ปัตตานี – จังหวัดปัตตานีช่วยเหลือเยาวชนว่างงานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยการผลิตเป็นผู้ช่วยพยาบาลโดยได้รับงบประมาณจาก กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กระทรวงต่างประเทศ ประจำปี 2551 จำนวน 4,595,9000 บาท
วันนี้ (4 พ.ย.) จากสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาทั้งภายในและภายนอกหลายประการด้วยกัน สาเหตุสำคัญของปัญหาประการหนึ่ง คือ การว่างงานของเยาวชนในพื้นที่ โดยเฉพาะเยาวชนที่จบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ แม้ว่าบัณฑิตบางส่วนสามารถหางานทำได้แต่รายได้ หรือเงินเดือนมักจะต่ำกว่าวุฒิ (จากรายงานการศึกษาภาวการณ์หางานทำและความพึงพอใจของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นปีการศึกษา 2548)
จากสภาพการณ์ดังกล่าว ทำให้กลุ่มเยาวชนเหล่านี้ เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกชักจูงและเข้าเป็นแนวร่วมของขบวนการ จากเหตุผลที่กล่าวมา จึงเห็นว่าสถาบันศึกษาหรือหน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถช่วยเหลือโดยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชนเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะอาชีพที่ตลาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางมีความต้องการจะเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว จากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ และจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวเยาวชนเหล่านี้ด้วย
ดังนั้น วิทยาอิสลามศึกษา จึงได้เสนอโครงการผลิตผู้ช่วยพยาบาล สำหรับบัณฑิตที่ว่างงานเพื่อประกอบอาชีพในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟรีกา กระทรวงการต่างประเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา ซึ่งนักศึกษาโครงการผลิตผู้ช่วยพยาบาลได้สำเร็จการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลเรียบร้อยแล้ว 39 คน จากจำนวนทั้งหมด 40 คน โดยได้รับงบประมาณจากกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟรีกา กระทรวงต่างประเทศ ประจำปี 2551 จำนวน 4,595,9000 บาท
วันนี้ (4 พ.ย.) จากสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาทั้งภายในและภายนอกหลายประการด้วยกัน สาเหตุสำคัญของปัญหาประการหนึ่ง คือ การว่างงานของเยาวชนในพื้นที่ โดยเฉพาะเยาวชนที่จบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ แม้ว่าบัณฑิตบางส่วนสามารถหางานทำได้แต่รายได้ หรือเงินเดือนมักจะต่ำกว่าวุฒิ (จากรายงานการศึกษาภาวการณ์หางานทำและความพึงพอใจของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นปีการศึกษา 2548)
จากสภาพการณ์ดังกล่าว ทำให้กลุ่มเยาวชนเหล่านี้ เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกชักจูงและเข้าเป็นแนวร่วมของขบวนการ จากเหตุผลที่กล่าวมา จึงเห็นว่าสถาบันศึกษาหรือหน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถช่วยเหลือโดยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชนเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะอาชีพที่ตลาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางมีความต้องการจะเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว จากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ และจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวเยาวชนเหล่านี้ด้วย
ดังนั้น วิทยาอิสลามศึกษา จึงได้เสนอโครงการผลิตผู้ช่วยพยาบาล สำหรับบัณฑิตที่ว่างงานเพื่อประกอบอาชีพในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟรีกา กระทรวงการต่างประเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา ซึ่งนักศึกษาโครงการผลิตผู้ช่วยพยาบาลได้สำเร็จการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลเรียบร้อยแล้ว 39 คน จากจำนวนทั้งหมด 40 คน โดยได้รับงบประมาณจากกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟรีกา กระทรวงต่างประเทศ ประจำปี 2551 จำนวน 4,595,9000 บาท