กระบี่ - ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จ.กระบี่ เผย ปี 53 ที่ผ่านมา ผลผลิตกุ้งลดลง 15% สาเหตุเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ และเกิดโรคขี้ขาวในกุ้ง คาดปี 54 นี้ ผลผลิตกุ้งจะกลับมาเท่ากับปี 52 ราคาจูงใจเกษตรกรยังทนเลี้ยง
นายปกครอง เกิดสุข ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพื้นที่การเลี้ยงกุ้ง 6 จังหวัดภาคใต้ในฝั่งอันดามัน ในปี 2553 มี จำนวน 4 หมื่นไร่ เป็นการเลี้ยงกุ้งขาว 99% และกุ้งกุลาดำ 1% ผลผลิตกุ้งที่ได้รวมแล้วอยู่ที่ 100,000 ตัน ผลผลิตน้อยกว่าปี 52 ซึ่งมีผลผลิตกุ้งอยู่ที่ 110,7000 ตัน หรือลดลง 15% สาเหตุเนื่องจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ทำให้อากาศแล้งจัด ฝนตกน้อย ทำให้ความเค็มในบ่อกุ้งเพิ่มขึ้น ประกอบกับการป้องกันโรคไม่ดีพอ ทำให้เกิดโรคขี้ขาวขึ้นในทุกจังหวัดฝั่งอันดามัน รวมถึงจังหวัดกระบี่ด้วย เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปริมาณผลผลิตกุ้งลดลง
นายปกครอง กล่าวอีกว่า สำหรับในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ในปี 2553 มีพื้นที่เลี้ยงกุ้งประมาณ 1 หมื่นไร่ ผลผลิตกุ้งประมาณ 28,000 ตัน ผลผลิตลดลงจากปี 2552 ประมาณ 12% ผลิตได้ประมาณ 30,000 ตัน แต่ในปี 2554 นี้ คาดว่า ผลผลิตกุ้งน่าจะกลับมามีปริมาณเท่ากับปี 2552 เพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเตรียมพร้อมในการป้องกัน คือ มีสร้างบ่อพักน้ำมากขึ้น ทำบ่อให้สะอาดมีการฆ่าเชื้อในน้ำ โดยใช้สารเคมีที่ไม่กระทบต่อผู้บริโภค และลดปริมาณความหนาแน่นของกุ้งให้มีความเหมาะสม โดยตลาดหลักที่มีการส่งออกกุ้งขาวอันดับ 1 ยังคงเป็นตลาดในประเทศอเมริกา ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ก็ยังมีในแถบประเทศเอเชีย ได้แก่ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี และตลาดในแถบประเทศยุโรป
ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า กุ้งไทยถือเป็นครัวโลกประเภทหนึ่งที่ยังครองตลาด เพียงแต่บางช่วงเวลาจะเจอปัญหาในด้านความแปรปรวนของธรรมชาติและโรคระบาด แต่ก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้
สำหรับราคากุ้งในปัจจุบันนั้น ราคาขายที่หน้าบ่อขนาด 40 ตัวต่อ 1 กก.จะได้ราคา 200 บาท กุ้งขนาด 50 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 170 บาท กุ้งขนาด 60 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 140 บาท กุ้งขนาด 70 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 130 บาท และกุ้งขนาด 80 ตัวต่อ 1 กก.จะได้ราคา 120 บาท ถือว่าราคาค่อนข้างดี ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะประสบกับปัญหาโรคขี้ขาว และปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่ก็ยังไม่หยุดเลี้ยงเนื่องจากราคาดี
นายปกครอง เกิดสุข ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพื้นที่การเลี้ยงกุ้ง 6 จังหวัดภาคใต้ในฝั่งอันดามัน ในปี 2553 มี จำนวน 4 หมื่นไร่ เป็นการเลี้ยงกุ้งขาว 99% และกุ้งกุลาดำ 1% ผลผลิตกุ้งที่ได้รวมแล้วอยู่ที่ 100,000 ตัน ผลผลิตน้อยกว่าปี 52 ซึ่งมีผลผลิตกุ้งอยู่ที่ 110,7000 ตัน หรือลดลง 15% สาเหตุเนื่องจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ทำให้อากาศแล้งจัด ฝนตกน้อย ทำให้ความเค็มในบ่อกุ้งเพิ่มขึ้น ประกอบกับการป้องกันโรคไม่ดีพอ ทำให้เกิดโรคขี้ขาวขึ้นในทุกจังหวัดฝั่งอันดามัน รวมถึงจังหวัดกระบี่ด้วย เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปริมาณผลผลิตกุ้งลดลง
นายปกครอง กล่าวอีกว่า สำหรับในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ในปี 2553 มีพื้นที่เลี้ยงกุ้งประมาณ 1 หมื่นไร่ ผลผลิตกุ้งประมาณ 28,000 ตัน ผลผลิตลดลงจากปี 2552 ประมาณ 12% ผลิตได้ประมาณ 30,000 ตัน แต่ในปี 2554 นี้ คาดว่า ผลผลิตกุ้งน่าจะกลับมามีปริมาณเท่ากับปี 2552 เพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเตรียมพร้อมในการป้องกัน คือ มีสร้างบ่อพักน้ำมากขึ้น ทำบ่อให้สะอาดมีการฆ่าเชื้อในน้ำ โดยใช้สารเคมีที่ไม่กระทบต่อผู้บริโภค และลดปริมาณความหนาแน่นของกุ้งให้มีความเหมาะสม โดยตลาดหลักที่มีการส่งออกกุ้งขาวอันดับ 1 ยังคงเป็นตลาดในประเทศอเมริกา ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ก็ยังมีในแถบประเทศเอเชีย ได้แก่ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี และตลาดในแถบประเทศยุโรป
ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า กุ้งไทยถือเป็นครัวโลกประเภทหนึ่งที่ยังครองตลาด เพียงแต่บางช่วงเวลาจะเจอปัญหาในด้านความแปรปรวนของธรรมชาติและโรคระบาด แต่ก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้
สำหรับราคากุ้งในปัจจุบันนั้น ราคาขายที่หน้าบ่อขนาด 40 ตัวต่อ 1 กก.จะได้ราคา 200 บาท กุ้งขนาด 50 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 170 บาท กุ้งขนาด 60 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 140 บาท กุ้งขนาด 70 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 130 บาท และกุ้งขนาด 80 ตัวต่อ 1 กก.จะได้ราคา 120 บาท ถือว่าราคาค่อนข้างดี ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะประสบกับปัญหาโรคขี้ขาว และปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่ก็ยังไม่หยุดเลี้ยงเนื่องจากราคาดี