ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ตเร่งเจรจาหนี้นอกระบบสรุปยอดลูกหน้าขึ้นทะเบียนเกว่า 4,500 ราย วงเงิน กว่า 480 ล้านบาท
นายไชยวัฒน์ เทพี ปลัดจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของจังหวัดภูเก็ต ว่า จากการที่รัฐบาลเปิดให้ประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบวงเงินไม่เกิน 1แสนบาท ตั้งแต่วันที่ 1-30 ธ.ค 52 และขยายเวลาการขึ้นทะเบียนออกไปจนถึงวันที่ 31 ม.ค 2553 และให้เจรจาประนอมหน้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 มิ.ย 2553 ซึ่งในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นเพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประสบความสำเร็จได้มีการตั้งศูนย์เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบขึ้นทั้งในระดับอำเภอและระดับจังหวัด ในแต่ละเดือนศูนย์เร่งรัดหนี้นอกระบบในระดับอำเภอจะต้องเจรจาหนี้นอกระบบให้ยุติได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ของจำนวนลูกหนี้ และจะต้องให้ศูนย์เร่งรัดระดับจังหวัดทราบทุกเดือน
อย่างไรก็ตามสำหรับในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นมีลูกหนี้นอกระบบที่ขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบรอบแรก จำนวน 4,330 ราย วงเงิน 456,576,969 บาท โดยแยกเป็นธนาคาร ธ.ก.ส. 239 ราย เป็นเงิน 28,364,478 บาท , ธนาคารออมสิน 3,188 ราย เป็นเงิน 322,028,824 บาท , ธนาคารกรุงไทย 160 ราย เป็นเงิน 18,739,727 บาท , ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ (SME) 427 ราย เป็นเงิน 50,111,989บาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ 107 ราย เป็นเงิน 12,928,790
นอกจากนี้การคัดแยกลูกหนี้ในรอบที่ 2 ช่วงระหว่างวันที่ 1-29 มกราคม 2553 ที่ยังไม่ได้คัดแยกอีกจำนวน 209 ราย เป็นเงิน 24,403160 บาท
นายไชยวัฒน์ เทพี ปลัดจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของจังหวัดภูเก็ต ว่า จากการที่รัฐบาลเปิดให้ประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบวงเงินไม่เกิน 1แสนบาท ตั้งแต่วันที่ 1-30 ธ.ค 52 และขยายเวลาการขึ้นทะเบียนออกไปจนถึงวันที่ 31 ม.ค 2553 และให้เจรจาประนอมหน้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 มิ.ย 2553 ซึ่งในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นเพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประสบความสำเร็จได้มีการตั้งศูนย์เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบขึ้นทั้งในระดับอำเภอและระดับจังหวัด ในแต่ละเดือนศูนย์เร่งรัดหนี้นอกระบบในระดับอำเภอจะต้องเจรจาหนี้นอกระบบให้ยุติได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ของจำนวนลูกหนี้ และจะต้องให้ศูนย์เร่งรัดระดับจังหวัดทราบทุกเดือน
อย่างไรก็ตามสำหรับในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นมีลูกหนี้นอกระบบที่ขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบรอบแรก จำนวน 4,330 ราย วงเงิน 456,576,969 บาท โดยแยกเป็นธนาคาร ธ.ก.ส. 239 ราย เป็นเงิน 28,364,478 บาท , ธนาคารออมสิน 3,188 ราย เป็นเงิน 322,028,824 บาท , ธนาคารกรุงไทย 160 ราย เป็นเงิน 18,739,727 บาท , ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ (SME) 427 ราย เป็นเงิน 50,111,989บาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ 107 ราย เป็นเงิน 12,928,790
นอกจากนี้การคัดแยกลูกหนี้ในรอบที่ 2 ช่วงระหว่างวันที่ 1-29 มกราคม 2553 ที่ยังไม่ได้คัดแยกอีกจำนวน 209 ราย เป็นเงิน 24,403160 บาท