ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - จังหวัดสงขลานำคณะสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในพื้นที่กว่า 50 คน เยี่ยมชมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน
วันนี้ (5 มี.ค.) จังหวัดสงขลานำคณะสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ของจังหวัดสงขลา กว่า 50 คน เยี่ยมชมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน หรือโครงการชุมชนพอเพียงของจังหวัด โดยลงพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เยี่ยมชมโครงการที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนที่สามารถดำเนินการได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกในชุมชนอย่างแท้จริง สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชุมชนอื่นๆ ได้ จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย โครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพบ้าน สะพานไม้แก่น หมู่ที่ 1 ตำบลสะพานไม้แก่น และโครงการติดตั้งระบบน้ำเพื่อการเกษตรรอบครัวเรือน บ้านหัวควน หมู่ที่ 11 ตำบลท่าหมอไทร
โครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพบ้านไม้แก่น ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน จำนวน 300 ,000 บาท เริ่มดำเนินโครงการ ในปี 2552 โดยการรวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพทีใ ช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เน้นการผลิตปุ๋ยใช้เองในหมู่สมาชิก ซึ่งสามารถลดต้นทุนในการทำการเกษตรได้เป็นจำนวนมาก เช่น สามา รถใช้ปุ๋ยที่ผลิตได้เอง ทดแทนปุ๋ยเคมีที่เคยใช้กับยางพาราซึ่งเป็นอาชีพหลัก โดยจากเดิม ใช้ปุ๋ยเคมีต้นละ 1 กิโลกรัมต่อปี ราคากิโลกรัมละ 25 บาท แต่ขณะนี้ใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตได้แทน โดยให้ปุ๋ยต้นละ 2 กิโลกรัมต่อปี แต่มีราคาเพียง 14 บาทนั้น ประสิทธิภาพในการบำรุงต้นยางพารามีเท่ากัน แต่สามารถฟื้นฟูสภาพดินและประหยัดกว่ามาก วันนี้ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตได้เป็นที่นิยมของสมาชิกจนไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการ
โครงการติดตั้งระบบน้ำเพื่อการเกษตรรอบครัวเรือน หมู่ที่ 11 ตำบลท่าหมอไทร เป็นโค รงการที่มุ่งหวังให้สมาชิกในหมู่บ้านได้มีน้ำใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค แล ะแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากที่เคยประสบมาก่อนหน้านี้ โดยการวางท่อส่งน้ำประปาภูเขา ความยาว 1,800 เมตร เชื่อมต่อมาจากระบบประปาภูเขาของหมู่บ้านข้างเคียง เข้าสู่ระบบการจ่ายน้ำในระดับครัวเรือน ใช้งบประมาณจากโครงการชุมชนพอเพียง จำนวน 200,000 บาท หลังจากมีระบบน้ำที่สมบูรณ์ ชุมชนบ้านหัวควนได้ส่งเสริมให้สมาชิกทำการเกษตรแบบพอเพียง เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา ปลูกผักสวนครัว รอบๆ ครัวเรือนอย่างกว้างขวาง
จนถึงขณะนี้ทุกครัวเรือนมีผลิตผลทางการเกษตรไว้สำหรับบริโภค โดยไม่ต้องซื้อหาจากภายนอก มีเหลือก็แบ่งปันเพื่อนบ้าน หรnอนำไปจำหน่ายที่ตลาดของชุมชน สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนลงได้กว่า 70% ทำให้สมาชิกอยู่ดีกินดี ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สมควรอย่างยิ่งที่ได้เป็นแบบอ ย่างของหมู่บ้าน/ชุมชนอื่นๆ ทั่วไป