ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ตพร้อมมือสาธารณภัย เน้นใช้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต แทนแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2550 ยืนยันหอเตือนภัยในภูเก็ตมีการทดสอบตลอดเวลา
นายสันติ์ จันทรวงษ์ รักษาการหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตว่า ปัจจุบันสาธารณภัยต่างมีแนวโน้มเกิดขึ้นสูง ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม อัคคีภัย ภัยแล้ง ภัยจากแผ่นดินไหวอาคารถล่ม ภัยจากการคมนาคมการขนส่ง รวมถึงภัยสึนามิ และเพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือกับภัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทางจัหงัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตขึ้น ซึ่งแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะต้องมีแผนปฏิบัติทั้งก่อนก่อนภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังเกิดภัย
“มีความจำเป็นอย่างยิ่งและจะต้องจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดให้มีความชัดเจน และบรรจุไว้ในแผน ปภ.ของจังหวัด เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพภาวะฉุกเฉินกรณีที่มีเหตุสาธารณภัยเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภัยจากเหตุอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม อัคคีภัย ภัยแล้ง ภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ภัยจากการคมนาคมการขนส่ง รวมถึงภัยสึนามิ
สำหรับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตนั้นขณะนี้ได้จัดทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้ความเหมะสม ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระบวนการป้องกันและบรรเทาภัยด้านสาธารณภัยและกระบวนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านความมั่นคง
โดยขณะนี้ได้มอบแผนดังกล่าวให้กับหน่วยงานต่างๆ ไปศึกษาข้อมูลเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดลดปัญหาความวุ่นวายในกรณีที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ซึ่งหลังจากที่มีการปรับปรุงแล้วเสร็จ จะใช้แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตแทนแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2550”
นายสันติ์กล่าวต่อว่า ในส่วนของการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุธรณีพิบัติภัยสึนามิ นั้นในส่วนของจังหวัดภูเก็ตมั่นใจว่ามีความพร้อมและสามารถแจ้งเตือนภัยประชาชนได้อย่างแน่นอนซึ่งในส่วนของหอเตือนภัยล่วงหน้าเองจากการสอบถามทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติพบว่ามีการทดสอบสัญญาณเตือนภัยทุกวัน
นอกจากนั้น ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตที่ผ่านมาได้มีการซ้อมแผนอพยพประชาชามาอย่างต่อเนื่อง และหลังจากนี้อยากให้มีการซ้อมปีละอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในพื้นที่และให้มีความตื่นตัวตลอดเวลา ที่สำคัญประชาชนเองจะต้องคอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้จะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นตลอดเวลาในหลายๆ พื้นที่โดยเฉพาะในต่างประเทศ
นายสันติ์ จันทรวงษ์ รักษาการหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตว่า ปัจจุบันสาธารณภัยต่างมีแนวโน้มเกิดขึ้นสูง ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม อัคคีภัย ภัยแล้ง ภัยจากแผ่นดินไหวอาคารถล่ม ภัยจากการคมนาคมการขนส่ง รวมถึงภัยสึนามิ และเพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือกับภัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทางจัหงัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตขึ้น ซึ่งแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะต้องมีแผนปฏิบัติทั้งก่อนก่อนภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังเกิดภัย
“มีความจำเป็นอย่างยิ่งและจะต้องจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดให้มีความชัดเจน และบรรจุไว้ในแผน ปภ.ของจังหวัด เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพภาวะฉุกเฉินกรณีที่มีเหตุสาธารณภัยเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภัยจากเหตุอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม อัคคีภัย ภัยแล้ง ภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ภัยจากการคมนาคมการขนส่ง รวมถึงภัยสึนามิ
สำหรับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตนั้นขณะนี้ได้จัดทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้ความเหมะสม ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระบวนการป้องกันและบรรเทาภัยด้านสาธารณภัยและกระบวนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านความมั่นคง
โดยขณะนี้ได้มอบแผนดังกล่าวให้กับหน่วยงานต่างๆ ไปศึกษาข้อมูลเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดลดปัญหาความวุ่นวายในกรณีที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ซึ่งหลังจากที่มีการปรับปรุงแล้วเสร็จ จะใช้แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตแทนแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2550”
นายสันติ์กล่าวต่อว่า ในส่วนของการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุธรณีพิบัติภัยสึนามิ นั้นในส่วนของจังหวัดภูเก็ตมั่นใจว่ามีความพร้อมและสามารถแจ้งเตือนภัยประชาชนได้อย่างแน่นอนซึ่งในส่วนของหอเตือนภัยล่วงหน้าเองจากการสอบถามทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติพบว่ามีการทดสอบสัญญาณเตือนภัยทุกวัน
นอกจากนั้น ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตที่ผ่านมาได้มีการซ้อมแผนอพยพประชาชามาอย่างต่อเนื่อง และหลังจากนี้อยากให้มีการซ้อมปีละอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในพื้นที่และให้มีความตื่นตัวตลอดเวลา ที่สำคัญประชาชนเองจะต้องคอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้จะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นตลอดเวลาในหลายๆ พื้นที่โดยเฉพาะในต่างประเทศ