ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เจ้าหน้าที่เข้มตรวจจับเรือลวนลากอวนรุนลอบเข้าจับปลาเขตห่วงห้ามส่งผลลักลอบน้อยลงแต่ยังมีบ้างพื้นที่จะต้องเฝ้าระวังเข้มงวดขึ้น เผยปี 52 จับกุมผู้กระทำความผิดแล้ว 7 คดี ยึดเรือ 14 ลำ
นายไพฑูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (จังหวัดภูเก็ต) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงปัญหาการลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตหวงห้ามของเรือประมงพาณิชย์ โดยเฉพาะเรืออวนลากคู่ และเรืออวนลากเดียว ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในทะเลอย่างร้ายแรงทั้งปะการัง และสัตว์น้ำวัยอ่อนว่า สำหรับปัญหาเรืออวนลากอวนรุน และเรือประมงพาณิชย์ลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตหวงห้ามในทะเลนั้นที่ผ่านมานั้นมีอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างรายแรงที่ผ่านมาทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวประมงพื้นบ้านในแต่ละพื้นที่ได้ร่วมมือกันในการดูแลป้องกัน รวมทั้งการวางปะการังเทียมซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นก็ช่วยได้ส่วนหนึ่งแต่ยังทำได้ไม่ทั้งหมดยังคงมีการลักลอบเข้ามาจับปลาในเขตหวงห้ามอยู่
“ซึ่งในส่วนของเจ้าหน้าที่นั้นทางศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (จังหวัดภูเก็ต) ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่และออกลาดตระเวนจับกุมเรือประมงที่ลักลอบเข้ามาจับปลาในเขตหวงห้ามอย่างต่อเนื่องในแต่ละเดือนมีเรืออกตรวจไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง ทำให้เรือประมงที่ลักลอบเข้ามาจับปลามีจำนวนลดน้อยลง แต่ปัจจุบันนี้พบว่ายังมีในส่วนของบริเวณอ่าวป่าตองที่ยังมีการลักลอบอยู่ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเพิ่มความเข้มในการออกไปตรวจจับมากขึ้น” นายไพฑูล กล่าว และว่า
สำหรับการดำเนินการกวาดล้างจับกุมเรือประมงอวนลากที่ลักลอบเข้ามาจับปลาในเขตหวงห้ามในปี 2552 ปรากฏว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมและส่งดำเนินคดีได้แล้ว 7 คดียึดเรือประมงอวนลากคู่จำนวน 14 ลำ ซึ่งมีทั้งเรือประมงอวนลากคู่และเรือประมงอวนลากเดียว
นายไพฑูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (จังหวัดภูเก็ต) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงปัญหาการลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตหวงห้ามของเรือประมงพาณิชย์ โดยเฉพาะเรืออวนลากคู่ และเรืออวนลากเดียว ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในทะเลอย่างร้ายแรงทั้งปะการัง และสัตว์น้ำวัยอ่อนว่า สำหรับปัญหาเรืออวนลากอวนรุน และเรือประมงพาณิชย์ลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตหวงห้ามในทะเลนั้นที่ผ่านมานั้นมีอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างรายแรงที่ผ่านมาทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวประมงพื้นบ้านในแต่ละพื้นที่ได้ร่วมมือกันในการดูแลป้องกัน รวมทั้งการวางปะการังเทียมซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นก็ช่วยได้ส่วนหนึ่งแต่ยังทำได้ไม่ทั้งหมดยังคงมีการลักลอบเข้ามาจับปลาในเขตหวงห้ามอยู่
“ซึ่งในส่วนของเจ้าหน้าที่นั้นทางศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (จังหวัดภูเก็ต) ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่และออกลาดตระเวนจับกุมเรือประมงที่ลักลอบเข้ามาจับปลาในเขตหวงห้ามอย่างต่อเนื่องในแต่ละเดือนมีเรืออกตรวจไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง ทำให้เรือประมงที่ลักลอบเข้ามาจับปลามีจำนวนลดน้อยลง แต่ปัจจุบันนี้พบว่ายังมีในส่วนของบริเวณอ่าวป่าตองที่ยังมีการลักลอบอยู่ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเพิ่มความเข้มในการออกไปตรวจจับมากขึ้น” นายไพฑูล กล่าว และว่า
สำหรับการดำเนินการกวาดล้างจับกุมเรือประมงอวนลากที่ลักลอบเข้ามาจับปลาในเขตหวงห้ามในปี 2552 ปรากฏว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมและส่งดำเนินคดีได้แล้ว 7 คดียึดเรือประมงอวนลากคู่จำนวน 14 ลำ ซึ่งมีทั้งเรือประมงอวนลากคู่และเรือประมงอวนลากเดียว