ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดเร่งให้หน่วยงานเกี่ยวข้องขอความชัดเจนการใช้พื้นที่สวนป่าบางขนุนจังหวัดภูเก็ต หลังมีการบุกรุกใช้พื้น ขณะที่เจ้าหน้าที่แจงรุกสวนป่าบางขนุนมีมานานจังหวัดสำรวจพบ 265รายรุกที่กว่า 2 พันไร่
วันนี้ (28 ม.ค.) นายภพพล ศิริลักษณะพงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต (ทสจ.ภูเก็ต) ได้ กล่าวชี้แจงในการประชุมคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2553 ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต หลังใหม่ เกี่ยวกับการป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ กรณีพื้นที่สวนป่าบางขนุน อ.ถลาง จ.ภูเก็ตว่า ที่ผ่านมาการป้องกันรักษาป่าสงวนแห่งชาติป่าบางขนุน ทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มีการสนธิกำลังเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้ ตำรวจตระเวนชายแดน จัดทำแผนตั้งชุดเฉพาะกิจ พร้อมรายงานสถานการณ์ให้กรมป่าไม้และจังหวัดภูเก็ตทราบมาโดยตลอด
จากการสำรวจสวนป่าบางขนุนพบว่ามีการบุกรุกแผ้วถาง ตัดไม้ทำลายพื้นที่มา ตั้งแต่ปี 2532 โดยในขณะนี้มีการจับกุมผู้กระทำความผิดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งที่จับกุมได้และไม่ได้ จนกระทั่งเมื่อปี 2541 มีราษฎรหลายรายที่บุกรุกสวนป่าบางขนุนและถูกจับดำเนินคดี ได้รวมตัวยื่นหนังสือต่อผู้ว่าฯ สมัยนั้นเพื่อขอใช้พื้นที่ พร้อมแจ้งรายชื่อและจำนวนราษฎรที่เข้าทำประโยชน์ 2 ตำบล จำนวน 333 ราย เนื้อที่ประมาณ 3,512 ไร่ และยังพบการบุกรุกเพิ่มขึ้น
Ffpหลังจากนั้นทางจังหวัดภูเก็ตโดยคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามลักลอบและทำลายทรัพยากรป่าไม้ ประจำจังหวัดภูเก็ตขณะนั้น ได้ตั้งคณะทำงานตามคำสั่งจังหวัด ทำการสำรวจในห้วงปี 2542 มีราษฎรนำตรวจพื้นที่ใช้ประโยชน์จำนวน 265 ราย เนื้อที่ประมาณ 2,698 ไร่เศษ โดยมีสำเนาแบบสำรวจ (ทป.4) ถือไว้เป็นหลักฐาน มีสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ 1 แห่ง เนื้อที่ 2 ไร่ และมีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบางขนุน จำนวน 5 ราย เนื้อที่รวมประมาณ 211 ไร่ ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เนื้อที่ 48 ไร่เศษ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเนื้อที่ 142 ไร่เศษ กรมทางหลวง เนื้อที่ 9 ไร่เศษ กรมโยธาธิการและผังเมือง เนื้อที่ 7 ไร่ และจังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 4 ไร่
ปัจจุบันมีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประสงค์ขอใช้พื้นที่เพิ่มเติม 5 ราย ได้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ภูเก็ต ขอสร้างศูนย์ผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพลังงาน เนื้อที่ 181 ไร่เศษ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต ขอสร้างศูนย์กลางบริหารกิจการศาสนาอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 60 ไร่ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ขอสร้างโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตแห่งที่ 2 เนื้อที่ 50 ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี ขอสร้างที่ฝังศพ (กุโบร์) เนื้อที่ 30 ไร่ และขอสร้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี เนื้อที่ 20 ไร่
นายภพพล กล่าวต่อไปว่า แนวทางการแก้ปัญหานั้นที่ผ่านมาได้ทำหนังสือสอบถามแนวทางการปฎิบัติที่ชัดเจนไปยังกรมป่าไม้ ว่าจะให้ดำเนินการต่อกรณีที่มีการสำรวจรายชื่อชาวบ้านไว้แล้วอย่างไร หรือจะให้มีการผลักดันผู้ที่บุกรุกออกไป ส่วนกรณีที่ไม่ให้ใช้พื้นที่เพิ่มเติมก็เช่นกัน รวมทั้งแนวทางในการดำเนินซึ่งอาจจะเปลี่ยนสภาพจากสวนป่าเป็นสวนพฤษศาสตร์ หรืออย่างอื่นตามที่กรมป่าไม้เห็นสมควร เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือแหล่งศึกษาธรรมชาติให้กับเยาวชน หรือผู้สนใจ รวมทั้งจะต้องมีการจัดทำแนวเขตโดยรอบให้ชัดเจน
ขณะที่นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องเร่งขอความชัดเจนจากทางกรมป่าไม้ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งได้รับความสนใจพิเศษเพราะฉะนั้นจะต้องเร่งขอความชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะดำเนินการกับพื้นที่สวนป่าบางขนุนอย่างไรเพราะถ้าปล่อยไว้จะมีการบุกรุกเพิ่มเติมอีก
