ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – ผู้ประกอบการเจ้าของเรือประมงในสงขลา แห่นำแรงงานต่างด้าวไปตีทะเบียนคึกคัก ซึ่งวันนี้เป็นวันแรกของการเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวระลอกใหม่ คาด ยอดเมื่อสิ้นสุดภายในวันที่ 31 ก.ค.นี้จะมียอดสูงถึงประมาณ 1.5 หมื่นคน
วันนี้ (1 ก.ค.) ที่สำนักงานเทศบาลนครสงขลา ซึ่งเป็น 1 ในหลายแห่งของการรับจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ โดยผู้ประกอบการเจ้าของเรือประมงในจังหวัดสงขลาทยอยนำแรงงานต่างด้าวไปทำประวัติเพื่อขึ้นทะเบียนบันทึกประวัติเอาไว้ ก่อนจะนำไปตรวจสุขภาพและจดทะเบียนขออนุญาตทำงานในพื้นที่ โดยในวันแรกของการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1-31 กรกฎาคม 2552 ได้มีแรงงานต่างด้าวชุดใหม่ที่จะลงเรือไปทำการประมงในทะเล ทยอยเดินทางมาพร้อมกับผู้ประกอบการเจ้าของเรือประมงมาทำประวัติและขึ้นทะเบียนอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของเรือประมง และมีแรงงานต่างด้าวที่รอการจดทะเบียนใหม่มาเร่งดำเนินการจดทะเบียนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้เป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และจะได้ออกไปทำการประมงได้ทันที เนื่องจากที่ผ่านมาแรงงานเหล่านี้ลักลอบเข้ามาไม่มีใบอนุญาตและไม่สามารถจดทะเบียนได้
นายวิชิต สร้อยนุกูล เจ้าของเรือประมง เปิดเผยว่า ทางภาครัฐน่าจะเปิดจดทะเบียนแบบนี้มาตั้งนานแล้ว เจ้าของเรือที่ขาดแคลนแรงงานพร้อมที่จะจดทะเบียนทำประวัติลูกเรือประมง ซึ่งเราขาดแคลนเป็นจำนวนมาก พวกเราก็รอโอกาสนี้มาเกือบปี โดยผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวเถื่อนที่รอจดทะเบียนเข้ามาทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต จะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากตรงนี้อย่างต่อเนื่อง หากไม่ยินยอมก็จะถูกจับกุมมาตลอด เมื่อทางภาครัฐเปิดโอกาสแบบนี้ ก็จะเป็นการดีกับผู้ประกอบการที่ต้องการให้ทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ด้าน นายธเนศ สนิทวาที จัดหางานจังหวัดสงขลา กล่าวว่า สำหรับแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานต่างด้าวที่เป็นลูกเรือประมงและธุรกิจต่อเนื่องประมง รวมทั้งชาวสวนยางพารา ซึ่งในการจดทะเบียนขออนุญาตทำงานรอบใหม่ของแรงงานต่างด้าวในครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการนำแรงงานต่างด้าวมาขออนุญาตทำงานไม่น้อยกว่า 15,000 คน จากเดิมที่มีการขึ้นทะเบียนเอาไว้ก่อนหน้านี้ประมาณ 17,000 คน
ในวันนี้เป็นวันแรกที่มีการจดทะเบียนรอบใหม่ ผู้ประกอบการก็ต้องไปดำเนินการในเรื่องของขั้นตอนต่างๆ โดยจะต้องไปทำประวัติเพื่อขึ้นทะเบียนบันทึกประวัติเอาไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือเทศบาลในพื้นที่ หลังจากนั้นก็จำนำแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล และสุดท้ายก็จะมาจดทะเบียนขออนุญาตทำงานที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดสงขลา
วันนี้ (1 ก.ค.) ที่สำนักงานเทศบาลนครสงขลา ซึ่งเป็น 1 ในหลายแห่งของการรับจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ โดยผู้ประกอบการเจ้าของเรือประมงในจังหวัดสงขลาทยอยนำแรงงานต่างด้าวไปทำประวัติเพื่อขึ้นทะเบียนบันทึกประวัติเอาไว้ ก่อนจะนำไปตรวจสุขภาพและจดทะเบียนขออนุญาตทำงานในพื้นที่ โดยในวันแรกของการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1-31 กรกฎาคม 2552 ได้มีแรงงานต่างด้าวชุดใหม่ที่จะลงเรือไปทำการประมงในทะเล ทยอยเดินทางมาพร้อมกับผู้ประกอบการเจ้าของเรือประมงมาทำประวัติและขึ้นทะเบียนอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของเรือประมง และมีแรงงานต่างด้าวที่รอการจดทะเบียนใหม่มาเร่งดำเนินการจดทะเบียนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้เป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และจะได้ออกไปทำการประมงได้ทันที เนื่องจากที่ผ่านมาแรงงานเหล่านี้ลักลอบเข้ามาไม่มีใบอนุญาตและไม่สามารถจดทะเบียนได้
นายวิชิต สร้อยนุกูล เจ้าของเรือประมง เปิดเผยว่า ทางภาครัฐน่าจะเปิดจดทะเบียนแบบนี้มาตั้งนานแล้ว เจ้าของเรือที่ขาดแคลนแรงงานพร้อมที่จะจดทะเบียนทำประวัติลูกเรือประมง ซึ่งเราขาดแคลนเป็นจำนวนมาก พวกเราก็รอโอกาสนี้มาเกือบปี โดยผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวเถื่อนที่รอจดทะเบียนเข้ามาทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต จะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากตรงนี้อย่างต่อเนื่อง หากไม่ยินยอมก็จะถูกจับกุมมาตลอด เมื่อทางภาครัฐเปิดโอกาสแบบนี้ ก็จะเป็นการดีกับผู้ประกอบการที่ต้องการให้ทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ด้าน นายธเนศ สนิทวาที จัดหางานจังหวัดสงขลา กล่าวว่า สำหรับแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานต่างด้าวที่เป็นลูกเรือประมงและธุรกิจต่อเนื่องประมง รวมทั้งชาวสวนยางพารา ซึ่งในการจดทะเบียนขออนุญาตทำงานรอบใหม่ของแรงงานต่างด้าวในครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการนำแรงงานต่างด้าวมาขออนุญาตทำงานไม่น้อยกว่า 15,000 คน จากเดิมที่มีการขึ้นทะเบียนเอาไว้ก่อนหน้านี้ประมาณ 17,000 คน
ในวันนี้เป็นวันแรกที่มีการจดทะเบียนรอบใหม่ ผู้ประกอบการก็ต้องไปดำเนินการในเรื่องของขั้นตอนต่างๆ โดยจะต้องไปทำประวัติเพื่อขึ้นทะเบียนบันทึกประวัติเอาไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือเทศบาลในพื้นที่ หลังจากนั้นก็จำนำแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล และสุดท้ายก็จะมาจดทะเบียนขออนุญาตทำงานที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดสงขลา