ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดสถานที่เตรียมความพร้อมรองรับประชาชน-นักศึกษา ร่วมชมปรากฏการณ์ฝนดาวตก คาดมองเห็นได้ 100 ดวงต่อชั่วโมง ระบุเห็นได้มากที่สุดช่วงเวลา 02.00-04.00 น.
ผศ.ดร.ศักดิ์ชาย เพชรช่วย อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับให้ประชาชนและนักศึกษาร่วมดูปรากฎการณ์ฝนดาวตก ว่า สำหรับในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตนั้น ได้มีการจัดเตรียมสถานที่บริเวณสนามฟุตบอลไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับดูฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตระหว่างวันที่ 17-18 พ.ย.นี้
โดยได้มีการเชิญชวนประชาชนและนักศึกษาร่วมชมฝนดาวตกตั้งแต่เวลา 02.00-04.00 น.วันที่ 18 พ.ย.2552 เนื่องจากเป็นช่วงที่สามารถมองเห็นฝนดาวตกได้มากที่สุด และคาดว่า จะเห็นฝนดาวตกได้ชั่วโมงละประมาณ 100 ดวง อย่างไรก็ตาม การเห็นฝนดาวตกในปีนี้อาจจะมองเห็นได้น้อยกว่าปี 2544 ที่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ฝนดาวตกได้มากถึง 140 ดาว ต่อชั่วโมง
สำหรับการชมปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นในส่วนของมหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมผ้ายางเพื่อให้บริการประชาชนและนักศึกษามานอนชมฝนดาวตกได้ซึ่งสามารถรองรับคนได้จำนวนมาก โดยจัดเตรียมไว้จำนวน 20 ผืน รองรับคนได้ผืนละ 20 คน ส่วนผู้ที่มาชมฝนดาวตกควรที่จะเตรียมเสื้อหนาวและหมวกมาด้วยเพื่อป้องกันน้ำค้าง
ผศ.ดร.ศักดิ์ชาย กล่าวต่อไปว่า คาดว่า คืนนี้จะมีนักศึกษาและประชาชนมาร่วมชมฝนดาวตกไม่น้อยกว่า 300-500 คน สำหรับวิธีดูฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ การดูด้วยตาเปล่า เลือกบริเวณที่ไม่มีแสงไฟรบกวน หันหน้าไปทางดาวเหนือ
สำหรับฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต หรือ ลีโอนิดส์ นั้น เกิดจากเศษซากหลงเหลือของดาวหาง 55 พีเทมเพล-ทัตเทิล มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์1รอบใช้เวลา 33.2 ปี โดยดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า “พายุฝนดาวตก” (Meteor Storm) โดยในปีนี้ คนไทยทุกพื้นที่จะมีโอกาสชมฝนดาวตกประมาณ 130-200 ดวงต่อชั่วโมง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเนื่องไปจนถึงเวลาเกือบตี 5 ของเช้ามืดของวันที่ 18 พฤศจิกายน
ผศ.ดร.ศักดิ์ชาย เพชรช่วย อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับให้ประชาชนและนักศึกษาร่วมดูปรากฎการณ์ฝนดาวตก ว่า สำหรับในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตนั้น ได้มีการจัดเตรียมสถานที่บริเวณสนามฟุตบอลไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับดูฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตระหว่างวันที่ 17-18 พ.ย.นี้
โดยได้มีการเชิญชวนประชาชนและนักศึกษาร่วมชมฝนดาวตกตั้งแต่เวลา 02.00-04.00 น.วันที่ 18 พ.ย.2552 เนื่องจากเป็นช่วงที่สามารถมองเห็นฝนดาวตกได้มากที่สุด และคาดว่า จะเห็นฝนดาวตกได้ชั่วโมงละประมาณ 100 ดวง อย่างไรก็ตาม การเห็นฝนดาวตกในปีนี้อาจจะมองเห็นได้น้อยกว่าปี 2544 ที่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ฝนดาวตกได้มากถึง 140 ดาว ต่อชั่วโมง
สำหรับการชมปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นในส่วนของมหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมผ้ายางเพื่อให้บริการประชาชนและนักศึกษามานอนชมฝนดาวตกได้ซึ่งสามารถรองรับคนได้จำนวนมาก โดยจัดเตรียมไว้จำนวน 20 ผืน รองรับคนได้ผืนละ 20 คน ส่วนผู้ที่มาชมฝนดาวตกควรที่จะเตรียมเสื้อหนาวและหมวกมาด้วยเพื่อป้องกันน้ำค้าง
ผศ.ดร.ศักดิ์ชาย กล่าวต่อไปว่า คาดว่า คืนนี้จะมีนักศึกษาและประชาชนมาร่วมชมฝนดาวตกไม่น้อยกว่า 300-500 คน สำหรับวิธีดูฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ การดูด้วยตาเปล่า เลือกบริเวณที่ไม่มีแสงไฟรบกวน หันหน้าไปทางดาวเหนือ
สำหรับฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต หรือ ลีโอนิดส์ นั้น เกิดจากเศษซากหลงเหลือของดาวหาง 55 พีเทมเพล-ทัตเทิล มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์1รอบใช้เวลา 33.2 ปี โดยดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า “พายุฝนดาวตก” (Meteor Storm) โดยในปีนี้ คนไทยทุกพื้นที่จะมีโอกาสชมฝนดาวตกประมาณ 130-200 ดวงต่อชั่วโมง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเนื่องไปจนถึงเวลาเกือบตี 5 ของเช้ามืดของวันที่ 18 พฤศจิกายน