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าภูเก็ตนั้นจากการบินสำรวจพบว่ายังมีอีกหลายพื้นที่มีการบุกรุกปลูกอาคารบนที่สูงจำนวนมาก เช่น พื้นที่ ต.ป่าตอง ต.กะทู้ เป็นต้น
วันนี้ (28 ม.ค.) นายภพพล ศิริลักษณะพงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต (ทสจ.ภูเก็ต) ได้ กล่าวชี้แจงในการประชุมคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2553 ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต หลังใหม่ เกี่ยวกับการป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ กรณีพื้นที่สวนป่าบางขนุน อ.ถลาง จ.ภูเก็ตว่า ที่ผ่านมาการป้องกันรักษาป่าสงวนแห่งชาติป่าบางขนุน ทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มีการสนธิกำลังเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้ ตำรวจตระเวนชายแดน จัดทำแผนตั้งชุดเฉพาะกิจ พร้อมรายงานสถานการณ์ให้กรมป่าไม้และจังหวัดภูเก็ตทราบมาโดยตลอด
จากการสำรวจสวนป่าบางขนุนพบว่ามีการบุกรุกแผ้วถาง ตัดไม้ทำลายพื้นที่มา ตั้งแต่ปี 2532 โดยในขณะนี้มีการจับกุมผู้กระทำความผิดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งที่จับกุมได้และไม่ได้ จนกระทั่งเมื่อปี 2541 มีราษฎรหลายรายที่บุกรุกสวนป่าบางขนุนและถูกจับดำเนินคดี ได้รวมตัวยื่นหนังสือต่อผู้ว่าฯ สมัยนั้นเพื่อขอใช้พื้นที่ พร้อมแจ้งรายชื่อและจำนวนราษฎรที่เข้าทำประโยชน์ 2 ตำบล จำนวน 333 ราย เนื้อที่ประมาณ 3,512 ไร่ และยังพบการบุกรุกเพิ่มขึ้น
Ffpหลังจากนั้นทางจังหวัดภูเก็ตโดยคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามลักลอบและทำลายทรัพยากรป่าไม้ ประจำจังหวัดภูเก็ตขณะนั้น ได้ตั้งคณะทำงานตามคำสั่งจังหวัด ทำการสำรวจในห้วงปี 2542 มีราษฎรนำตรวจพื้นที่ใช้ประโยชน์จำนวน 265 ราย เนื้อที่ประมาณ 2,698 ไร่เศษ โดยมีสำเนาแบบสำรวจ (ทป.4) ถือไว้เป็นหลักฐาน มีสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ 1 แห่ง เนื้อที่ 2 ไร่ และมีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบางขนุน จำนวน 5 ราย เนื้อที่รวมประมาณ 211 ไร่ ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เนื้อที่ 48 ไร่เศษ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเนื้อที่ 142 ไร่เศษ กรมทางหลวง เนื้อที่ 9 ไร่เศษ กรมโยธาธิการและผังเมือง เนื้อที่ 7 ไร่ และจังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 4 ไร่
ปัจจุบันมีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประสงค์ขอใช้พื้นที่เพิ่มเติม 5 ราย ได้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ภูเก็ต ขอสร้างศูนย์ผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพลังงาน เนื้อที่ 181 ไร่เศษ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต ขอสร้างศูนย์กลางบริหารกิจการศาสนาอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 60 ไร่ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ขอสร้างโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตแห่งที่ 2 เนื้อที่ 50 ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี ขอสร้างที่ฝังศพ (กุโบร์) เนื้อที่ 30 ไร่ และขอสร้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี เนื้อที่ 20 ไร่
นายภพพล กล่าวต่อไปว่า แนวทางการแก้ปัญหานั้นที่ผ่านมาได้ทำหนังสือสอบถามแนวทางการปฎิบัติที่ชัดเจนไปยังกรมป่าไม้ ว่าจะให้ดำเนินการต่อกรณีที่มีการสำรวจรายชื่อชาวบ้านไว้แล้วอย่างไร หรือจะให้มีการผลักดันผู้ที่บุกรุกออกไป ส่วนกรณีที่ไม่ให้ใช้พื้นที่เพิ่มเติมก็เช่นกัน รวมทั้งแนวทางในการดำเนินซึ่งอาจจะเปลี่ยนสภาพจากสวนป่าเป็นสวนพฤษศาสตร์ หรืออย่างอื่นตามที่กรมป่าไม้เห็นสมควร เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือแหล่งศึกษาธรรมชาติให้กับเยาวชน หรือผู้สนใจ รวมทั้งจะต้องมีการจัดทำแนวเขตโดยรอบให้ชัดเจน
ขณะที่นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องเร่งขอความชัดเจนจากทางกรมป่าไม้ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งได้รับความสนใจพิเศษเพราะฉะนั้นจะต้องเร่งขอความชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะดำเนินการกับพื้นที่สวนป่าบางขนุนอย่างไรเพราะถ้าปล่อยไว้จะมีการบุกรุกเพิ่มเติมอีก
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าภูเก็ตนั้นจากการบินสำรวจพบว่ายังมีอีกหลายพื้นที่มีการบุกรุกปลูกอาคารบนที่สูงจำนวนมาก เช่น พื้นที่ ต.ป่าตอง ต.กะทู้ เป็นต้น