ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สสจ.ภูเก็ต ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ฝึกอบรมการจัดการเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
วันนี้ (22 ธันวาคม 2552) ณ ห้องจามจุรี 2 ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน นายสมิทธ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการอบรมการจัดการเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยมี นพ.วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต คุณสันติ์ จันทรวงษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนคณะแพทย์ พยาบาลจาก14 จังหวัดภาคใต้ เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้
นพ.วิวัฒน์ กล่าวว่า ในการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการเกิดภัยพิบัติใหญ่ๆซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชน ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ดูแลขณะเกิดเหตุยังไม่มีการจัดการที่ชัดเจนและเป็นระบบ การดูแล การลำเลียงขนย้ายผู้บาดเจ็บ การดูแลรักษา รวมถึงระบบการตอบสนองต่อสถานการณ์ภัยพิบัติ และการระดมทรัพยากรด้านสาธารณสุข เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์จึงมีความจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมทีม เพื่อให้มีความรู้ ความชำนาญ ทักษะและประสบการณ์ร่วมกัน ตลอดจนการทดสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะต่างๆ ให้พร้อมปฏิบัติภารกิจ
การจัดอบรมหลัก DMAT (Disaster Medical Assistant Team )นี้
เริ่มจัดตั้งแต่ปี 2551 ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน และในปีนี้ได้ขยายเป็น 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเพิ่มเครือข่ายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น การอบรมในครั้งนี้แบ่งเป็นภาคทฤษฏี รวมทั้งฝึกปฏิบัติในที่บังคับการ และการฝึกซ้อมแผนลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศยานจากสนามบินภูเก็ต ไปยังสนามบินจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งจะมีขึ้น ในวันที่ 25 ธันวาคม 2552 โดยมีผู้เข้ารับการอบรมและผู้สังเกตการณ์รวม 120 คน
นพ.วิวัฒน์ ยังกล่าวต่ออีกว่า ในการจัดโครงในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ สถาบันดับเพลิงและกู้ภัยชั้นสูง กองทัพอากาศ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลวชิระ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ที่ให้การสนับสนุนในการจัดทำโครงการในครั้งนี้
วันนี้ (22 ธันวาคม 2552) ณ ห้องจามจุรี 2 ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน นายสมิทธ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการอบรมการจัดการเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยมี นพ.วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต คุณสันติ์ จันทรวงษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนคณะแพทย์ พยาบาลจาก14 จังหวัดภาคใต้ เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้
นพ.วิวัฒน์ กล่าวว่า ในการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการเกิดภัยพิบัติใหญ่ๆซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชน ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ดูแลขณะเกิดเหตุยังไม่มีการจัดการที่ชัดเจนและเป็นระบบ การดูแล การลำเลียงขนย้ายผู้บาดเจ็บ การดูแลรักษา รวมถึงระบบการตอบสนองต่อสถานการณ์ภัยพิบัติ และการระดมทรัพยากรด้านสาธารณสุข เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์จึงมีความจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมทีม เพื่อให้มีความรู้ ความชำนาญ ทักษะและประสบการณ์ร่วมกัน ตลอดจนการทดสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะต่างๆ ให้พร้อมปฏิบัติภารกิจ
การจัดอบรมหลัก DMAT (Disaster Medical Assistant Team )นี้
เริ่มจัดตั้งแต่ปี 2551 ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน และในปีนี้ได้ขยายเป็น 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเพิ่มเครือข่ายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น การอบรมในครั้งนี้แบ่งเป็นภาคทฤษฏี รวมทั้งฝึกปฏิบัติในที่บังคับการ และการฝึกซ้อมแผนลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศยานจากสนามบินภูเก็ต ไปยังสนามบินจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งจะมีขึ้น ในวันที่ 25 ธันวาคม 2552 โดยมีผู้เข้ารับการอบรมและผู้สังเกตการณ์รวม 120 คน
นพ.วิวัฒน์ ยังกล่าวต่ออีกว่า ในการจัดโครงในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ สถาบันดับเพลิงและกู้ภัยชั้นสูง กองทัพอากาศ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลวชิระ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ที่ให้การสนับสนุนในการจัดทำโครงการในครั้งนี้