ตรัง - ปศุสัตว์จังหวัดตรังเร่งเช็กประวัติช้างพังนาตาลีวัย 35 ปี หลังเกิดอาการคุ้มคลั่งไล่อาละวาดกระทืบชาวบ้านเสียชีวิตพร้อมกัน 3 ราย ในวันเดียวกัน ทราบเพิ่งเข้ามาอยู่ในจังหวัดตรังเมื่อปี 2550 สังหารชาวบ้านในจังหวัดตรังมาแล้วรวม 5 ศพ
วันนี้ (2 ก.ค.) นายธวัช อุดมคณารัตน์ ปศุสัตว์จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จากกรณีที่ช้างพังนาตาลี อายุประมาณ 35 ปี น้ำหนักกว่า 3 ตัน ของนายสมโชค ชูบาล อายุ 55 ปี อดีตสมาชิก อบต.แหลมสอม หมู่ที่ 7 ได้ก่อเหตุอาละวาดทำร้ายชาวบ้านในพื้นที่ตำบลทุ่งยาว และตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จนเสียชีวิตในวันเดียวกันถึง 3 ศพ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา
จากนั้น ทางปศุสัตว์ได้เร่งดำเนินการตรวจสอบประวัติช้างพังนาตาลี โดยการประสานไปยังมูลนิธิ และอนุรักษ์ช้างจังหวัดลำปาง เพื่อเช็คข้อมูลจากไมโครชิพ ซึ่งทราบว่าช้างพังนาตาลีเดิมมีชื่อว่าช้างพังคำมูล และเมื่อปี 2546-2549 ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จากนั้นเกษตรกรชาวตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้ซื้อต่อมาในราคาประมาณ 600,000 บาท เพื่อนำมาทำงานรับจ้างชักลากไม้ในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง
ทั้งนี้ ในช่วงที่อยู่ในพื้นที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด ทราบว่าได้ก่อเหตุอาละวาดทำร้ายคนตายมาแล้ว 1 ศพ จากนั้นเมื่อประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา เจ้าของเดิมได้ขายให้กับนายสมโชค เจ้าของช้างพังนาตาลีในปัจจุบัน ราคา 620,000 บาท และเมื่อต้นเดือนมิถุนายน ก็ได้ก่อเหตุทำร้ายพี่ชายของนายสมโชคจนเสียชีวิตเป็นรายที่ 2 ในพื้นที่จังหวัดตรัง และก่อเหตุอาละวาดทำร้ายชาวบ้านจนเสียชีวิตวันเดียว 3 ศพดังกล่าว จึงรวมผู้ที่เสียชีวิตจากการอาละวาดของพังนาตาลี ในพื้นที่จังหวัดตรัง รวมแล้ว 5 ศพ
นายธวัชกล่าวอีกว่า จากการสอบถามประวัติของพังคำมูล หรือพังนาตาลี ทำให้ทราบอีกว่าในขณะที่พังนาตาลีอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ถือว่าเป็นช้างที่มีนิสัยเกเรชอบอาละวาด โดยการใช้งวงไล่ฝาดชาวบ้านอยู่บ่อยครั้ง ส่วนจะมีผู้เสียชีวิตหรือไม่ในข้อมูลไม่ปรากฏ ซึ่งการอาละวาดทำร้ายผู้คนของช้างส่วนใหญ่จะเกิดกับช้างที่ตกมันเนื่องจากอาการเครียด เหนื่อย หรือการกินอาหารไม่เพียงพอ
สำหรับช้างพังนาตาลีเมื่ออาการอาละวาด เกิดจากนิสัยส่วนตัวคงอยากในการดูแล ซึ่งอาจจะก่อเหตุดังกล่าวได้อีก และตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ทางปศุสัตว์จังหวัดตรังได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ในการจัดฝึกอบรมควาญช้าง และเจ้าของช้างในพื้นที่เพื่อร่วมแก้ปัญหาช้างตกมัน ซึ่งก็สามารถดำเนินการในระดับที่น่าพอใจ เพราะในช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา เหตุผู้เสียชีวิตจากช้างตกมันลดจำนวนลง และในปี 2552 นี้ ยังไม่มีเหตุการณ์ช้างตกมันทำร้ายคนจนเสียชีวิตเกิดเหตุขึ้น
อย่างไรก็ตาม มูลนิธิ และอนุรักษ์ช้างลำปาง ยินดีที่จะรับช้างพังนาตาลีไปเลี้ยงดู แต่ติดขัดในเรื่องงบประมาณที่จะมาขอซื้อช้างจากเจ้าของ เนื่องจากช้างมีราคาที่สูงมาก ส่วนการดำเนินการต่อไปนั้นคงต้องแล้วแต่ทางเจ้าของช้างว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งทางปศุสัตว์จังหวัดตรังเอง ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอปะเหลียนลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแล้ว ทราบว่าเจ้าของช้างได้นำตัวช้างพังนาตาลีไปล่ามไว้บริเวณภูเขาซึ่งมีระยะห่างจากบ้านคน พร้อมกับได้รับการประสานจากกองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย ในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวด้วย
วันนี้ (2 ก.ค.) นายธวัช อุดมคณารัตน์ ปศุสัตว์จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จากกรณีที่ช้างพังนาตาลี อายุประมาณ 35 ปี น้ำหนักกว่า 3 ตัน ของนายสมโชค ชูบาล อายุ 55 ปี อดีตสมาชิก อบต.แหลมสอม หมู่ที่ 7 ได้ก่อเหตุอาละวาดทำร้ายชาวบ้านในพื้นที่ตำบลทุ่งยาว และตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จนเสียชีวิตในวันเดียวกันถึง 3 ศพ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา
จากนั้น ทางปศุสัตว์ได้เร่งดำเนินการตรวจสอบประวัติช้างพังนาตาลี โดยการประสานไปยังมูลนิธิ และอนุรักษ์ช้างจังหวัดลำปาง เพื่อเช็คข้อมูลจากไมโครชิพ ซึ่งทราบว่าช้างพังนาตาลีเดิมมีชื่อว่าช้างพังคำมูล และเมื่อปี 2546-2549 ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จากนั้นเกษตรกรชาวตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้ซื้อต่อมาในราคาประมาณ 600,000 บาท เพื่อนำมาทำงานรับจ้างชักลากไม้ในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง
ทั้งนี้ ในช่วงที่อยู่ในพื้นที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด ทราบว่าได้ก่อเหตุอาละวาดทำร้ายคนตายมาแล้ว 1 ศพ จากนั้นเมื่อประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา เจ้าของเดิมได้ขายให้กับนายสมโชค เจ้าของช้างพังนาตาลีในปัจจุบัน ราคา 620,000 บาท และเมื่อต้นเดือนมิถุนายน ก็ได้ก่อเหตุทำร้ายพี่ชายของนายสมโชคจนเสียชีวิตเป็นรายที่ 2 ในพื้นที่จังหวัดตรัง และก่อเหตุอาละวาดทำร้ายชาวบ้านจนเสียชีวิตวันเดียว 3 ศพดังกล่าว จึงรวมผู้ที่เสียชีวิตจากการอาละวาดของพังนาตาลี ในพื้นที่จังหวัดตรัง รวมแล้ว 5 ศพ
นายธวัชกล่าวอีกว่า จากการสอบถามประวัติของพังคำมูล หรือพังนาตาลี ทำให้ทราบอีกว่าในขณะที่พังนาตาลีอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ถือว่าเป็นช้างที่มีนิสัยเกเรชอบอาละวาด โดยการใช้งวงไล่ฝาดชาวบ้านอยู่บ่อยครั้ง ส่วนจะมีผู้เสียชีวิตหรือไม่ในข้อมูลไม่ปรากฏ ซึ่งการอาละวาดทำร้ายผู้คนของช้างส่วนใหญ่จะเกิดกับช้างที่ตกมันเนื่องจากอาการเครียด เหนื่อย หรือการกินอาหารไม่เพียงพอ
สำหรับช้างพังนาตาลีเมื่ออาการอาละวาด เกิดจากนิสัยส่วนตัวคงอยากในการดูแล ซึ่งอาจจะก่อเหตุดังกล่าวได้อีก และตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ทางปศุสัตว์จังหวัดตรังได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ในการจัดฝึกอบรมควาญช้าง และเจ้าของช้างในพื้นที่เพื่อร่วมแก้ปัญหาช้างตกมัน ซึ่งก็สามารถดำเนินการในระดับที่น่าพอใจ เพราะในช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา เหตุผู้เสียชีวิตจากช้างตกมันลดจำนวนลง และในปี 2552 นี้ ยังไม่มีเหตุการณ์ช้างตกมันทำร้ายคนจนเสียชีวิตเกิดเหตุขึ้น
อย่างไรก็ตาม มูลนิธิ และอนุรักษ์ช้างลำปาง ยินดีที่จะรับช้างพังนาตาลีไปเลี้ยงดู แต่ติดขัดในเรื่องงบประมาณที่จะมาขอซื้อช้างจากเจ้าของ เนื่องจากช้างมีราคาที่สูงมาก ส่วนการดำเนินการต่อไปนั้นคงต้องแล้วแต่ทางเจ้าของช้างว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งทางปศุสัตว์จังหวัดตรังเอง ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอปะเหลียนลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแล้ว ทราบว่าเจ้าของช้างได้นำตัวช้างพังนาตาลีไปล่ามไว้บริเวณภูเขาซึ่งมีระยะห่างจากบ้านคน พร้อมกับได้รับการประสานจากกองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย ในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวด้วย