ตรัง - ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดตรัง ตรวจสอบหอเตือนภัย จำนวน 23 จุด ใช้การได้ดีทั้งหมด ชี้ ปชช.อย่างตื่นตระหนกแม้จะมีข่าวสึนามิเกิดขึ้นหลายประเทศ
นายโส เหมกุล ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดตรัง กล่าวว่า ในส่วนของการติดตั้งหอเตือนภัยของจังหวัดตรัง เพื่อรับมือเกี่ยวกับภัยคลื่นยักษ์สึนามิ หลังจากที่มีข่าวคราวเกิดขึ้นมาบ่อยครั้งในหลายประเทศนั้น โดยภาพรวมของจังหวัดตรัง ปัจจุบันนี้ได้ติดตั้งไปแล้ว 23 จุดและได้รับงบประมาณสนับสนุนกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี
โดยใน 23 จุดดังกล่าว ได้นำไปติดตั้งใน 4 อำเภอ คือ อ.กันตัง 7 จุด อ.สิเกา 7 จุด อ.ปะเหลียน 7 จุด และอ.หาดสำราญ 2 จุด ซึ่งในการก่อสร้างและติดตั้งได้แบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 2549 ติดตั้งไป 11 จุด และปี 2552 ติดตั้งไป 12 จุด ในพื้นที่เสี่ยงภัย
โดยล่าสุดจังหวัดตรัง ได้รับงบประมาณให้ติดตั้งเพิ่มเติม 2 จุด ที่บริเวณท่าเทียบเรือหาดปากเมง อ.สิเกา และพื้นที่หมู่ 1 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง แห่งละ 1 จุด ซึ่งคิดว่าคงครอบคลุมพื้นที่ที่เสี่ยงภัยคลื่นยักษ์สึนามิ และคงครอบคลุมสำหรับพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัย ซึ่งทั้ง 23 จุดที่ติดตั้งไปก่อนหน้านี้ ได้ทำการทดสอบทุกปี ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
นายโส เหมกุล กล่าวต่อว่า หลังจากได้รับสัญญาณจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ก็จะมีการอพยพประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ไปอยู่ในสถานที่ที่ท้องถิ่นจัดเตรียมไว้ ซึ่งผลจากการทดสอบแล้วพบว่า เครื่องเตือนภัยทุกตัวสามารถใช้การได้ทั้งหมด โดยแต่ละจุดใช้งบประมาณในการติดตั้ง 2 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการเกิดแผ่นดินไหวเกือบทุกวัน แต่อาจจะไม่รุนแรงมากนัก แต่มั่นใจว่าหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา จะไม่มีปัญหาอะไร เพราะทางสำนักงานได้อบรมจัดตั้งกลุ่มเฝ้าระวังภัยพิบัติต่างๆ ขึ้น โดยจะให้กลุ่มนี้คอยทำหน้าที่แจ้งเตือน บริหารจัดการ หรือให้ความช่วยเหลือประชาชน
จึงฝากไปถึงพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้คอยระวัง รับฟังข่าวสารจากทางราชการ และต้องตื่นตัวแต่อย่าตกใจ หากมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมา ขอให้ตั้งสติและหลบไปอยู่ในที่ปลอดภัย ในเรื่องของทรัพย์สินอาจจะไม่สามารถเอาไปได้ทัน แต่เรื่องของชีวิตต้องเน้นความปลอดภัยไว้ก่อน
นายโส เหมกุล ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดตรัง กล่าวว่า ในส่วนของการติดตั้งหอเตือนภัยของจังหวัดตรัง เพื่อรับมือเกี่ยวกับภัยคลื่นยักษ์สึนามิ หลังจากที่มีข่าวคราวเกิดขึ้นมาบ่อยครั้งในหลายประเทศนั้น โดยภาพรวมของจังหวัดตรัง ปัจจุบันนี้ได้ติดตั้งไปแล้ว 23 จุดและได้รับงบประมาณสนับสนุนกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี
โดยใน 23 จุดดังกล่าว ได้นำไปติดตั้งใน 4 อำเภอ คือ อ.กันตัง 7 จุด อ.สิเกา 7 จุด อ.ปะเหลียน 7 จุด และอ.หาดสำราญ 2 จุด ซึ่งในการก่อสร้างและติดตั้งได้แบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 2549 ติดตั้งไป 11 จุด และปี 2552 ติดตั้งไป 12 จุด ในพื้นที่เสี่ยงภัย
โดยล่าสุดจังหวัดตรัง ได้รับงบประมาณให้ติดตั้งเพิ่มเติม 2 จุด ที่บริเวณท่าเทียบเรือหาดปากเมง อ.สิเกา และพื้นที่หมู่ 1 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง แห่งละ 1 จุด ซึ่งคิดว่าคงครอบคลุมพื้นที่ที่เสี่ยงภัยคลื่นยักษ์สึนามิ และคงครอบคลุมสำหรับพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัย ซึ่งทั้ง 23 จุดที่ติดตั้งไปก่อนหน้านี้ ได้ทำการทดสอบทุกปี ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
นายโส เหมกุล กล่าวต่อว่า หลังจากได้รับสัญญาณจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ก็จะมีการอพยพประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ไปอยู่ในสถานที่ที่ท้องถิ่นจัดเตรียมไว้ ซึ่งผลจากการทดสอบแล้วพบว่า เครื่องเตือนภัยทุกตัวสามารถใช้การได้ทั้งหมด โดยแต่ละจุดใช้งบประมาณในการติดตั้ง 2 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการเกิดแผ่นดินไหวเกือบทุกวัน แต่อาจจะไม่รุนแรงมากนัก แต่มั่นใจว่าหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา จะไม่มีปัญหาอะไร เพราะทางสำนักงานได้อบรมจัดตั้งกลุ่มเฝ้าระวังภัยพิบัติต่างๆ ขึ้น โดยจะให้กลุ่มนี้คอยทำหน้าที่แจ้งเตือน บริหารจัดการ หรือให้ความช่วยเหลือประชาชน
จึงฝากไปถึงพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้คอยระวัง รับฟังข่าวสารจากทางราชการ และต้องตื่นตัวแต่อย่าตกใจ หากมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมา ขอให้ตั้งสติและหลบไปอยู่ในที่ปลอดภัย ในเรื่องของทรัพย์สินอาจจะไม่สามารถเอาไปได้ทัน แต่เรื่องของชีวิตต้องเน้นความปลอดภัยไว้ก่อน