ศูนย์ข่าวภูเก็ต - มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์จับมือเทศบาลนครภูเก็ตหนุนศูนย์เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติแห่งชาติ จัดประชุมเครือข่ายเมืองในภูมิภาคเอเชียเพื่อรับมือกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิภาค
วันนี้ (20 ก.ค.52) นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุม “โครงการเครือข่ายเมืองในภูมิภาคเอเชียเพื่อรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ซึ่งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมมือกับศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และเทศบาลนครภูเก็ต จัดขึ้น
โดยมี ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย ผู้อำนวยการโครงการศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย, ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 50 คน เข้าร่วมที่โรงแรมภูเก็ต เมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต
นางสาวสมใจ กล่าวว่า ตามที่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้ร่วมมือกับศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และเทศบาลนครภูเก็ต ดำเนินโครงการเครือข่ายเมืองในภูมิภาคเอเชียเพื่อรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งส่งเสริมให้เมืองต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยประสานงานกันเป็นเครือข่ายที่มุ่งเน้นการสร้างศักยภาพ ความตระหนัก และความร่วมมือระหว่างทวิภาคีต่างๆ ระดับท้องถิ่นในการพัฒนายุทธศาสตร์ และมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมการรับมือและจัดการกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเมืองและประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งถือเป็นกลุ่มสำคัญที่มักจะได้รับผลกระทบและต้องการความช่วยเหลือเป็นลำดับต้นๆ
สำหรับโครงการนี้ได้ดำเนินการใน 4 ประเทศของภูมิภาคเอชีย ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซียและไทย สำหรับประเทศไทยนั้นเลือกจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมโครงการ เมื่อเดือน พ.ค.52 โดย ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันดำเนินการจัดทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเมืองในมิติต่างๆ เป็นเวลา 6 เดือน รวมทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นแล้ว หรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการประเมินเพื่อคัดเลือกเมืองนำร่องที่จะเข้าร่วมโครงการในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น เมืองต่างๆ จะต้องรายงานผลการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน เพื่อนำไปเป็นพื้นฐานในการวางแผนเตรียมการรับมือกับผลกระทบต่อภาวะดังกล่าวได้ต่อไป
วันนี้ (20 ก.ค.52) นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุม “โครงการเครือข่ายเมืองในภูมิภาคเอเชียเพื่อรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ซึ่งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมมือกับศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และเทศบาลนครภูเก็ต จัดขึ้น
โดยมี ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย ผู้อำนวยการโครงการศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย, ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 50 คน เข้าร่วมที่โรงแรมภูเก็ต เมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต
นางสาวสมใจ กล่าวว่า ตามที่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้ร่วมมือกับศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และเทศบาลนครภูเก็ต ดำเนินโครงการเครือข่ายเมืองในภูมิภาคเอเชียเพื่อรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งส่งเสริมให้เมืองต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยประสานงานกันเป็นเครือข่ายที่มุ่งเน้นการสร้างศักยภาพ ความตระหนัก และความร่วมมือระหว่างทวิภาคีต่างๆ ระดับท้องถิ่นในการพัฒนายุทธศาสตร์ และมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมการรับมือและจัดการกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเมืองและประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งถือเป็นกลุ่มสำคัญที่มักจะได้รับผลกระทบและต้องการความช่วยเหลือเป็นลำดับต้นๆ
สำหรับโครงการนี้ได้ดำเนินการใน 4 ประเทศของภูมิภาคเอชีย ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซียและไทย สำหรับประเทศไทยนั้นเลือกจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมโครงการ เมื่อเดือน พ.ค.52 โดย ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันดำเนินการจัดทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเมืองในมิติต่างๆ เป็นเวลา 6 เดือน รวมทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นแล้ว หรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการประเมินเพื่อคัดเลือกเมืองนำร่องที่จะเข้าร่วมโครงการในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น เมืองต่างๆ จะต้องรายงานผลการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน เพื่อนำไปเป็นพื้นฐานในการวางแผนเตรียมการรับมือกับผลกระทบต่อภาวะดังกล่าวได้ต่อไป