xs
xsm
sm
md
lg

สถาบันวิจัยฯภูเก็ตร่วมคืนปะการังสู่ทะเลอันดามัน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ภูเก็ต ร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ย้ายปลูกปะการังคืนความสมบูรณ์ให้ทะเลอันดามัน เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

วันนี้ (1 ธ.ค.) สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ร่วมกับศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 ภูเก็ต ศูนย์อนุรัก์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 จ.สตูล ทัพเรือภาคที่ 3 และชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเลและนักดำน้ำอาสาสมัครจากจังหวัดภูเก็ต และเกาะพีพี ร่วมกันจัดกิจกรรมฟื้นฟูปะการังเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันคลายวันพระราชสมภพประจำปี 2552 ขึ้น ที่ บริเวณเกาะพีพี จ.กระบี่

ทั้งนี้ มี นายประวิม วุฒิสินธุ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิด พร้อมร่วมวางปะการังที่ได้จากแปลงอนุบาลในพื้นที่ฟื้นฟูแนวปะการังที่มีสภาพเสื่อมโทรมจากเหตุสึนามิถล่มบริเวณเกาะพีพีเล

นายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ว่า สถาบันวิจัยฯได้นำความรู้จากการศึกษาวิจัยฟื้นฟูปะการังมาดำเนินการในระดับปฏิบัติ เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังและนำเทคนิคการอนุบาลกิ่งปะการังในแปลงอนุบาลกลางน้ำ ที่พัฒนามาจากเทคนิคที่ใช้ในประเทศอิสราเอลมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2549 โดยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการ

การดำเนินการในครั้งนี้ มีกิ่งพันธุ์ที่พร้อมสำหรับการย้ายปลุกในพื้นที่ที่ต้องการฟื้นฟูจำนวน 1,000 กิ่ง โดยใช้เศษปะการังตายที่ทับถมบริเวณชายหาดโละดาลัม เป็นพื้นที่สำหรับการยึดเกาะให้กับปะการังที่ย้ายมา โดยมีทีมนักดำน้ำจากสถาบันวิจัยฯ จ.ภูเก็ต ทหารเรือ และอาสาสมัครชาวต่างชาติ เป็นผู้ดำน้ำนำปะการังลงไปวางใต้น้ำ ซึ่งนอกจากจะมีการปลอูกย้ายปะการังเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่ได้รับความเสียหาย จากเหตุการณ์สึนามิถล่มแล้วยังช่วยกันเก็บขยะใต้น้ำ เพื่อทำความสะอาดใต้ท้องทะเลอีกด้วย

นายวรรณเกียรติ กล่าวต่อไปว่า จากการติดตามผลการดำเนินการในการย้ายปลูกปะการังที่มาจากแปลงอนุบาลกลางน้ำตั้งแต่ปี 2549 พบว่า การย้ายปลูกประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ปะการังที่ย้ายปลูกนั้นมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างกับการฟื้นฟูโดยใช้แนวปะการังเทียม เพราะการใช้แนวปะการังเทียมนั้น กว่าปะการังที่ลงเกาะจะเติบโตต้องใช้เวลานานมาก แต่การย้ายปลูกสามารถเห็นผลได้อย่างรวดเร็ว โดยปะการังที่นักนำน้ำอาสาสมัครย้ายปลูกลงบนปะการังเทียม และพื้นที่เสื่อมโทรมจากสึนามิสามารถเจริญเติบโตครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างและสามารถดึงดูดสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ให้เข้ามาอาศัยจำนวนมาก








กำลังโหลดความคิดเห็น