ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นายกสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย จี้รัฐผลักดัน พ.ร.บ.ไม้ยางพาราไทย ลดภาษีการส่งออก 3% สนับสนุนการทำธุรกิจไม้ยางและอุตสาหกรรมเติบโต เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ชี้แม้เศรษฐกิจโลกทรุดแต่ไม่ได้รับผลกระทบ แต่ละปีทำงานเข้าประเทศ 24,000 ล้าน/ปี โดยมีโรงงาน 500 แห่ง ลงทุนแต่ละแห่งไม่ต่ำกว่า 70 ล้านบาท
นายสุทิน พรชัยสุรี นายกสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย และประธานกลุ่มโรงเลื่อย โรงอบไม้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมไม้ยางพารา ไม้กิ่งกลม ไม้ฟืน ได้ขยายตัวเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจ และตีกลับได้อย่างรวดเร็ว ท่ามกระแสเศรษฐกิจโลกวิกฤต โดยไม้ยางพาราราคาเมื่อเดือนที่ผ่านมา ราคา 1.20-1.30 บาท/กิโลกรัม (กก.) ขณะนี้ได้ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 1.40 บาท/กก. ราคาที่หน้าโรงงาน
ขณะเดียวกันไม้ประเภทอื่นๆ เช่น กิ่งไม้กลม ปีกไม้ ที่นำไปแปรรูปเป็นปาร์ติเกิลบอร์ด และปลายไม้ ที่นำไปแปรรูปเป็นเอ็มดีเอส ก็ขยับขึ้นทุกตัว ไม้ฟืนกิ่งไม้กลม ราคาวิ่งอยู่ที่ 1-1.20 บาท/กก. และปลายไม้ ราคาวิ่งอยู่ที่ 00.80-1 บาท/กก. เป็นการตีกลับที่เร็วมาก จนกลับเข้าสู่สภาพเดิมอย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อนในวงการธุรกิจไม้แปรรูป ขณะที่ชะงักอยู่ประมาณ 2-3เดือนเท่านั้น
นายสุทินยังกล่าวอีกว่า แนวโน้มไม้แปรรูปทุกประเภทจะขยับราคาขึ้นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ เป็นการสวนกระแสวิกฤตเศรษฐกิจโลก เนื่องจากตลาดไม้ส่งออกต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และมีความต้องการมาก โดยเฉพาะประเทศจีนยังเป็นตลาดอันดับ 1 ต้องการไม้ยางพาราไทยถึง 80 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเวียดนาม และประเทศมาเลเซีย
“ธุรกิจไม้แปรรูปตลาดมีความต้องการมาก มีเท่าไหร่เอาทั้งหมด และโรงเลื่อยไม้ทุกแห่งขณะนี้ไม่ได้ประสบปัญหาแต่อย่างใดไม่มีการค้างสต๊อก และไม้เองก็ไม่ถึงกับฝืดเคือง ปัจจุบันราคาไม้ยางพารา เฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 25,000 บาท/ไร่ และถึง 50,000 บาท/ไร่ ทั้งนี้อยู่ที่คุณภาพไม้และที่สถานที่ตั้ง”
ไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้งส่งออกนำเงินเข้าประเทศประมาณ 9,000-10,000 ล้านบาท/ปี ขณะที่ไม้แปรรูปผลิตปาร์ติเกิล และเอ็มดีเอส นำเงินเข้าประเทศ 14,000 ล้านบาท/ปี รวมแล้วประมาณ 24,000 ล้านบาท/ปี ขณะที่มีโรงงานประมาณ 500 แห่ง เงินลงทุนโดยเฉลี่ยประมาณตั้งแต่แห่งละ 20 ล้านบาท ถึง 50 ล้านบาท พร้อมเงินลงทุนหมุนเวียน แห่งละ 20 ล้านบาทเป็นขั้นต่ำ แต่ละโรงงานจะต้องใช้คนงานตั้งแต่ 150-300 คน นายสุทิน กล่าว และว่า
ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมไม้แปรรูปกลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ไม่ได้ส่งเสริมกลุ่มต้นน้ำ กลับส่งเสริมกลุ่มเรื่องของไฮเทค เมื่อรัฐบาลไม่สนับสนุน สำนักงานบีโอไอก็ไม่ให้การสนับสนุน เมื่อบีโอไอ ไม่สนับสนุน สถาบันการเงินต่างๆ ก็ไม่ปล่อยสินเชื่อสนับสนุนด้วย
นายสุทินยังกล่าวอีกว่า นอกจากนั้น รัฐบาลยังจัดการกับไม้ยางพาราโดยการจัดเก็บภาษีการส่งออกไม้อบแห้ง ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับเป็นการไม่สนับสนุนในการส่งออก ควรที่รัฐบาลจะต้องออกมาแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษีส่งออก โดยการประกาศยกเลิกเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำลังหารือกันเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม้ยางพาราในฐานะเป็นพืชเศรษฐกิจ เพื่อจะทำการผลักดันให้เป็น พ.ร.บ.ไม้ยางพารา ทั้งนี้จะไม่ได้เป็นอุปสรรค และจะได้เอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมไม้ยางพารา ซึ่งปัจจุบันมีโรงงาน 500 แห่ง วงเงินลงทุนจำนวนมหาศาล และนำเงินเข้าประเทศปีละ 24,000 ล้านบาท ว่ารัฐบาลจะสนใจหรือไม่
นายสุทิน พรชัยสุรี นายกสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย และประธานกลุ่มโรงเลื่อย โรงอบไม้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมไม้ยางพารา ไม้กิ่งกลม ไม้ฟืน ได้ขยายตัวเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจ และตีกลับได้อย่างรวดเร็ว ท่ามกระแสเศรษฐกิจโลกวิกฤต โดยไม้ยางพาราราคาเมื่อเดือนที่ผ่านมา ราคา 1.20-1.30 บาท/กิโลกรัม (กก.) ขณะนี้ได้ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 1.40 บาท/กก. ราคาที่หน้าโรงงาน
ขณะเดียวกันไม้ประเภทอื่นๆ เช่น กิ่งไม้กลม ปีกไม้ ที่นำไปแปรรูปเป็นปาร์ติเกิลบอร์ด และปลายไม้ ที่นำไปแปรรูปเป็นเอ็มดีเอส ก็ขยับขึ้นทุกตัว ไม้ฟืนกิ่งไม้กลม ราคาวิ่งอยู่ที่ 1-1.20 บาท/กก. และปลายไม้ ราคาวิ่งอยู่ที่ 00.80-1 บาท/กก. เป็นการตีกลับที่เร็วมาก จนกลับเข้าสู่สภาพเดิมอย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อนในวงการธุรกิจไม้แปรรูป ขณะที่ชะงักอยู่ประมาณ 2-3เดือนเท่านั้น
นายสุทินยังกล่าวอีกว่า แนวโน้มไม้แปรรูปทุกประเภทจะขยับราคาขึ้นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ เป็นการสวนกระแสวิกฤตเศรษฐกิจโลก เนื่องจากตลาดไม้ส่งออกต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และมีความต้องการมาก โดยเฉพาะประเทศจีนยังเป็นตลาดอันดับ 1 ต้องการไม้ยางพาราไทยถึง 80 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเวียดนาม และประเทศมาเลเซีย
“ธุรกิจไม้แปรรูปตลาดมีความต้องการมาก มีเท่าไหร่เอาทั้งหมด และโรงเลื่อยไม้ทุกแห่งขณะนี้ไม่ได้ประสบปัญหาแต่อย่างใดไม่มีการค้างสต๊อก และไม้เองก็ไม่ถึงกับฝืดเคือง ปัจจุบันราคาไม้ยางพารา เฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 25,000 บาท/ไร่ และถึง 50,000 บาท/ไร่ ทั้งนี้อยู่ที่คุณภาพไม้และที่สถานที่ตั้ง”
ไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้งส่งออกนำเงินเข้าประเทศประมาณ 9,000-10,000 ล้านบาท/ปี ขณะที่ไม้แปรรูปผลิตปาร์ติเกิล และเอ็มดีเอส นำเงินเข้าประเทศ 14,000 ล้านบาท/ปี รวมแล้วประมาณ 24,000 ล้านบาท/ปี ขณะที่มีโรงงานประมาณ 500 แห่ง เงินลงทุนโดยเฉลี่ยประมาณตั้งแต่แห่งละ 20 ล้านบาท ถึง 50 ล้านบาท พร้อมเงินลงทุนหมุนเวียน แห่งละ 20 ล้านบาทเป็นขั้นต่ำ แต่ละโรงงานจะต้องใช้คนงานตั้งแต่ 150-300 คน นายสุทิน กล่าว และว่า
ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมไม้แปรรูปกลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ไม่ได้ส่งเสริมกลุ่มต้นน้ำ กลับส่งเสริมกลุ่มเรื่องของไฮเทค เมื่อรัฐบาลไม่สนับสนุน สำนักงานบีโอไอก็ไม่ให้การสนับสนุน เมื่อบีโอไอ ไม่สนับสนุน สถาบันการเงินต่างๆ ก็ไม่ปล่อยสินเชื่อสนับสนุนด้วย
นายสุทินยังกล่าวอีกว่า นอกจากนั้น รัฐบาลยังจัดการกับไม้ยางพาราโดยการจัดเก็บภาษีการส่งออกไม้อบแห้ง ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับเป็นการไม่สนับสนุนในการส่งออก ควรที่รัฐบาลจะต้องออกมาแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษีส่งออก โดยการประกาศยกเลิกเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำลังหารือกันเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม้ยางพาราในฐานะเป็นพืชเศรษฐกิจ เพื่อจะทำการผลักดันให้เป็น พ.ร.บ.ไม้ยางพารา ทั้งนี้จะไม่ได้เป็นอุปสรรค และจะได้เอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมไม้ยางพารา ซึ่งปัจจุบันมีโรงงาน 500 แห่ง วงเงินลงทุนจำนวนมหาศาล และนำเงินเข้าประเทศปีละ 24,000 ล้านบาท ว่ารัฐบาลจะสนใจหรือไม่