสู่ศูนย์กำจัดขยะเฉลี่ยวันละ 530 ตัน และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปี หากไม่สามารถลดอัตราการเพิ่มขึ้นของขยะได้ คาดว่าในปี พ.ศ.2563 จะมีขยะเพิ่มขึ้น 1,000 ตันต่อวัน
ปัจจุบันการกำจัดขยะของจังหวัดภูเก็ต แบ่งเป็นพื้นที่ฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล 134 ไร่ โรงเตาเผาขยะชุมชนขนาด 250 ตัน 46 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่สำหรับบ่อบำบัดน้ำชะขยะและระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยเตาเผาขยะที่มีอยู่นั้นถูกใช้งานมากกว่า 10 ปี ทำให้ประสิทธิภาพในการเผาขยะไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพื่อปรับปรุงและซ่อมเปลี่ยน (Overhaul) เครื่องจักรที่เสื่อมสภาพ
ดังนั้น เพื่อให้โรงเตาเผาขยะมูลฝอยมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ตจึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ศึกษาความเหมาะสม การออกแบบรายละเอียด ระบบการกำจัดขยะรวม เพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดระบบกำจัดขยะแบบศูนย์รวม การศึกษาความเหมาะสมเทคโนโลยีการฝังกลบขยะมูลฝอยชุมชน ด้วยกระบวนการชีวภาพ-กล (BMT)
การรื้อบ่อฝังกลบเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานสะอาด และออกแบบรายละเอียด (Detail Design) ซึ่งต้องเป็นเทคโนโลยีที่สามารถกำจัดมูลฝอยชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม มีการเก็บคืนพลังงานมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด มีความเป็นไปได้ในการลงทุนและการคืนทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการศึกษาแนวทางการปรับปรุงเตาเผาขยะชุดเดิมเพื่อยืดอายุการใช้งาน ตลอดจนเพิ่มเติมหัวเผาเพื่อให้สามารถรองรับการกำจัดขยะในปริมาณ 500 ตันต่อวัน