ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - คณะกรรมการสองชุด เร่งตรวจสอบปัญหาสิ่งแวดล้อมในทะเลอ่าวไทย หลังมีการร้องเรียนบริษัทขุดเจาะน้ำมันทิ้งน้ำเสียและสารพิษลงอ่าวไทย
วันนี้ (13 ม.ค.) ที่ห้องประชุมสำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 16 นายเมธี ณ นคร รอง ผวจ.สงขลา ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการ ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมชายฝั่งสงขลา และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีการร้องเรียนว่าบริษัทผู้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยทิ้งน้ำเสียและสารพิษลงในอ่าวไทย
เบื้องต้นที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 คณะ ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สิ่งแวดล้อม พลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยาการทางทะเล สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 4 ตัวแทนภาคประชาชนใน 4 อำเภอ ของ จ.สงขลา และตัวแทนสื่อมวลชน เพื่อกำหนดแนวทาง ในการตรวจสอบ ติดตามการขุดเจาะน้ำมันให้เป็นตามข้อตกลง ในเรื่องอีไอเอหรือสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้สาเหตุที่มีการตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ สืบเนื่องจากชาวประมงใน จ.สงขลา ได้ร้องเรียนในยัง คณะกรรมกาธิการอุตสาหกรรมสภาผู้แทนฯ ว่าบริษัทที่ขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย ซึ่งห่างจากฝั่ง อ.สทิงพระเพียง 30 กิโลเมตร ไม่ทำตาม อีไอเอ มีการนำเอาน้ำเสียและกากของเสียจากการขุดเจาะ ทิ้งในทะเลแทนการนำไปบำบัดตามสัญญา เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ชายทะเลกลายเป็นเลนโคลน สัตว์น้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ลดน้อยลง กระทบต่อการทำประมงชายฝั่ง
วันนี้ (13 ม.ค.) ที่ห้องประชุมสำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 16 นายเมธี ณ นคร รอง ผวจ.สงขลา ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการ ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมชายฝั่งสงขลา และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีการร้องเรียนว่าบริษัทผู้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยทิ้งน้ำเสียและสารพิษลงในอ่าวไทย
เบื้องต้นที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 คณะ ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สิ่งแวดล้อม พลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยาการทางทะเล สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 4 ตัวแทนภาคประชาชนใน 4 อำเภอ ของ จ.สงขลา และตัวแทนสื่อมวลชน เพื่อกำหนดแนวทาง ในการตรวจสอบ ติดตามการขุดเจาะน้ำมันให้เป็นตามข้อตกลง ในเรื่องอีไอเอหรือสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้สาเหตุที่มีการตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ สืบเนื่องจากชาวประมงใน จ.สงขลา ได้ร้องเรียนในยัง คณะกรรมกาธิการอุตสาหกรรมสภาผู้แทนฯ ว่าบริษัทที่ขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย ซึ่งห่างจากฝั่ง อ.สทิงพระเพียง 30 กิโลเมตร ไม่ทำตาม อีไอเอ มีการนำเอาน้ำเสียและกากของเสียจากการขุดเจาะ ทิ้งในทะเลแทนการนำไปบำบัดตามสัญญา เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ชายทะเลกลายเป็นเลนโคลน สัตว์น้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ลดน้อยลง กระทบต่อการทำประมงชายฝั่ง