กรมประมงเตรียมประกาศปิดอ่าว ประจวบฯ ชุมพร สุราษฎร์ฯ ระหว่างวันที่ 15 ก.พ.-15 พ.ค.นี้ เปิดโอกาสให้สัตว์น้ำได้แพร่ขยายพันธุ์ตามฤดูกาล ขอความร่วมมือชาวประมงปฏิบัติตามกฎหมาย หากทำผิดจับกุมทันทีไม่มีการผ่อนผัน
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงเตรียมจัดพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ฝั่งทะเลอ่าวไทย (ปิดอ่าวฝั่งทะเลไทย) ประจำปี 2554 ในช่วงระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม 2554 รวมระยะเวลา 3 เดือน มีผลบังคับใช้ในอาณาเขตพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตรของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี โดยการกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิด ที่อาจส่งผลต่อการแพร่พันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์และสัตว์น้ำวัยอ่อนในท้องทะเลอ่าวไทย โดยเฉพาะ “ปลาทู” สัตว์น้ำที่มีคุณค่าและความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศที่จำเป็นจะต้องดูแลรักษาทรัพยากรเหล่านี้ให้มีอยู่อย่างยั่งยืน ตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550
สำหรับเครื่องมือทำการประมงต้องห้ามตามประกาศฉบับนี้ ได้แก่
(1) เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกล ยกเว้นเครื่องมืออวนลากที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวที่ความยาวเรือไม่เกิน 16 เมตร ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืน (ตั้งแต่เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น)
(2) เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมงด้วยวิธีล้อมติดปลาทูหรือด้วยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน
(3) เครื่องมืออวนติดตาทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง ยกเว้น
ก. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่วางเครื่องกลางลำไม่มีเก๋ง (หลังคา) ขนาดความยาวเรือไม่เกิน 14 เมตร หรือการใช้เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือ ยนต์เพลาใบจักรยาว
ข. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลและเครื่องมือกว๊าน ช่วยในการทำการประมงโดยใช้อวนที่มีขนาดความลึกอวนไม่เกิน 70 ช่องตาอวน ความยาวอวนตั้งแต่ 4,000 เมตร ลงมาในขณะทำการประมงแต่ละครั้ง ทำการประมงในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 15 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคมของทุกปี
กรณีใช้อวนตามข้อ ข. วรรคแรกซึ่งมีความยาวอวนเกินกว่า 4,000 เมตร ขึ้นไป ในขณะทำการประมงในแต่ละครั้ง ห้ามใช้เครื่องมือกว้านช่วยในการทำการประมง การนับ ความยาวอวนให้นับความยาวอวนทั้งหมดรวมกันขณะทำการประมง
(4) เครื่องมืออวนล้อมจับทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง
(5) เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงปลากะตัก
(6) เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่มีขนาดความยาวเรือเกินกว่า 14 เมตรขึ้นไป
ในการวัดขนาดความยาวของเรือกลที่ใช้ประกอบกับเครื่องมือทำการประมง ตามความในประกาศนี้ให้ใช้วิธีการวัดขนาดความยาวเรือตลอดลำ (Length Over All) หรือ (L.O.A.) คือ วัดความยาวเรือทั้งหมด วัดสุดหัวถึงสุดท้าย
บทกำหนดโทษ หากมีชาวประมงรายใดฝ่าฝืนใช้เครื่องมือต้องห้ามทำการประมงในพื้นที่ที่ได้ประกาศปิดอ่าวฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 1 หมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
อนึ่ง จากข้อมูลการศึกษาวิจัยยังคงพบว่าช่วงระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 15 พฤษภาคมของทุกปี ในท้องทะเลบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ยังคงเป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำหลายชนิด และจากการเก็บข้อมูลจำนวนประชากรสัตว์น้ำในช่วงหลังฤดูกาลปิดอ่าวฯ เมื่อปี 2553 พบว่าปริมาณการจับสัตว์น้ำได้มีจำนวนมากถึง 43,115.1 ตัน ซึ่งมากกว่าช่วงก่อนปิดอ่าวฯ กว่าเท่าตัว (ก่อนปิดอ่าวฯ จำนวน 20,771.5 ตัน) จึงแสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวนี้สามารถสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องทะเลให้คืนกลับมาได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชาวประมงมีรายได้ในการประกอบอาชีพได้อย่างดี
อย่างไรก็ตาม การประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวฯ ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ในเรื่องของการลดหรือขยายระยะเวลาในการบังคับใช้มาตรการปิดอ่าวฯ ซึ่งต้องมีการหารือร่วมกันต่อไป นอกจากนี้ ยังมีปัญหาของการลักลอบทำการประมงด้วยเครื่องมือต้องห้าม จึงขอให้ชาวประมงปฏิบัติตามกฎระเบียบ และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ มิใช่เพื่อประโยชน์ของคนหนึ่งคนใด แต่เป็นประโยชน์ของพวกเราและลูกหลานของเราทุกคนที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืนตลอดไป และขอเชิญชวนร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีประกาศปิดอ่าว (ฝั่งทะเลอ่าวไทย) ประจำปี 2554 ในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ณ บริเวณท่าเทียบเรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตำบลท่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงเตรียมจัดพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ฝั่งทะเลอ่าวไทย (ปิดอ่าวฝั่งทะเลไทย) ประจำปี 2554 ในช่วงระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม 2554 รวมระยะเวลา 3 เดือน มีผลบังคับใช้ในอาณาเขตพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตรของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี โดยการกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิด ที่อาจส่งผลต่อการแพร่พันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์และสัตว์น้ำวัยอ่อนในท้องทะเลอ่าวไทย โดยเฉพาะ “ปลาทู” สัตว์น้ำที่มีคุณค่าและความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศที่จำเป็นจะต้องดูแลรักษาทรัพยากรเหล่านี้ให้มีอยู่อย่างยั่งยืน ตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550
สำหรับเครื่องมือทำการประมงต้องห้ามตามประกาศฉบับนี้ ได้แก่
(1) เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกล ยกเว้นเครื่องมืออวนลากที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวที่ความยาวเรือไม่เกิน 16 เมตร ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืน (ตั้งแต่เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น)
(2) เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมงด้วยวิธีล้อมติดปลาทูหรือด้วยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน
(3) เครื่องมืออวนติดตาทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง ยกเว้น
ก. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่วางเครื่องกลางลำไม่มีเก๋ง (หลังคา) ขนาดความยาวเรือไม่เกิน 14 เมตร หรือการใช้เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือ ยนต์เพลาใบจักรยาว
ข. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลและเครื่องมือกว๊าน ช่วยในการทำการประมงโดยใช้อวนที่มีขนาดความลึกอวนไม่เกิน 70 ช่องตาอวน ความยาวอวนตั้งแต่ 4,000 เมตร ลงมาในขณะทำการประมงแต่ละครั้ง ทำการประมงในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 15 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคมของทุกปี
กรณีใช้อวนตามข้อ ข. วรรคแรกซึ่งมีความยาวอวนเกินกว่า 4,000 เมตร ขึ้นไป ในขณะทำการประมงในแต่ละครั้ง ห้ามใช้เครื่องมือกว้านช่วยในการทำการประมง การนับ ความยาวอวนให้นับความยาวอวนทั้งหมดรวมกันขณะทำการประมง
(4) เครื่องมืออวนล้อมจับทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง
(5) เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงปลากะตัก
(6) เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่มีขนาดความยาวเรือเกินกว่า 14 เมตรขึ้นไป
ในการวัดขนาดความยาวของเรือกลที่ใช้ประกอบกับเครื่องมือทำการประมง ตามความในประกาศนี้ให้ใช้วิธีการวัดขนาดความยาวเรือตลอดลำ (Length Over All) หรือ (L.O.A.) คือ วัดความยาวเรือทั้งหมด วัดสุดหัวถึงสุดท้าย
บทกำหนดโทษ หากมีชาวประมงรายใดฝ่าฝืนใช้เครื่องมือต้องห้ามทำการประมงในพื้นที่ที่ได้ประกาศปิดอ่าวฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 1 หมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
อนึ่ง จากข้อมูลการศึกษาวิจัยยังคงพบว่าช่วงระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 15 พฤษภาคมของทุกปี ในท้องทะเลบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ยังคงเป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำหลายชนิด และจากการเก็บข้อมูลจำนวนประชากรสัตว์น้ำในช่วงหลังฤดูกาลปิดอ่าวฯ เมื่อปี 2553 พบว่าปริมาณการจับสัตว์น้ำได้มีจำนวนมากถึง 43,115.1 ตัน ซึ่งมากกว่าช่วงก่อนปิดอ่าวฯ กว่าเท่าตัว (ก่อนปิดอ่าวฯ จำนวน 20,771.5 ตัน) จึงแสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวนี้สามารถสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องทะเลให้คืนกลับมาได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชาวประมงมีรายได้ในการประกอบอาชีพได้อย่างดี
อย่างไรก็ตาม การประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวฯ ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ในเรื่องของการลดหรือขยายระยะเวลาในการบังคับใช้มาตรการปิดอ่าวฯ ซึ่งต้องมีการหารือร่วมกันต่อไป นอกจากนี้ ยังมีปัญหาของการลักลอบทำการประมงด้วยเครื่องมือต้องห้าม จึงขอให้ชาวประมงปฏิบัติตามกฎระเบียบ และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ มิใช่เพื่อประโยชน์ของคนหนึ่งคนใด แต่เป็นประโยชน์ของพวกเราและลูกหลานของเราทุกคนที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืนตลอดไป และขอเชิญชวนร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีประกาศปิดอ่าว (ฝั่งทะเลอ่าวไทย) ประจำปี 2554 ในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ณ บริเวณท่าเทียบเรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตำบลท่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร